จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สรุปราชวงค์ฉิน

ราชวงค์ฉิน


ฉินซีฮ่องเต้ ปฐมจักรพรรดิ์ ผู้สถาปนาราชวงศ์ฉิน

ราชวงศ์ฉิน หรือ ราชวงศ์จิ๋น เป็นราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีนระหว่างปีที่ 221– 207 ปีก่อนคริสตกาล โดยก่อนหน้าในปลายราชวงศ์โจว(โจวตะวันออก)แผ่นดินจีนได้เกิดการแตกแยกออกเป็นรัฐต่างๆถึง 7 รัฐและทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ในดินแดนตอนกลางกันอยู่เนืองๆ จนกระทั่งกษัตริย์แห่งรัฐฉินได้ทำสงครามชนะทุกรัฐ แล้วรวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นหนึ่งเดียวสำเร็จในปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล นับเป็นอันสิ้นสุดของยุครณรัฐ จากนั้นจึงได้สถาปนา "ราชวงศ์ฉิน" ขึ้นปกครองแผ่นดินจีนโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ “เสียนหยาง” พร้อมทั้งสถาปนาตนเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฉินโดยใช้พระนามว่า “ฉินสื่อหวงตี้” หรือที่คนไทยออกเสียงเพี้ยนเป็น “จิ๋นซีฮ่องเต้” หรือ “ฉินซีฮ่องเต้”


ในช่วงที่ “จิ๋นซีฮ่องเต้” ปกครอง แผ่นดินจีนมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาก แต่เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้เสด็จสวรรคตเมื่อปีที่ 210 ก่อนคริสตกาล ราชวงศ์ฉินก็สั่นคลอนอย่างหนัก และล่มสลายลงในยุคของ “ฉินเอ้อซื่อ” หรือ “จักรพรรดิฉินที่ 2” (210-207 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีนิสัยใจคอโหดเหี้ยม ไร้สามารถผิดกับพระบิดา และยังตกอยู่ใต้การชักใยของขันที “เจ้าเกา” รีดไถภาษีจากประชาชนจนทำให้ประชาชนเดือดร้อนอย่างหนักและก่อกบฏขึ้น กลุ่มที่สำคัญได้แก่กลุ่มของ “หลิวปัง” โดยหลิวปังได้ก่อกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉินขึ้น โดยผู้ช่วยมือดีมาช่วยอีก 3 คนในการวางแผนรบและประสานงานต่างๆ คือ หานซิ่น จางเหลียง และเซียวเหอ จนสามารถโค่นราชวงศ์ฉินลงได้ในปีที่ 207 ก่อนคริสตกาลและสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นมา คือ “ราชวงศ์ฮั่น”


สรุปภาพรวมราชวงศ์ฉิน

  • นครรัฐฉินมีฐานอำนาจเดิมอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำฮวงโห
  • เป็นนครรัฐของชนหลายเชื้อชาติ (นครรัฐอนารยชน)
  • ไม่มีระบบศักดินา
  • พลังอำนาจของนครรัฐมาจากทหารที่ใช้กลศึกทหารม้าและทหารราบติดอาวุธเหล็กและทองสัมฤทธิ์
  • ในปี 221 B.C. ผู้นำนครรัฐสามารถตั้งตนเป็นองค์จักรพรรดิได้ พระนามว่า “ฉิน ซื่อ ฮวง ตี้”
  • ภายหลังจากมีการรวบรวมแว่นแคว้นต่างๆ ทั้งแผ่นดินได้ใช้วัฒนธรรมเดียวกันเป็นสื่อในการสร้างความรู้สึกให้เป็นชาติเดียวกัน (รู้สึกว่าเป็นคนฉิน:Chin หรือ จีน : China)
  • แผ่นดินฉินขนาดใหญ่ทำให้มีกองทัพที่เข้มแข็งขนาดใหญ่จากการเกณฑ์อย่างไม่มีจำกัดโดยมีเสฉวนเป็นฐานเศรษฐกิจการรบท
  • กองทัพฉินถึงแม้จะยิ่งใหญ่แต่ทางภาคเหนือและตะวันตกยังต้องพบกับการรุกรานของพวกชิอุงนุ (Hsing Nu) และพวกเตอร์ก (Turks) จนต้องสร้างกำแพงขนาดใหญ่ไว้เป็นแนวป้องกันและจัดวางกำลังทหารตลอดแนว

