วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ราชวงศ์ซ่ง

ราชวงศ์ซ่ง
ซ่งไท่จู่

เมื่อสิ้นราชวงศ์ถัง จีนแตกออกเป็น 2 ฝ่าย ภาคเหนือ มีราชวงศ์ปกครองสืบต่อเนื่องกันตามลำดับมากมายหลายราชวงศ ภาคใต้มีราชอาณาจักรมากถึง 10 ราชอาณาจักร

ใน ค.ศ. 960 จ้าวควงหยิน สามารถรวบรวมดินแดนและสถาปนาราชวงศ์ซ่งได้และสถาปนาเมืองไคเฟิงเป็นเมืองหลวง เจ้า ควงหยิน (พระเจ้าซ่งไท่จู่) ได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาใหม่ แต่กลับตัดทอนอำนาจทางการทหาร ของแม่ทัพ เนื่องจากความระแวง กลัวจะยึดอำนาจ ทำให้การทหารอ่อนแอ ในราชวงศ์นี้ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมรุ่งเรืองมาก การศึกษาของประชาชนดีขึ้น และเปาบุ้นจิ้น ก็ได้เกิดในยุคสมัยของจักรพรรดิซ่ง เหยินจง ซึ่งเป็นยุคที่ฮ่องเต้อ่อนแอ อำนาจอยู่ในมือพวกกังฉิน

ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าต่างๆ คือ พวกเซี่ย พวกชิตัน (เมืองเหลียว) จึงมีศึกอยู่ตลอดมา แถมยังต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึก ต้องส่งบรรณาการให้ ทำให้การเงินไม่คล่องตัว จนมีนักปฏิรูปชื่อ"หวังอั้นจี่" ออกกฎหมายมาควบคุมการใช้เงิน ของบรรดาเชื้อพระวงศ์ แต่สุดท้าย ก็ต้องยกเลิก เพราะไปขัดผลประโยชน์เจ้าใหญ่นายโต ครั้นต่อมา มีชนเผ่าจินหรือกิม (บรรพบุรุษของแมนจู) เข้ามาตี และเนื่องจากมีขุนนางกังฉิน ไปเข้ากับศัตรู ดังเช่น ฉินไคว่ กังฉิน ซึ่งใส่ความแม่ทัพงักฮุย และสังหารงักฮุยกับลูกชาย ทำให้ชาวจีนเคียดแค้นชิงชังอย่างยิ่ง บวกกับการทหารที่อ่อนแออยู่แล้ว ผสมกับฮ่องเต้ที่ไร้สามารถ หูเบา เชื่อฟังกังฉิน ทำให้พวกจินสามารถบุกจนถึงเมืองไคฟง (เมืองหลวง) จึงต้องย้ายเมืองหลวง ไปอยู่ทางทิศใต้ มีชื่อเรียกว่า ซ่งใต้ ซึ่งพวกจินก็ยังตามล้างผลาญตลอด ต่อมาในที่สุด พวกจิน, เซี่ยกับชิตันก็ถูกมองโกล ซึ่งนำโดย เจงกิสข่าน (เตมูจิน) เข้าตี แล้วหันมาตีจีนต่อจนถึงปักกิ่ง หลังจากนั้น กุบไลข่าน หลานปู่ของเจงกิสข่าน ได้โจมตีราชวงศ์ซ่งใต้ โดยได้ความร่วมมือจากขุนนาง และทหารของราชวงศ์ซ่งบางคน ที่กลับลำหันมาช่วยเหลือมองโกล โจมตีพวกของตัวเอง จนสิ้นราชวงศ์ในที่สุด แล้วกุบไลข่านจึงตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นมาแทน

