ราชวงค์โจว
: ต้นแบบอารยธรรมจีน
การสถาปนา
ความก้าวหน้าทางวิทยาการ
- สถานาขึ้นโดย "โจวอู่หวัง"
- แบ่งออกเป็น 2 ยุคสมัย
- โจวตะวันตก ประมาณ 1100 ปีก่อน BC. เมืองหลวงอยู่ที่ "ฉางอัน"
- โจวตะวันตก ประมาณ 770-256 BC. เมืองหลวงย้ายมาอยู่ที่ "ลัวหยาง"
- ปกครองยาวนานประมาณ 800 ปี
- สามารถเอาชนะราชวงศ์ชางได้โดกลศึกรถม้าหุ้มเกาะ
- ริเริมประเพณีเรียนชื่อราชวงศ์ตามแหล่งอำนาจ โดยเรียกดินแดนตนว่า "จงหยวน (Zong Yuan)"
- เน้นการบริหารราชการแผ่นดินโดยรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ขุนนางแต่งตั้งโดยตรงจากจักรพรรดิเท่านั้น
ความก้าวหน้าทางวิทยาการ
- เกิดนวัตกรรมการถลุงแร่เหล็ก
โดยใช้วิทยาการเตาเผา ความร้อนสูง
- เตาเผาถลุงเหล็กเป็นเตาเผาแบบพ่นลม
- เครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธผลิตจากเหล็ก
- มีการใช้ทองสัมฤทธิ์ในการผลิตเครื่องใช้ในราชสำนัก
ชนชั้นสูง และพิธีกรรม เป็นเครื่องกำหนดสถานะผู้คน
- การเพาะปลูกได้ผลผลิตมาก
จากการใช้เหล็กทำเครื่องมือ
- การค้าขายสินค้าจากเหล็กมีแพร่หลายจำนวนมาก
- เครื่องมือเครื่องใช้จากเหล็กกล้ายเป็นเครื่องมือผ่อนแรง
การขยายพื้นที่การเกษตร การก่อสร้าง การขุดคู คลอง แม่น้ำ
- มีการใช้รถม้าเป็นพาหนะ ทำให้การคมนาคมสะดวกขึ้น
เศรษฐกิจ
ที่ดิน
• มีการทำสำมโนครัวเรือนและที่ดิน
เพื่อประโยชน์ในการเก็บภาษี
• สมัยตอนต้นใช้ระบบศักดินา
โดยขุนนางจะได้รับที่ดิน แรงงาน สัตว์เลี้ยง และเครื่องมือ
• แรงงานสามารถชื้อ-ขายได้
• ขุนนางใช้ระบบจัดสรรที่ดินให้แก่ชาวนา ดังนี้
o
ชาวนา 8 ครัวเรือน
เข้าทำกินครัวเรือนละ 1 ส่วน
o
ชาวนาทั้ง 8 ส่วน
ต้องทำนาให้เจ้าของที่ดิน 1 ส่วน
• ในตอนปลาย ระบบจัดสรรที่ดินเสื่อมไป
เปลี่ยนเป็นระบบจับจองที่ดิน โดยให้ชาวนาเสียภาษีตามจำนวนที่จับจอง (ค่านา)
• ต่อมาเมื่อรัฐขยายขึ้นที่ดินถูกจัดสรรแก่ชาวนา
สามารถมีกรรมสิทธ์ซื้อ-ขายได้ ไม่มีภาระผูกพันกับขุนนาง
• ชาวนามีหน้าที่เสียภาษีค่านาให้แก่รัฐ
การเพาะปลูก
• การเกษตรมีความก้าวหน้า
เพราะเครื่องมือทำจากเหล็ก เช่นคันไถ
• การเพาะปลูกขยายพื้นที่ได้มากขึ้น
• มีการขุดคลองเพื่อส่งน้ำ และการขนส่งผลผลิต
• ในตอนปลายชาวนาสามารถบุกเบิกที่ดินทำกินได้อย่างเสรี
• กลุ่มพืชที่เพราะปลูกได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า
ถั่วเหลือง ธัญพืช
• มีวิธีการอนุรักษ์ที่ดินโดย ใช้ปุ๋ยมนุษย์
การไถหว่าน ปลูกเรียงแถว การปลูกพืชหมุนเวียน มีระบบระบายน้ำที่ดี
• มีการจัดระบบชลประทานโดยเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเป็นผู้ดูแล
การค้าขาย
• สินค้ามีจำนวนมากขึ้นเนื่องจากวิทยาการ
การถลุงแร่โลหะเหล็ก
• เมืองหลวงเป็นศูนย์กลางการค้าการค้ามีความซับซ้อน มีการเรียกเก็บส่วยและอากร
