จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อารยธรรมจีนยุคประวัติศาสตร์: ราชวงศ์ซาง

สมัยประวัติศาสตร์ของจีน

สมัยประวัติศาสตร์ของจีนแบ่งได้ 4 ยุค คือ

  1. ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชาง สิ้นสุดสมัยราชวงศ์โจว
  2. ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น จนถึงปลายราชวงศ์ชิงหรือเช็ง
  3. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มปลายราชวงศ์เช็งจนถึงการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม
  4. ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์จนถึงปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ : ราชวงศ์ชาง

 ราชวงศ์ซาง( Shang dynasty) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์เซี่ย ปกครองดินแดนแถบแม่น้ำเหลืองเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาล บางครั้งเรียกว่า "ราชวงศ์ยิน (Yin dynasty) ราชวงศ์นี้เป็นยุคแห่งไสยศาสตร์โดยแท้ นิยมการเสี่ยงทายด้วยกระดองเต่ากันมาก จากหลักฐานที่ขุดได้ พบเป็นแผ่นจารึกตัวอักษรโบราณ และเศษกระดองเต่า มีรอยแตกอยู่ทั่วไป แสดงถึงความเชื่อในอำนาจแห่งสวรรค์ ถือว่าทุกสิ่ง สวรรค์เป็นผู้กำหนด ราชวงศ์ซางมีกษัตริย์ 30 องค์

 

สมัยราชวงศ์ชาง เป็นราชวงศ์โบราณที่สุดของจีนที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ วงการประวัติศาสตร์ของจีนมักจะเห็นว่าราชวงศ์เซี่ยเป็นราชวงศ์ที่โบราณที่สุดของจีนแต่ข้อมูลเกี่ยวกับราชวงศ์เซี่ยส่วนใหญ่เป็นบันทึกในหนังสือยุคหลังทั้งสิ้นจนถึงปัจจุบันก็ยังค้นไม่พบพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือทางโบราณคดี ส่วนราชวงศ์แรกที่มีพยานหลักฐานที่เชื่อถือได้ และได้จากการค้นพบทางโบราณคดีของจีน คือ ราชวงศ์ชาง

 ราชวงศ์ชาง สถาปนาขึ้นประมาณศตวรรษที่ 16 ก่อนคริสต์ศักราช สิ้นสุดลงเมื่อศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสต์ศักราช กินเวลาประมาณ 600 ปี ช่วงแรกราชวงศ์ชางเคยย้ายเมืองหลวงหลายครั้ง ในที่สุดได้ตั้งเมืองหลวงขึ้นที่กรุงยิน (บริเวณเมืองอันหยางของมณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) พยานหลักฐานทางโบราณคดีพิสูจน์ได้ว่า ในช่วงราชวงศ์ชาง อารยธรรมจีนได้พัฒนาไปถึงระดับสูงพอสมควร สัญลักษณ์ที่สำคัญ คือ ตัวอักษรโบราณที่สลักไว้บนกระดองเต่าหรือกระดูกสัตว์ และวัฒนธรรมทองสัมฤทธิ์

อักษรจารึกบนกระดองเต่า


 การขุดค้นทางโบราณคดีและการวิจัยทางศึกษาวิชาการพิสูจน์ว่า ในสมัยราชวงศ์ซาง มีชุมชนเกิดขึ้นแล้ว ระบอบกรรมสิทธิ์ก็ได้กำหนดขึ้น ตั้งแต่สมัยนี้เป็นต้นมา จีนก็ได้พัฒนาเข้าสู่สมัยอารยธรรม

 ราชวงศ์ชางปกครองชนเผ่าต่างๆ ในเขตสองฝั่งลุ่มแม่น้ำหวงเหอ แต่อำนาจมีอยู่อย่างแท้จริงเฉพาะบริเวณรอบๆ เมื่องหลวงเท่านั้น กษัตริย์ราชวงศ์ชางยังต้องทำสงครามกับชนเผ่าต่างๆ อยู่ จึงต้องสะสมกำลังทหารให้เข้มแข็ง และสร้างระบบความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนามาสนับสนุนความชอบธรรมในการใช้อำนาจปกครอง