การรุกรานของอาณารยชน
  • ราชวงศ์ซ้องต้องเผชิญกับการรุกรานของจักรพรรดิคีตานแห่งราชวงศ์เหลียวและจากเผ่าตันกุตของธิเบต
  • ซ้องต้องดำเนินการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีโดยการทูตและการส่งบรรณาการ
  • ต่อมาคีตานและตันกุตต่างเพิ่มบรรณาการสูงขึ้น จีนต้องรักษาดุลยภาพโดยต้องจำนนทั้งสองฝ่าย
  • การส่งบรรณาการทำให้จีนต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรมหาศาล ราชวงศ์ซ่งจึงต้องดำเนินกุศโลบายทลายพลังอาณารยชนโดยยุยงคีตานให้แตกกระจายเป็นปรปักษ์ต่อกันโดยให้อาณารยชนตันกุตกลุ่มหยูเจินปลดแอกคีตาน ใน ค.ศ. 1114
  • กลุ่มคีตานต้องอพยพไปตั้งมั่นในดินแดนตุรกีสถานตะวันออก เรียกว่าอาณาจักรคารา-คีไต
  • อาณารยชนหยูเจินกลายเป็นภัยที่น่าสพรึงกลัว ในสมัยจักรพรรดิหุยจุง ราชวงศ์ซ่งต้องเผชิญภัยจากหยูเจินคุกคามอย่างหนัก ทำให้ราชวงศ์ซ้องได้ครองดินแดนเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น
  • ใน ค.ศ. 1126 หยูเจินได้บุกยึดเมืองไคเฟิง จับกุมจักรพรรดิหุยจุงไว้ได้
  • ตั้งแต่ ค.ศ. 1127 แผ่นดินจีนต้องตกอยู่ภายใต้ 2 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์จินของกลุ่มหยูเจินปกครองทางเหนือ ส่วนตอนกลางและทางใต้อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซ่ง
  • ค.ศ. 1153 ราชวงศ์จินได้สถาปนาเมืองหลวงที่ปักกิ่ง และ 8 ปีต่อมาได้สถาปนาเมืองไคเฟิงเป็นเมืองหลวง นับเป็นครั้งที่อาณารยชนรุกคืบหน้าเข้าครองแผ่นดินกึ่งหนึ่ง
  • ระหว่าง ค.ศ. 1127-1279 ราชวงศ์ซ่งได้พยายามรวมจีนโดยพยามขับไล่กลุ่ใหยู่เจิน แต่ไม่สำเร็จ ราชวงศ์ซ่งจึงต้องยอมสงบศึกและทำข้อตกลงเป็นเมืองขึ้น ส่งเครื่องบรรณาการมหาศาล สิ้นสุดพละกำลัง ทำให้อาณารยชนคีตานและหยูเจินใช้กำลังทางทหารทำลายจักรวรรดิอย่างค่อยเป็นค่อยไป สุดพละกำลังที่จะต่อต้านอาณารยชนมองโกล
  • คีตานและหยูเจินจึงเป็น 2 กลุ่มที่ทรงพลังที่ได้บุกเบิกรุยทางให้สะดวกแก่กองทพมองโกลในการพิซิตจีน

ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
  • เทคโนโลยีผลิตสินค้าและบริการ การจัดการธุรกิจการค้า ลูกคิด
  • เทคโนโลยีในการผลิตแร่และโลหะ ได้แก่ เหล็กกล้า การสร้างปืนใหญ่เบื้องต้น เครื่องยิง อาวุธซัดส่ง กลยุทธปิดล้อมป้อมค่ายประชิด การผลิตดินปืน หอกเพลิง วัตถุระเบิด ระเบิดทุ่นดินปืน
  • การต่อเรือในการค้าทางทะเลข้ามมหาสมุทร
  • การพิมพ์ การพิมพ์โดยการใช้แม่พิมพ์ที่แกะจากไม้เป็นตัวหนังสือและภาพ การผลิตกระดาษจากเยื่อไม้ การสร้างแม่พิมพ์ตัวอักษรเป็นคำๆ มากมาย วิธีพิมพ์โดยใช้แม่พิมพ์จุ่มสีหรือหมึกแล้วกดหรือประทับลงบนกระดาษเรียงเป็นข้อความ ต่อมาได้มีการพัฒนามาเป็นแม่พิมพ์โลหะหรือกระเบื้องหรือทองแดง แล้วนำมาเรียงกันเป็นตัวๆ เป็นแม่พิมพ์ตัวเรียง
  • เทคโนโลยีการปกครองโดยพัฒนาระบบการสอบคัดเลือกเป็นราชการ ตั้งผู้ว่าราชการเป็นข้าราชการพลเรือน
  • การแพทย์ การใช้กระเบาเป็นยารักษาโรคเรื้อน
  • เป็นรัฐบาลแรกในโลกที่ใช้เงินตราแบบกระดาษ

