จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สรุปราชวงค์ฉิน

ราชวงค์ฉิน


ฉินซีฮ่องเต้ ปฐมจักรพรรดิ์ ผู้สถาปนาราชวงศ์ฉิน

ราชวงศ์ฉิน หรือ ราชวงศ์จิ๋น เป็นราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีนระหว่างปีที่ 221– 207 ปีก่อนคริสตกาล โดยก่อนหน้าในปลายราชวงศ์โจว(โจวตะวันออก)แผ่นดินจีนได้เกิดการแตกแยกออกเป็นรัฐต่างๆถึง 7 รัฐและทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ในดินแดนตอนกลางกันอยู่เนืองๆ จนกระทั่งกษัตริย์แห่งรัฐฉินได้ทำสงครามชนะทุกรัฐ แล้วรวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นหนึ่งเดียวสำเร็จในปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล นับเป็นอันสิ้นสุดของยุครณรัฐ จากนั้นจึงได้สถาปนา "ราชวงศ์ฉิน" ขึ้นปกครองแผ่นดินจีนโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ “เสียนหยาง” พร้อมทั้งสถาปนาตนเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฉินโดยใช้พระนามว่า “ฉินสื่อหวงตี้” หรือที่คนไทยออกเสียงเพี้ยนเป็น “จิ๋นซีฮ่องเต้” หรือ “ฉินซีฮ่องเต้”


ในช่วงที่ “จิ๋นซีฮ่องเต้” ปกครอง แผ่นดินจีนมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาก แต่เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้เสด็จสวรรคตเมื่อปีที่ 210 ก่อนคริสตกาล ราชวงศ์ฉินก็สั่นคลอนอย่างหนัก และล่มสลายลงในยุคของ “ฉินเอ้อซื่อ” หรือ “จักรพรรดิฉินที่ 2” (210-207 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีนิสัยใจคอโหดเหี้ยม ไร้สามารถผิดกับพระบิดา และยังตกอยู่ใต้การชักใยของขันที “เจ้าเกา” รีดไถภาษีจากประชาชนจนทำให้ประชาชนเดือดร้อนอย่างหนักและก่อกบฏขึ้น กลุ่มที่สำคัญได้แก่กลุ่มของ “หลิวปัง” โดยหลิวปังได้ก่อกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉินขึ้น โดยผู้ช่วยมือดีมาช่วยอีก 3 คนในการวางแผนรบและประสานงานต่างๆ คือ หานซิ่น จางเหลียง และเซียวเหอ จนสามารถโค่นราชวงศ์ฉินลงได้ในปีที่ 207 ก่อนคริสตกาลและสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นมา คือ “ราชวงศ์ฮั่น”


สรุปภาพรวมราชวงศ์ฉิน

  • นครรัฐฉินมีฐานอำนาจเดิมอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำฮวงโห
  • เป็นนครรัฐของชนหลายเชื้อชาติ (นครรัฐอนารยชน)
  • ไม่มีระบบศักดินา
  • พลังอำนาจของนครรัฐมาจากทหารที่ใช้กลศึกทหารม้าและทหารราบติดอาวุธเหล็กและทองสัมฤทธิ์
  • ในปี 221 B.C. ผู้นำนครรัฐสามารถตั้งตนเป็นองค์จักรพรรดิได้ พระนามว่า “ฉิน ซื่อ ฮวง ตี้”
  • ภายหลังจากมีการรวบรวมแว่นแคว้นต่างๆ ทั้งแผ่นดินได้ใช้วัฒนธรรมเดียวกันเป็นสื่อในการสร้างความรู้สึกให้เป็นชาติเดียวกัน (รู้สึกว่าเป็นคนฉิน:Chin หรือ จีน : China)
  • แผ่นดินฉินขนาดใหญ่ทำให้มีกองทัพที่เข้มแข็งขนาดใหญ่จากการเกณฑ์อย่างไม่มีจำกัดโดยมีเสฉวนเป็นฐานเศรษฐกิจการรบท
  • กองทัพฉินถึงแม้จะยิ่งใหญ่แต่ทางภาคเหนือและตะวันตกยังต้องพบกับการรุกรานของพวกชิอุงนุ (Hsing Nu) และพวกเตอร์ก (Turks) จนต้องสร้างกำแพงขนาดใหญ่ไว้เป็นแนวป้องกันและจัดวางกำลังทหารตลอดแนว