• ตอนต้นใช้เบี้ยหอยในการแลกเปลี่ยน
• ในตอนปลายเปลี่ยนมาเป็นใช้เหรียญกษาปณ์ทองแดง
(copper)
• การใช้เงินตรานับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการตลาดอย่างแท้จริง
• สินค้าที่ทำรายได้งดงามกล้ายเป็นสินค้าต้องห้าม
เช่น เหล็ก เกลือ
การเมืองการปกครอง
• ผู้นำตั้งตนเป็นราชา(wang)บนทฤษฎีคติเดิมของราชวงค์ชาง
• ยึดถือทฤษฎีอ้างถึงเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่
- ราชวงค์ชาง
คือ พระเจ้าตี้ (TI)
- ราชวงค์โจว
คือ พระเทพสวรรค์หรือฟ้า (Tien)
• คติความเชื่อ
คือ พระเทพสวรรค์มอบอำนาจให้ผู้ใดผู้นั้นมีอำนาจในการปกครอง
และสามารถเพิกถอน
อำนาจได้ทุกเมื่อ ราชาเป็นโอรสแห่งสวรรค์ จากความเชื่อดังกล่าวเป็นพลังหลักในการรวมบ้านเมือง
• จีนถือว่า
แผ่นดินมีจักรพรรดิองค์เดียวเหมือนท้องฟ้ามีพระอาทิตย์ดวงเดียว
• จักรพรรดิทรงไว้ซึ่งอำนาจเด็ดขาดเพียงผู้เดียว
• จักรพรรดิเป็นผู้เชื่อมต่อพิภพกับสวรรค์
(เป็นผู้ติดต่อสวรรค์)
• การปกครองที่ดีคือการปกครองตามประสงค์ของสวรรค์จึงต้องมีการตั้งพิธีบวงสรวง
• จักรพรรดิและผู้ปกครองต้องปกครองโดยธรรม
• พระราชกำเนิดหรือการเป็นโอรสสวรรค์ไม่สามารถคุ้มครองจักรพรรดิผู้ประพฤติผิดธรรม
สวรรค์สามารถเพิกถอนให้ผู้อื่นหรือวงศ์อื่นได้
ระเบียบบริหารของรัฐ
• แผ่นดินโจวขยายตัวจากสังคมเกษตร
จึงไม่มีระเบียบบริหารที่ดี
• การปกครองใช้อำนาจส่วนกลางและวัฒนธรรมเป็นสื่อโดยถือว่า
แผ่นดินใดที่มีภาษาวัฒนธรรม
พิธีกรรม แบบโจว ถือว่าเป็นโจว
• โจวใช้กุศโลบายกลืนชาติโดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมในวการขยายอำนาจ
• การปกครองใช้ระบบศักดินาสวามิภักดิ์
โดยมีการแบ่งซอยย่อยไปตามลำดับชั้น
• การปกครองถือสายสำพันธ์เครือญาติเป็นหลัก
โดยผู้ปกครองส่วนใหญ่มาจากเครือญาติพี่น้อง
• เมืองหลวงมีกำแพงล้อมรอบ เป็นชุมชนขนาดใหญ่
• เมืองนครรัฐน้อยใหญ่ก็มีการสร้างกำแพงและผังเมืองตามแบบของโจว
• เมืองนครรัฐเปรียบประดุจรัฐบริวาล
ลดลั่นความสำคัญไปตามลำดับส่วนใหญ่เป็นเมืองป้อมปราการ
• คนที่อยู่ในนครรัฐส่วนใหญ่มักเป็นตระกูลเดียวกันหรือเชื้อชาติเดียวกัน
• นักรบเป็นชนชั้นผู้ปกครอง
• ผู้ปกครองตามระดับชั้นได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดิ ยศถาบรรดาศักดิ์
และมีพิธีแต่งตั้งเข้ารับตำแหน่ง
ผู้ปกครองจะได้รับบรรณการเป็นสิ่งของ ที่ดิน
และกำลังคน แรงงาน และมีกองทัพเป็นของตน
จัดระเบียบบริหารตามเมืองหลวง ผู้ปกครองจะได้รับบรรณการเป็นสิ่งของ
ที่ดิน และกำลังคน แรงงาน
และมีกองทัพเป็นของตน จัดระเบียบบริหารตามเมืองหลวง
การทหาร
• กองทัพโจว ใช้กลรถศึกหุ้มเกาะหนัก การรบบนหลังม้าและทหารราบ
• มีการเกณฑ์ชาวนาเป็นทหารราบหรือไพร่ราบ
• อาวุธหลักเป็นธนู หน้าไม้ ดาบเหล็กปลายยาว