เศรษฐกิจ

  • ราชวงค์ฉินกำหนดวิถีชิวิตเศรษฐกิจแบบพอยังชีพตนเองได้ ไม่จนหรือไม่รวยอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภัยต่อรัฐ(จนเกินไปเป็นภาระของรัฐ:รวยเกินไปมีอำนาจมีอิทธิพลท้าทายอำนาจรัฐ)
  • สภาพเศรษฐกิจตามราชวงค์ฉินกำหนด คือ “ชายพึงพอใจกับการปลูก หญิงอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน”
  • ส่วนกลางเป็นผู้จัดระบบแบบแผนในการจัดการทรัพยากรในแผ่นดิน
  • ประชาชนสามัญสามารถซื้อขายที่ดินได้โดยการส่งเสริมของส่วนกลาง
  • ชาวนาอยู่ในฐานนะของผู้ผลิตไม่มีสิทธิ์จับอาวุธ
  • มีการพัฒนามาตรฐานมาตราชั่ง ตวง วัด กำหนดมูลค่าและรูปแบบเหรียญให้เป็นเหรียญกษาปณ์แบบกลมมีรูรูปสี่เหลี่ยมตรงกลาง
  • กำหนดความยาวของแกนหรือเพลาล้อเกวียน
  • ส่วนกลางเป็นผู้กำหนดระเบียบการจัดเก็บภาษีอากร
  • สินค้าที่มีราคาดี มีกำไรส่วนกลางเป็นผู้ผูกขาดในการผลิตและจำหน่าย
  • กำหนดอัตราภาษีค่ารายหัวจากผู้ที่เป็นในอัตรา 2 เท่า ทำให้ครอบครัวขนาดใหญ่กลายเป็นขนาดเล็ก

การปกครอง

  • ราชวงค์ฉิน ปกครองตามคติลัทธินิตินิยมหรือนิติธรรม (ฝ่าเจีย)
  • ถือกฎหมายในการปกครองเป็นหลัก
  • การใช้กฎหมายไม่ได้คำนึงถึงความเสมอภาค แต่ยกย่องเชิดชูผู้รับใช้รัฐเป็นหลัก
  • การปกครองส่วนภูมิภาคส่วนกลางเป็นผู้กำหนดในการแต่งตั้งโยกย้ายและกำกับดูแล
  • บริหารรัฐโดยยึดแบบแผนของฉิน ล้มล้างอำนาจชนชั้นสูงและตระกูลใหญ่

การบริหารรัฐ

 ส่วนกลาง

  • เป็นแบบร่วมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยจักรพรรดิทรงไว้ซึ่งอำนาจสูงสุด
  • จักรพรรดิมีอำนาจเด็ดขาดและทรงสถิตเหนือจารีตประเพณีอันใดเท่าที่จะมีปรากฏ ทรงเป็นเจ้าแผ่นดินผู้ครอบครองทรัพยากรทั้งแผ่นดิน
  • การใช้อำนาจเด็ดขาดย่อมขัดกับลัทธิขงจื๊อทำให้ลัทธิขงจื๊อถูกกำจัดกวาดล้าง
  • จักรพรรดิทรงไว้ซึ่งอำนาจในการจัดการทรัพยากรในแผ่นดินได้ตามพระราชประสงค์ตามอัธยาศัย
  • ผู้นำในระบบราชการพลเรือน คือ อัครมหาเสนาบดี
  • ผู้นำในทางทหาร คือ "จอมทัพ"
  • ระบบราชการส่วนกลางขึ้นอยู่กับองค์จักรพรรดิ ส่วนภูมิภาคขึ้นอยู่กับส่วนกลางอีกทอดหนึ่ง
  • ทุกระดับมีระเบียบการจัดเก็บเอกสารราชการเป็นแหล่งข้อมูล