เศรษฐกิจ

  • ราชวงค์ฉินกำหนดวิถีชิวิตเศรษฐกิจแบบพอยังชีพตนเองได้ ไม่จนหรือไม่รวยอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภัยต่อรัฐ(จนเกินไปเป็นภาระของรัฐ:รวยเกินไปมีอำนาจมีอิทธิพลท้าทายอำนาจรัฐ)
  • สภาพเศรษฐกิจตามราชวงค์ฉินกำหนด คือ “ชายพึงพอใจกับการปลูก หญิงอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน”
  • ส่วนกลางเป็นผู้จัดระบบแบบแผนในการจัดการทรัพยากรในแผ่นดิน
  • ประชาชนสามัญสามารถซื้อขายที่ดินได้โดยการส่งเสริมของส่วนกลาง
  • ชาวนาอยู่ในฐานนะของผู้ผลิตไม่มีสิทธิ์จับอาวุธ
  • มีการพัฒนามาตรฐานมาตราชั่ง ตวง วัด กำหนดมูลค่าและรูปแบบเหรียญให้เป็นเหรียญกษาปณ์แบบกลมมีรูรูปสี่เหลี่ยมตรงกลาง
  • กำหนดความยาวของแกนหรือเพลาล้อเกวียน
  • ส่วนกลางเป็นผู้กำหนดระเบียบการจัดเก็บภาษีอากร
  • สินค้าที่มีราคาดี มีกำไรส่วนกลางเป็นผู้ผูกขาดในการผลิตและจำหน่าย
  • กำหนดอัตราภาษีค่ารายหัวจากผู้ที่เป็นในอัตรา 2 เท่า ทำให้ครอบครัวขนาดใหญ่กลายเป็นขนาดเล็ก

การปกครอง

  • ราชวงค์ฉิน ปกครองตามคติลัทธินิตินิยมหรือนิติธรรม (ฝ่าเจีย)
  • ถือกฎหมายในการปกครองเป็นหลัก
  • การใช้กฎหมายไม่ได้คำนึงถึงความเสมอภาค แต่ยกย่องเชิดชูผู้รับใช้รัฐเป็นหลัก
  • การปกครองส่วนภูมิภาคส่วนกลางเป็นผู้กำหนดในการแต่งตั้งโยกย้ายและกำกับดูแล
  • บริหารรัฐโดยยึดแบบแผนของฉิน ล้มล้างอำนาจชนชั้นสูงและตระกูลใหญ่

การบริหารรัฐ

 ส่วนกลาง

  • เป็นแบบร่วมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยจักรพรรดิทรงไว้ซึ่งอำนาจสูงสุด
  • จักรพรรดิมีอำนาจเด็ดขาดและทรงสถิตเหนือจารีตประเพณีอันใดเท่าที่จะมีปรากฏ ทรงเป็นเจ้าแผ่นดินผู้ครอบครองทรัพยากรทั้งแผ่นดิน
  • การใช้อำนาจเด็ดขาดย่อมขัดกับลัทธิขงจื๊อทำให้ลัทธิขงจื๊อถูกกำจัดกวาดล้าง
  • จักรพรรดิทรงไว้ซึ่งอำนาจในการจัดการทรัพยากรในแผ่นดินได้ตามพระราชประสงค์ตามอัธยาศัย
  • ผู้นำในระบบราชการพลเรือน คือ อัครมหาเสนาบดี
  • ผู้นำในทางทหาร คือ "จอมทัพ"
  • ระบบราชการส่วนกลางขึ้นอยู่กับองค์จักรพรรดิ ส่วนภูมิภาคขึ้นอยู่กับส่วนกลางอีกทอดหนึ่ง
  • ทุกระดับมีระเบียบการจัดเก็บเอกสารราชการเป็นแหล่งข้อมูล

 ส่วนภูมิภาค

  • ในส่วนภูมิภาค ราชวงค์ฉินได้ล้มล้างระบบศักดินาสวามิภักดิ์
  • แบ่งส่วนภูมิภาคทั้งแผ่นดินให้มีขนาดเท่ากันเป็นมณฑลหรือเป็นพื้นที่บัญชาการ
  • แต่ละมณฑลประกอบด้วยจังหวัด มีผู้บริหาร 2 คน คือ ผู้ว่าราชการฝ่ายพลเรือนและผู้ว่าฝ่ายทหาร
  • ในระดับมณฑลใช้ระบบราชการเหมือนส่วนกลางแต่ผู้ว่ามีการใช้อำนาจได้อย่างอิสระแต่จำกัดขอบเขต
  • ส่วนกลางเป็นผู้ควบคุมการบริหาร ในการบังคับบัญชา แต่งตั้ง โยกย้าย ปลด
  • ส่วนกลางจะส่งผู้ตรวจราชการแผ่นดินไปตรวจสอบเพื่อถ่วงดุลอำนาจ และราชสำนักก็ส่งข้าราชการไปตรวจสอบ
  • ในแต่ละมณฑลมีทหารประจำการ มีระบบขนส่ง คมนาคม ทางหลวง แม่น้ำ คู คลอง ไปรษณีย์และมีสถานีรายทาง
  • ระดับท้องที่ ต่ำกว่าจังหวัด มีเมืองอำเภอและหมู่บ้าน
  • ราชวงค์ฉินรวบรวมครัวเรือน 5-10 ครัวเรือนให้เป็นหมู่เหล่า จัดเป็นระบบเปาเจีย ทำหน้าที่ปกครองตนเอง