• เริ่มมีทหารอาชีพรับจ้าง
• กำลังหลัก คือ ทหารม้าและทหารราบ
• การรบต้องฝึกตามตำราพิชัยยุทธศิลปะ (Ping-fa) ของชุนจื๊อ
การเสื่อมของระบบศักดินาสวามิภักดิ์ในยุคปลาย
• ในยุคหลังได้เกิดบรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตจำนวนมาก
• บรรดานักปราชญ์เห็นว่าผู้ปกครองไม่ได้ปกครองโดยชอบธรรมจึงมีแนวคิดในการปกครองแบบรวมอำนาจโดยมีผู้ปกครองที่มีคุณธรรม
• เกิดระบบราชาธิปไตย
ที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
• มีการแต่งตั้งเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง ทบวง กรม
เพื่อบริหารราชสำนัก พิธีกรรม ทรัพยากรในแผ่นดิน เก็บส่วยอากร
• เสนาบดีและผู้ใกล้ชิดเป็นสุภาพชนผู้ทรงความรู้
• การปกครองนครรัฐ
ผู้ปกครองจะต้องมาจากการโปรดเกล้าแต่งตั้ง
• ระดับล่างของภูมิภาคคือ ระดับเมือง ตำบล
หมู่บ้าน
• การปกครองของส่วนผู้มิภาคเป็นอิสระจากส่วนกลางภายใต้การดูแลของผู้ตรวจการแผ่นดิน
• เสนาบดีและชนชั้นผู้ดีกลายมาเป็นผู้ปกครอง
• ชนชั้นนักรบลดลง เนื่องจากการรบกันเอง
เพื่อแย่งชิงอำนาจ
• การเกณฑ์ชาวนามาเป็นทหาร และทหารรับจ้าง
นิยมสูงขึ้น
• ทหารแบบใหม่ที่ทำความดีย่อมได้รับยศถาบรรดาศักดิ์เลื่อนชั้นมาเป็นชนชั้นสูงแทนที่นักรบกลุ่มเดิม
• บทบาทนักรบหมดลง
ไม่สามารถแข่งขันกับชนชั้นปัญญาชนได้
• ทุกรัฐต่างเสาะแสวงหาคนดีมีฝีมือ มีความรู้
มากกว่านักรบ
• ความเจริญทางเศรษฐกิจทำให้มีการเปิดถือครองที่ดินโดยเสรี
ชาวนาไม่ต้องพึ่งพานักรบอีก
• ช่างที่เคยผลิตผลงานเพื่อนักรบหันมาผลิตเพื่อประชาชนมากขึ้นก่อให้เกิดรายได้จนสามารถชื้อที่ดินไว้ครอบครองจำนวนมาก
• พระราชอำนาจถูกถ่ายทอดไปอยู่ในมือชนชั้นผู้ดีมีปัญญา
• นครรัฐเริ่มมีพื้นที่ปกครองกว้างขว้างจากระบบราชการที่เอื้อต่อการขยายอำนาจของนครรัฐ
• นครรัฐเข้มแข็งขึ้นท้าทายอำนาจของราชวงค์
• ปัญหาการถือครองที่ดินเริ่มก่อปัญหาต่อรายได้ของรัฐ
o
ที่ดินของผู้ดีได้รับการยกเว้นภาษีค่านา
o
ที่ดินชนชั้นผู้ดีเพิ่มมากขึ้นจากการซื้อขาย
และมอบให้ของชาวนาเพื่อเลี่ยงภาษีจากส่วนกลาง
• ชาวนาที่ครองที่ดินต้องรับภาระหนักจากภาษีที่ดินราชวงค์ต้องเผชิญการท้าทายอำนาจจากผู้ดีที่มีที่ดิน
กำลังคนมากขึ้น และการลุกฮือของชาวนาที่ยากลำเค็ญเรื่อยมา
สังคม
• เมืองหลวงมีกำแพงคันดินล้อมรอบยาวประมาณ 3 กิโลเมตร
• ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
• เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น
เกิดเมืองใหม่ตามที่ราบแม่น้ำมีวัดเป็นสูนย์กลางการปกครอง มีกำแพงล้อมรอบเพื่อป้องกันพวกเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์
• ในเมืองประกอบด้วยที่อยู่ของชนชั้นสูงที่มีรั่วรอบขอบชิด
พื้นที่อาศัยของช่าง พื้นที่การค้า แหล่งบันเทิง ร้านอาหาร โรงแรม หอนางโลม