 สังคมในสมัยราชวงศ์ชางมีการแบ่งชนชั้นโดยใช้ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนด ชาวชางนับถือเทพเจ้าในธรรมชาติ บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ และเทพเจ้าแห่งสงคราม ปลายสมัยราชวงศ์ชาง ชนเผ่าที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของมณฑลฉ่านซี มีอำนาจมากขึ้น และยกทัพเข้ามาโค่นล้มอำนาจของราชวงศ์ชางพร้อมกับสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น

อารยธรรมในสมัยราชวงศ์ซาง

  1. มีการปกครองแบบนครรัฐ
  2. มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นครั้งแรก พบจารึกบนกระดองเต่า และกระดูกวัว เรื่องที่จารึกส่วนใหญ่เป็นการทำนายโชคชะตาจึงเรียกว่า “กระดูกเสี่ยงทาย”
  3. มีความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ

อักษรบนกระดูกสัตว์



สิ่งของเครื่องใช้ในสมัยราชวงศ์ซางที่ขุดค้นพบ

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ราชวงศ์เซี่ย


ราชวงศ์เซี่ย เป็นราชวงศ์แรกของจีน ปกครองประเทศจีนในช่วง 2100-1600 ปีก่อนคริสตกาล มีอายุอยู่ได้ราว 500 ปี ในอดีตนักวิชาการและบุคคลโดยทั่วไปเชื่อว่าเรื่องราวของราชวงศ์เซี่ยเป็นเพียงเรื่องแต่งหรือปรัมปราที่เล่าสืบต่อกันมา แต่ปัจจุบันมีการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เชื่อถือได้ ในปี ค.ศ. 1959 ได้เริ่มมีการค้นหาแหล่งที่มาของวัฒนธรรมเซี่ย โดยช่วงเวลาที่ผ่านมาได้เริ่มดำเนินการขุดค้นและตรวจสอบทางโบราณคดีรูปแบบต่างๆ ในพื้นที่แถบตะวันตกของเหอหนานและทิศใต้ของมณฑลซานซี เพื่อลดขอบเขตพื้นที่เป้าหมายในการค้นหาให้แคบเข้า ปัจจุบัน มีนักวิชาการจำนวนมากเห็นว่า วัฒนธรรมเอ้อหลี่โถว จากหลุมขุดค้นเหยี่ยนซือเอ้อหลี่โถวและวัฒนธรรมหลงซานในเขตตะวันตกของมณฑลเหอหนานนั้น น่าจะเป็นวัฒนธรรมในสมัยเซี่ย แต่เนื่องจากยังขาดหลักฐานทางตรงและหลักฐานที่เป็นตัวอักษร ดังนั้นปัจจุบันนี้ จึงยังคงไม่อาจระบุชัดว่าสิ่งที่ขุดค้นได้มาเป็นส่วนหนึ่งของ วัฒนธรรมเซี่ย หรือไม่ อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่พบในวัฒนธรรมหลงซานและวัฒนธรรมเอ้อหลี่โถว ก็ทำให้มีข้อมูลมากพอที่จะช่วยเสริมความรู้ที่ขาดหายไปในช่วงเวลานี้เป็นอย่างดี


จากบันทึกของซือหม่าเซียน ทำให้นักประวัติศาสตร์จีนมักเริ่มนับราชวงศ์เซี่ยโดยเริ่มจากเซี่ยหวี่หรือพระเจ้ายู้ ถึงลวี่กุ่ยหรือเซี่ยเจี๋ยในระยะเวลา 400 กว่าปี มีกษัตริย์ครองบัลลังก์ 17 พระองค์ มีการสืบทอดอำนาจถึง 14 ชั่วคน

การก่อตั้งราชวงศ์เซี่ยซึ่งมีรากฐานของอำนาจจากการยึดครองทรัพย์สินเป็นของส่วนตัวเป็นสัญญาณว่าสังคมยุคดึกดำบรรพ์ที่ทรัพย์สินเป็นของสาธารณะอันยาวนาน กำลังถูกแทนที่ด้วยสังคมแบบยึดครองทรัพย์สินส่วนตัว และนี่ก็เป็นวิวัฒนาการในประวัติศาสตร์ช่วงเวลาหนึ่ง ทว่า โดยปกติการก่อเกิดของระบบใหม่ มักต้องเผชิญกับแรงต้านจากฝ่ายอนุรักษ์ เมื่อเซี่ยฉี่ บุตรของเซี่ยหวี่เข้ารับสืบทอดตำแหน่งของบิดา ก็ได้เชิญบรรดาหัวหน้าชนเผ่าจากดินแดนต่างๆ มาร่วมในงานเลี้ยง เพื่อรับรองการขึ้นสู่ตำแหน่งใหม่ของตน