 ส่วนภูมิภาค

  • ในส่วนภูมิภาค ราชวงค์ฉินได้ล้มล้างระบบศักดินาสวามิภักดิ์
  • แบ่งส่วนภูมิภาคทั้งแผ่นดินให้มีขนาดเท่ากันเป็นมณฑลหรือเป็นพื้นที่บัญชาการ
  • แต่ละมณฑลประกอบด้วยจังหวัด มีผู้บริหาร 2 คน คือ ผู้ว่าราชการฝ่ายพลเรือนและผู้ว่าฝ่ายทหาร
  • ในระดับมณฑลใช้ระบบราชการเหมือนส่วนกลางแต่ผู้ว่ามีการใช้อำนาจได้อย่างอิสระแต่จำกัดขอบเขต
  • ส่วนกลางเป็นผู้ควบคุมการบริหาร ในการบังคับบัญชา แต่งตั้ง โยกย้าย ปลด
  • ส่วนกลางจะส่งผู้ตรวจราชการแผ่นดินไปตรวจสอบเพื่อถ่วงดุลอำนาจ และราชสำนักก็ส่งข้าราชการไปตรวจสอบ
  • ในแต่ละมณฑลมีทหารประจำการ มีระบบขนส่ง คมนาคม ทางหลวง แม่น้ำ คู คลอง ไปรษณีย์และมีสถานีรายทาง
  • ระดับท้องที่ ต่ำกว่าจังหวัด มีเมืองอำเภอและหมู่บ้าน
  • ราชวงค์ฉินรวบรวมครัวเรือน 5-10 ครัวเรือนให้เป็นหมู่เหล่า จัดเป็นระบบเปาเจีย ทำหน้าที่ปกครองตนเอง

ระบบราชการ

  • ข้าราชการเป็นผู้ที่ต้องได้รับการศึกษาอบรมมาเป็นอย่างดีเท่านั้น
  • ข้าราชการที่มีความจงรักภักดีต่อราชวงค์จะมีความก้าวหน้าตามคุณงามความดี ได้รับยศถาบบรดาศักดิ์ ที่ดิน แรงงาน
  • ข้าราชการได้รับการยกเว้นการเรียกเก็บภาษีและการเกณฑ์แรงงาน
  • ระบบราชการมีการกำหนดระเบียบแบบแผนเป็นทำเนียบตำแหน่งและทำเนียบศักดินา
  • ระบบราชการตั้งมั่นด้วยกองทัพ ระบบราชการ ประมวลกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจ ระบบป้องกันบ้านเมือง ภาษา

ลักษณะทางสังคม

  • ประชาชนที่มีอาวุธประจำกายถูกบังคับให้วางอาวุธและมอบให้แก่บ้านเมือง
  • ชนชั้นสูงที่เคยมีอำนาจในการปกครองและการรบถูกกีดกันออกจากหน้าที่หลัก
  • ชายฉกรรจ์ต้องถูกเกณฑ์แรงงานและจัดตั้งกองทัพ
  • ราชวงค์ฉินกดชนชั้นสูง ตระกูลใหญ่ไว้ไม่ให้เติบใหญ่
  • ยกย่องชาวนาและข้าราชการรุ่นใหม่ให้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในสังคม
  • ในระบบครอบครัวราชวงค์ฉินได้กำหนดให้ครอบครัวใหญ่ลดขนาดลง โดยกำหนดเก็บภาษีผู้ที่เป็นโสดและไม่ได้เป็นหัวหน้าครอบครัวในอัตรา 2 เท่า