พื้นที่ทำไร่ไถนาอยู่นอกกำแพงเมือง
• ชาวไร่ชาวนาต้องถูกเรียกเกณฑ์ขึ้นป้อม ค่าย
ประตูหอ
• โคตรรวงค์ขยายเพิ่มขึ้นเป็น 100 แซ่
แต่ละแซ่ล้วนมีอำนาจปกครอง
• โคตรวงค์หรือแซ่มีกองทัพพร้อมออกศึกเพื่อองค์จักพรรดิ์
สังคมช่วงปลายสมัยโจว
• ชนชั้นสูงประกอบด้วยผู้นำรัฐ
เหล่าขุนนางในราชสำนัก เสนาบดี
• ชนชั้นกลางได้แก่บริวาล
ผู้ติดตามขุนนาง เช่น นักรบ ทนายหน้าหอ เสมียน อาลักษณ์ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
ผู้ทำงานในทำเนียบ
• ชนชั้นต่ำ
ประกอบด้วย สามัญชน ชาวไร่ ชาวนา ทาส
• ปัญญาชน ทหาร นักรบ
สามารถเลื่อนระดับขึ้นเป็นชนชั้นสูงได้
• พ่อค้าที่มั่งมี มีอำนาจอิทธิพลในสังคม
• ชนชั้นสูงต่างต่อสู้กันทุกรูปแบบเพื่อแข่งขันครอบครองชนชั้นล่าง
• ชนชั้นปกครองที่ครองที่ดินมากขึ้น
เป็นการเพิกถอนที่ดินที่ไม่ต้องเสียค่านา
• ชาวนายอมยกที่ดินให้ผู้ปกครองเพื่อเสียค่าเช่าแทนการเสียภาษี
• ชนชั้นสูงได้รับการยกเว้นการเสียภาษี
การลงโทษประจาน มีสิทธิ์ผูกขาดในการถือครองทรัพยากรธรราชาติ และมนุษย์
มีสิทธ์ในการตั้งพิธีกรรม เมื่อการค้าขายเจริญขึ้น ชนชั้นสูงก็มั่งคั่งขึ้นตาม
• หัวใจสำคัญของจีนอยู่ที่ชนบท
• บทบาทสำคัญในการปกครองอยู่ที่ชนชั้นสูง
ภูมิปัญญา
• ปรัชญา เกิดจาก
§
ความไม่สงบสุขจากสงคราม การแบ่งฝ่าย
§
พิธีกรรมเซ่นไหว้บวงสรวงไม่ได้ทำให้จีนสงบสุขอย่างแท้จริง
§
ราชวงศ์ไม่สามารถล้มล้างได้
เพราะคตินิยมเทวาราชาธิปไตย
• เกิดแนวคิดของบรรดานักปราชญ์ที่เชื่อว่า “มนุษย์คือสัตว์สังคม
และสัตว์การเมือง สังคมจะดีหรือเลว ขึ้นอยู่กับมนุษย์ มิใช้ฟ้าดินลิขิต”
• เกิดสำนักนักคิดนักปราชญ์นับร้อยแห่ง
ที่สำคัญและขึ้อได้แก่
- ขงจื๊อ - หยิน หยาง (ลัทธินิยมธรรมชาติ) -เล๋าจื๊อ (เต๋า) - ม่อจื๊อ (โม่จื๊อ) -
เม่งจื๊อ - ชุนจื๊อ
- เฟยจื๊อ(ฝาเจี่ย-นิตินิยม)
อักษรศาสตร์
- ในสมัยโจวตอนปลายเกิดวัฒนธรรมต้นแบบชั้นครู
(ยุคคลาสสิค)
- เกิดวรรณกรรมตำราจีนคลาสสิค 3 ประเภท
คือ
- ตำรา 5 เล่ม (กวีนิพนธ์,
ประวัติศาสตร์, โหราศาสตร์, พิธีกรรม,ประวัติศาสตร์ยุคชุนชิว)
- ตำรา 13 เล่ม (ตำรา 5 เล่ม,
ประเพณีกุงหยาง, ประเพณีกูเหลี่ยง, ประเพณีของโจว, พิธีกรรมของ
ราชวงค์โจว,
บทสนทนา, ตำราเม่งจื๊อ, ความกตัญญูกตเวทิตา, ประชุมอธิฐานศัพย์วรรณกรรม
)
- ตำรา 4 เล่ม เป็นตำราเรียนของขงจื๊อ
(บทสนทนา 2
เล่ม, ตำรามหาวิทยาการ, ตำราว่าด้วยกรรมวิธี )
ศิลปกรรม
- เริ่มมีการใช้กระเบื้องมุงหลังคา
- ใช้อิฐเผ่าไฟเป็นวัสดุก่อสร้าง
- ใช้หินทำเป็นเสา
ฐานเสา ทางระบายน้ำ
- สร้างบ้านโดยยกพื้นดินอัดแน่น
- เครื่องทองสัมฤทธิ์นิยมใช้ในราชสำนัก
ชนชั้นสูง พิธีกรรม
- ริเริ่มทำเครื่องเขิน
- นิยมใช้ตะเกียบในการบริโภคอาหาร
- รู้จักปรุงอาหาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น