กลุ่มฮู่ซื่อ ไม่พอใจเซี่ยฉี่ ที่ยกเลิกระบบการคัดสรรผู้มีความสามารถเพื่อดำรงตำแหน่งผู้นำที่มีอยู่เดิม จึงไม่ได้เข้าร่วมในงานเลี้ยงนั้น เซี่ยฉี่จึงยกกองทัพออกไปปราบฮู่ซื่อ โดยทำศึกกันที่กาน ฮู่ซื่อพ่ายแพ้ถูกลบชื่อออกไป ชัยชนะจากการรบครั้งนี้ ทำให้ก้าวแรกของระบบอำนาจใหม่นี้แข็งแรงขึ้น

ระบบการปกครองแบบใหม่นี้ค่อยๆ พัฒนาขึ้น ขณะที่ผู้ปกครองคนใหม่ ต้องเผชิญปัญหาการขาประสบการณ์ในการปกครอง รากฐานของอำนาจที่มาจากการยึดครองทรัพย์สินเป็นของส่วนตัว ในช่วงระยะของการฟูมฟักของการก้าวขึ้นสู่อำนาจที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ สภาพการขูดรีด แย่งชิง และความกระหายในการเสพสุขของผู้ปกครองก็ยังเป็นไปอย่างรุนแรง และย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงจากการแย่งชิงผลประโยชน์และอำนาจในกลุ่มผู้ปกครองด้วยกันเองได้

ดังนั้น เมื่อเซี่ยฉี่ตายลง บุตรชายของเขาทั้งห้าคนก็แย่งชิงอำนาจกัน ผลคือเมื่อไท่คัง ได้ขึ้นครองบัลลังก์ต่อจากฉี่ (ครองราชย์ 29 ปี) ก็ไม่สนใจดูแลกิจการงานเมือง เฝ้าหมกมุ่นอยู่กับสุรานารี ต่อมาจึงถูกอี้ ซึ่งเป็นผู้นำของรัฐฉง สบโอกาสเข้าแย่งชิงอำนาจ ภายหลังเมื่ออี้ถูกขุนนางของเขาที่ชื่อหานจั๋ว สังหารแล้ว เส้าคัง (ครองราชย์ 21 ปี) บุตรชายของไท่คังซึ่งหลบหนีไปรัฐโหย่วหวี ได้รับความช่วยเหลือจากโหย่วหวี รวบรวมขุมกำลังเก่าของเซี่ยขึ้นใหม่ แล้วอาศัยช่วงเวลาที่ภายในของกลุ่มหานจั๋วเกิดความวุ่นวาย เข้าช่วงชิงอำนาจเพื่อกอบกู้ราชวงศ์เซี่ยกลับคืนมา นี่คือเหตุการณ์ที่เป็นหลักหมายทางประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์เซี่ย ที่เรียกขานกันต่อมาว่า "ไท่คังเสียเมือง " "อี้ยึดครองเซี่ย" และ "เส้าคังฟื้นฟูเซี่ย"