ภูมิปัญญา

อักษรศาสตร์

  • ราชวงค์ฉินได้กำหนดอักขระวิธีในการเขียนเป็น 2 แบบ คือ แบบเขียนเพื่อจารึกลงบนหินและแม่พิมพ์ เรียกว่าอักษรจารึกหรืออักษรตัวพิมพ์ และอักษรที่มีเส้นสายลายเขียนติดต่อกันสำหรับเสมียนเขียนลงบน ไม้ไผ่ หรือ ผ้าไหม
  • ภาษาพูดในแต่ละถิ่นอาจต่างกัน แต่มีภาษาเขียนและอักขระวิธีแบบเดียวกัน
  • ภาษาจีนกลายเป็นเครื่องส่งเสริมจิตสำนึกของคนฉินให้รู้สึกเป็นคนจีนที่ใช้ภาษาเดียวกัน มีความผูกพันต่อกัน

การสูญสิ้นภูมิปัญญาจีนในยุคฉิน

  • ราชวงค์ฉินได้กวาดล้างปัญญาชนที่ต่อต้านการพัฒนาอักขระวิธี
  • ห้ามมีการเผยแพร่วิทยาการและความคิดอันเป็นปฏิปักษ์ต่อคตินิตินิยมและราชวงค์
  • ปัญญาชนที่ต่อต้านและมีความคิดแตกต่างจะถูกกวาดล้างด้วยวิธีอันโหดเหี้ยม เช่น จับกุมคุมขัง ประหารชีวิต เนรเทศ และฝั่งให้ตายทั้งเป็น
  • ปัญญาชนจำนวนมากเสียชีวิต ตำราวิชาการ วรรณคดี ในหอหนังสือหลวงและหอหนังสือเอกชนถูกเผาทำลายเพื่อไม่ให้มีอิทธิพลต่อปัญญาชน
  • ตำราที่ไม่ถูกเผา คือ ตำราโหราศาสตร์ ตำราแพทย์ ตำราเพาะปลูก ประวัติศาสตร์ที่ราชวงค์ฉินแต่งเอง
  • การเผ่าทำลายไม่มีผลต่อองค์ความวรู้เพราะตามประเพณีการศึกษาเป็นการท่องจำเป็นหลักจึงมีการพิมพ์ขึ้นใหม่ในภายหลังที่สิ้นราชวงค์ แต่ก็มีปัญหาในเรื่ององค์ความรู้แปลกปลอม
  • ความสูญเสียในด้านภูมิปัญญา ทำให้ปัญญาชนต่างประณามและประวัติศาสตร์ราชวงค์ฉินจึงถูกเขียนให้เกินจริง


การล้มสลาย

  • การที่ราชวงค์ฉินสามารถสร้างรัฐใหม่ตามคตินิตินิยม ทำให้รัฐเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ล้วนมาจากการใช้อำนาจบีบบังคับ ราชวงค์จึงไม่สามารถดำรงอยู่ได้
  • การปกครองตามคตินิยมที่ใช้กฎหมาย อำนาจอาญาสิทธิ์ และอำนาจทหาร ทำให้การปกครองมีประสิทธิภาพ แต่ไม่ได้คำนึงถึงความพร้อมใจของประชาชน
  • ราชวงค์ฉินระดมกำลังคนในการสร้างกำแพงยักษ์ ระบบชลประทานสาธารณูปโภคขนาดใหญ่เกณฑ์ทหารและเรียกเก็บภาษีส่วยอากรอย่างหนัก ทำให้ประชากรล้วนทุกข์ยากลำเค็ญ
  • การใช้อำนาจเด็ดขาด และการเรียกเกณฑ์ราษฎร ทำให้ราชวงค์ฉินกลายเป็นที่เกลียดชัง
  • จักรวรรดิจีนกว้างใหญ่ไพศาลขึ้น แต่ขาดการสนับสนุนจากปัญญาชน ประชาชน ชนชั้นสูง หลังจากที่จิ๋นชีฮ่องเต้สวรรคตลง ขาดผู้นำที่มีความเข้มแข็ง กล้าหาญ ราชวงค์ฉินจึงล่มสลายอย่างรวดเร็ว


ขอขอบคุณเอกสารอ้างอิง/แหล่งข้อมูลอ้างอิง

ประวัติศาสตร์จักรวรรดิจีน, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ราชวงศ์ฉิน, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น