เศรษฐกิจ
  • รายได้หลักมาจากการเกษตร
  • การค้าขายภายในเป็นการค้ามีลักษณะเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างท้องถิ่นด้วยกันรัฐเป็นผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนโดยผ่านการจัดเก็บภาษี การผูกขาด และการควบคุมด้วยวิธีการต่างๆ พ่อค้าเป็นเพียง ผู้ค้าปลีก จำหน่ายสินค้าฟุ่มเฟือย
  • การค้าขายระหว่างประเทศ ทางบกเป็นการค้ากับอาณารยชนในเอเชียกลาง ราชวงศ์ภาคเหนือของซ่งเหนือ เส้นทางสายไหมตกเป็นของพวกมุสลิม ถูกปิดตาย ต้องพึงการค้าทางทะเลแทน
  • การค้าทางทะเลสามารถต่อเรือขนาดใหญ่จุคนได้นับร้อย เดินเรือโดยใช้เข็มทิศเป็นการค้าขายที่จีนเดินทางไปขายโดยตรงและพ่อค้าต่างชาติเดินทางมาค้ากับจีน
  • ศูนย์กลางการค้าทางทะเลอยู่ที่ฉวนโจว ครอบครองน่านน้ำทะเลจีนตะวันออกกับเกาหลี จีนใต้กับ เกาะสุมาตรา
  • จักรวรรดิจีนกลายเป็นมหาอำนาจเหนือน่านน้ำสากลโลกตะวันออก
  • สินค้าเข้าที่สำคัญ คือ เครื่องเทศ ม้า และแร่ธาตุ สินค้าออก คือ สินค้าฟุ่มเฟือย ทองแดง ไหม เครื่องถ้วยเปลือกไข่
  • ใช้ลูกคิดในการคำนวณได้อย่างรวดเร็ว ความต้องการเงินมีมากขึ้นจนผลิตเหรียญกษาปณ์ไม่พอต้องใช้เหรียญทำด้วยเหล็กแทน เอกชนได้รับอนุญาตให้ผลิตธนบัตรแต่ผลิตมากจนไร้ค่า รัฐจึงต้องห้ามผลิตและเป็นผู้ผลิตเพียงผู้เดียว
  • บรรดาธนาคารนิยมรับฝากเงินโดยโดยให้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีอายุการไถ่ถอน 3 ปี สามารถใช้เป็นเงินสดได้ต้องเสียธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 3
  • องค์กรของพ่อค้ามีความสำคัญขึ้น สมาคมพ่อค้ารวมตัวกันตามอาชีพและย่านการค้าหรือถนนสายหลักของการค้า
  • ในสมัยซ่งถือได้ว่าเป็นยุคแห่งการปฏิวัติการค้าจนเกิดการค้าระหว่างประเทศทางทะเลขึ้น
  • ศตวรรษที่ 19 จีนได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วมีความเจริญเป็นชุมชนเมืองสมัยใหม่ที่เรียกว่า“นาครธรรม”

การเมืองการปกครอง
  • พระราชามีอำนาจเด็ดขาด สามารถตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจการบริหารได้ จักรพรรดิทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการกำหนดวินิจฉัยราชการแผ่นดิน
  • จักพรรดิทรงสร้างองค์กรใหม่ที่ขึ้นต่อพระองค์ ได้แก่
    1. คณะเสนาบดีไม่เป็นทางการ ทำหน้าที่เป็นคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
    2. คณะองคมนตรี มีหน้าที่เป็นสำนักกิจการทหาร
    3. คณะราชบัญฑิต ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์
    4. สำนักข้าหลวงการคลัง ทำหน้าที่กำกับดูแลการคลัง การบัญชี ภาษีอากร การจดทะเบียนที่ดิน กำลังคน
    5. สำนักผู้ตรวจราชการ มีหน้าที่วิจารณ์นโยบายและรับเรื่องร้องทุกข์ ตรวจสอบการปฏิบัติราชการ
  • การปกครองส่วนภูมิภาค กำหนดพื้นที่การปกครองเป็นระดับมณฑล กำกับดูแลระดับจังหวัด ระดับจังหวัดทำหน้าที่บริหารระดับอำเภอ

สังคม
  • สังคมจีนแบ่งเป็น 4 ชนชั้น คือ นักวิชาการ ชาวนา ช่างศิลป์ และพ่อค้า
  • ศูนย์กลางชีวิตอยู่ตามมหานครทั้งหลาย มีแหล่งสถานเริงรมย์ ร้านสุรา ร้านอาหาร ร้านน้ำชา สถานหญิงบริการ โรงมหรสพ กวีตามท้องถนน
  • ชนชั้นผู้ดีพัฒนามาจากกลุ่มผู้รู้ โดยการศึกษาและสอบคัดเลือกเป็นข้าราชการ ชนชั้นผู้ดีมักมีเคหสถานภายในกำแพงเมือง
  • ชาวนามีฐานะเป็นทาสติดที่ดิน สามารถเป็นไทแก่ตนได้เองได้ถ้ามีเงินทองเพียงพอ มีสิทธิ์ซื้อที่ดินได้
  • สถานะภาพสตรีตกต่ำ เป็นเครื่องบำรุงบำเรอแก่บุรุษในครอบครัวและสังคม
  • ริเริ่มประเพณีมัดเท้าสตรีในตระกูลสูง จากรสนิยมของบุรุษทีมองว่าเท้าสตรีที่เล็กงอเข้าหาตัวเป็นรูปดอกบัวหรือพลับพลึงดูเย้ายวนน่าถนุถนอม
  • ครอบครัวผู้มีฐานะสูงส่งนิยมมีภรรยามากๆ ระบบครอบครัวขยายเป็นสถาบันมากลูกมากภรรยา
  • คนจีนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เชื่อถือและปฏิบัติตามลัทธิเต๋าและขงจื๊อไปพร้อมๆ กัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น