เมื่อถึงปลายราชวงศ์ ศูนย์อำนาจภายในเกิดความวุ่นวายทั้งภายในและภายนอกไม่หยุดยั้ง ข้อขัดแย้งทางชนชั้นทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อเซี่ยเจี๋ย ได้ขึ้นครองบัลลังก์ (ช่วงก่อนคริสต์ศักราช 1,763 ปี ครองราชย์ 52 ปี) ก็ไม่คิดจะปฏิรูปแก้ไขสิ่งใด ยังคงเห่อเหิมฟุ้งเฟ้อในอำนาจ โดยสั่งให้ก่อสร้างตำหนักพระราชวัง ใช้จ่ายเงินทองฟุ่มเฟือยมากมาย มัวเมาอยู่กับสุรานารี โดยไม่สนใจใยดีต่อความทุกข์ยากของเหล่าประชาราษฎร์พากันก่นด่าประณาม เหล่าขุนนางที่จงรักภักดี กลับถูกสั่งคุมขังหรือประหารชีวิต บรรดาเจ้านายชั้นสูงต่างก็พากันเอาใจออกห่าง เซี่ยเจี๋ยจึงตกอยู่ในฐานะโดดเดี่ยว ซางทัง ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ต่อมาคือราชวงศ์ซาง เห็นเป็นโอกาสเหมาะ จึงใช้ข้ออ้างว่า "ฟ้ากำหนด" กล่าวหาว่าเซี่ยทำผิดต่อฟ้า จึงต้องถูกลงทัณฑ์ โดยขอให้ทุกคนรวมพลังกันเข้าโจมตี เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์แห่งฟ้า การศึกระหว่างซางทังและเซี่ยเจี๋ยที่หมิงเถียว ซางทังชนะ เจี๋ยหลบหนีไป และเสียชีวิตที่หนานเฉา ราชวงศ์เซี่ยจึงถึงกาลอวสาน

ในปี 1959 ได้เริ่มทำการค้นหาแหล่งที่มาของวัฒนธรรมเซี่ย โดย 40 กว่าปีที่ผ่านมาได้เริ่มดำเนินการขุดค้นและตรวจสอบทางโบราณคดีรูปแบบต่าง ๆในพื้นที่แถบตะวันตกของเหอหนันและทิศใต้ของซานซี เพื่อลดขอบเขตพื้นที่เป้าหมายในการค้นหาให้แคบเข้า ปัจจุบัน มีนักวิชาการจำนวนมากเห็นว่า วัฒนธรรมเอ้อหลี่โถว หลุมขุดค้นเหยี่ยนซือเอ้อหลี่โถวและวัฒนธรรมหลงซานในเขตตะวันตกของเหอหนันนั้น น่าจะเป็นวัฒนธรรมในสมัยเซี่ย แต่เนื่องจากยังขาดหลักฐานทางตรงและหลักฐานที่เป็นตัวอักษร ดังนั้นปัจจุบันนี้ จึงยังคงไม่อาจระบุชัดว่าสิ่งที่ขุดค้นได้มาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเซี่ยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่พบในวัฒนธรรมหลงซานและวัฒนธรรมเอ้อหลี่โถว ก็ทำให้มีข้อมูลมากพอที่จะช่วยเสริมความรู้ที่ขาดหายไปในช่วงเวลานี้เป็นอย่างดี

หลักฐานทางอารยธรรมของราชวงศ์เซี่ย


วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อารยธรรมจีนสมัยเริ่มแรก

กำเนิดอารยธรรมจีน


ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง


ความเชื่อเกี่ยวกับการกำเนิดของจีน มีความเชื่อกันอยู่ 3 ทฤษฎี คือ


  1. ทฤษฎีตำนาน กล่าวว่าจีนมีกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อโลกแตกออกมาจากสวรรค์และได้มีพระเจ้าหลายองค์ได้มาช่วยกันสร้างสิ่งต่างให้เกิดขึ้น เช่น สร้างไฟ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย เครื่องมือ มนุษย์ สัตว์ต่างๆ จากนั้นสิ่งต่างๆ ก็มีมากขึ้นจนมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นชุมชนและขยายขึ้นเรื่อยๆ และในที่สุดเมื่อประมาณ 2,205 ปีก่อนคริสตกาล ก็มีผู้นำชุมชนคนหนึ่งนามว่า “หวงตี้” สามารถตั้งตนเป็นใหญ่ได้ และก่อตั้งราชวงศ์ขึ้นปกครองจีนได้สำเร็จ
  2. ทฤษฎีมนุษย์ปักกิ่ง เป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นตามข้อมูลทางวิชาการจากการขุดค้นพบทางโบราณคดีทางตอนใต้ของปักกิ่งในปี ค.ศ. 1927 ซึ่งต่อมารู้จักกันในนาม “มนุษย์ปักกิ่ง” ดังนั้นจึงมีแนวคิดเชื่อกันว่าจีนถือกำเนิดมาแล้วตั้งแต่เมื่อประมาณ 350,000 – 400,000 ปี ความเจริญที่พบในสมัยนี้ได้แก่ การรู้จักนำเอาหินมาดัดแปลงเป็นเครื่องมือสำหรับการล่าสัตว์และป้องกันตัว รู้จักใช้ไฟเพื่อการดำเนินชีวิต
  3. ทฤษฎีสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา โดยอาศัยเหตุผลทางด้านสังคมวิทยาและมนุษยวิทยาตั้งทฤษฎีขึ้นมาว่า จีนมีกำเนิดในยุคหินใหม่ หรือเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีศูนย์กลางอยู่ตามลุ่มแม่น้ำเหลือง ซางความเชื่อดังกล่าวสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดี คือ เครื่องปั้นดินเผาและหลักฐานอื่นๆ อีกหลากหลายชนิด โดยมีการแบ่งเป็นยุคต่างๆ ดังนี้

  1. ยุควัฒนธรรมลีและวัฒนธรรมเสียน เป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผารุ่นแรกที่พบบนแผ่นดินจีน แหล่งที่พบอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ มีอายุประมาณ 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล ลักษณะเด่น เป็นเครื่องปั้นดินเผารูปทรงภาชนะหุงต้มมี 3 ขา ส่วนวัฒนธรรมเสียนมีความแตกต่างคือ จะมีอุปกรณ์คล้ายกระชอนเพิ่มเติมเข้ามา จึงสันนิษฐานว่า วัฒนธรรมลีเป็นสังคมวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาสำหรับหุงต้ม ส่วนวัฒนธรรมเสียนเป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาในการนึ่ง
  2. ยุควัฒนธรรมเหยา ชุน และหยู่ อายุประมาณ 3,000 – 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ศูนย์กลางอยู่ในมณฑลสั่นซี ส่วนใหญ่มีความเจริญในเรื่องการปกครอง โดยเฉพาะความเป็นประชาธิปไตยของผู้ปกครอง ความกตัญญูกตเวที ความเสียสละ และคุณธรรม นอกจากนี้ยังมีความเจริญในด้านดาราศาสตร์ การประดิษฐ์ปฏิทิน และความเชื่อเกี่ยวกับสวรรค์
  3. ยุควัฒนธรรมหยางเชาและวัฒนธรรมหลงชาน เป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาทาสี และไม่ทาสี อายุประมาณ 2,000 – 1,000 ปี ก่อนคริสตกาล วัฒนธรรมยังเซาพบในมณฑลเหอหนัน ลักษณะเด่นเป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาแต้มสี โดยมีทั้ง สีแดง สีขาว สีดำ และสีน้ำตาล และยังพบการวาดรูปสัตว์ สิ่งต่างๆที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน เช่นการล่าสัตว์ เป็นต้น ส่วนวัฒนธรรมหลุงชานพบที่มณฑลซันตุง เป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาที่ไม่มีการทาสี ไม่มีการวาดรูปใดๆ ลักษณะมีความบอบบางแตกหักง่าย ไม่ทนทาน

วัฒนธรรมหยางเชา ( Yang Shao Culture ) เป็นวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโห พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาเป็นลายเขียนสี มักเป็นลายเรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และพบใบหน้ามนุษย์ สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์ลายหรือขูดสลักลายเป็นรูปลายจักสาน ลายเชือกทาบ


วัฒนธรรมหลงซาน ( Lung Shan Culture ) เป็นวัฒนธรรมลุ่มน้ำแยงซี ( Yangtze ) บริเวณมณฑลชานตุง พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผามีเนื้อละเอียดสีดำขัดมันเงา คุณภาพดีเนื้อบางและแกร่ง เป็นภาชนะ 3 ขา


นอกจากนี้ยังพบว่า ในช่วงเวลาประมาณ 2,000- 1,000 ปี จีนเป็นสังคมที่พัฒนาแล้ว เป็นสังคมเกษตรกรรม มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู หมา แกะ วัว ควาย ม้า ลิง รู้จักการขุดบ่อ ขุกสระน้ำ เก็บกักน้ำไว้ใช้ในยามขาดแคลน มีลักษณะของชุมชนที่มีระบบรักษาความปลอดภัย มีการสร้างกำแพงล้อมรอบ โดยใช้ดินสร้างเป็นกำแพงผสมเศษหญ้า และเชื่อในเรื่องโชคชะตา


หลักฐานความเจริญในสมัยเริ่มแรก