ระบบราชการ

  • ข้าราชการเป็นผู้ที่ต้องได้รับการศึกษาอบรมมาเป็นอย่างดีเท่านั้น
  • ข้าราชการที่มีความจงรักภักดีต่อราชวงค์จะมีความก้าวหน้าตามคุณงามความดี ได้รับยศถาบบรดาศักดิ์ ที่ดิน แรงงาน
  • ข้าราชการได้รับการยกเว้นการเรียกเก็บภาษีและการเกณฑ์แรงงาน
  • ระบบราชการมีการกำหนดระเบียบแบบแผนเป็นทำเนียบตำแหน่งและทำเนียบศักดินา
  • ระบบราชการตั้งมั่นด้วยกองทัพ ระบบราชการ ประมวลกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจ ระบบป้องกันบ้านเมือง ภาษา

ลักษณะทางสังคม

  • ประชาชนที่มีอาวุธประจำกายถูกบังคับให้วางอาวุธและมอบให้แก่บ้านเมือง
  • ชนชั้นสูงที่เคยมีอำนาจในการปกครองและการรบถูกกีดกันออกจากหน้าที่หลัก
  • ชายฉกรรจ์ต้องถูกเกณฑ์แรงงานและจัดตั้งกองทัพ
  • ราชวงค์ฉินกดชนชั้นสูง ตระกูลใหญ่ไว้ไม่ให้เติบใหญ่
  • ยกย่องชาวนาและข้าราชการรุ่นใหม่ให้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในสังคม
  • ในระบบครอบครัวราชวงค์ฉินได้กำหนดให้ครอบครัวใหญ่ลดขนาดลง โดยกำหนดเก็บภาษีผู้ที่เป็นโสดและไม่ได้เป็นหัวหน้าครอบครัวในอัตรา 2 เท่า

ภูมิปัญญา

อักษรศาสตร์

  • ราชวงค์ฉินได้กำหนดอักขระวิธีในการเขียนเป็น 2 แบบ คือ แบบเขียนเพื่อจารึกลงบนหินและแม่พิมพ์ เรียกว่าอักษรจารึกหรืออักษรตัวพิมพ์ และอักษรที่มีเส้นสายลายเขียนติดต่อกันสำหรับเสมียนเขียนลงบน ไม้ไผ่ หรือ ผ้าไหม
  • ภาษาพูดในแต่ละถิ่นอาจต่างกัน แต่มีภาษาเขียนและอักขระวิธีแบบเดียวกัน
  • ภาษาจีนกลายเป็นเครื่องส่งเสริมจิตสำนึกของคนฉินให้รู้สึกเป็นคนจีนที่ใช้ภาษาเดียวกัน มีความผูกพันต่อกัน

การสูญสิ้นภูมิปัญญาจีนในยุคฉิน

  • ราชวงค์ฉินได้กวาดล้างปัญญาชนที่ต่อต้านการพัฒนาอักขระวิธี
  • ห้ามมีการเผยแพร่วิทยาการและความคิดอันเป็นปฏิปักษ์ต่อคตินิตินิยมและราชวงค์
  • ปัญญาชนที่ต่อต้านและมีความคิดแตกต่างจะถูกกวาดล้างด้วยวิธีอันโหดเหี้ยม เช่น จับกุมคุมขัง ประหารชีวิต เนรเทศ และฝั่งให้ตายทั้งเป็น
  • ปัญญาชนจำนวนมากเสียชีวิต ตำราวิชาการ วรรณคดี ในหอหนังสือหลวงและหอหนังสือเอกชนถูกเผาทำลายเพื่อไม่ให้มีอิทธิพลต่อปัญญาชน
  • ตำราที่ไม่ถูกเผา คือ ตำราโหราศาสตร์ ตำราแพทย์ ตำราเพาะปลูก ประวัติศาสตร์ที่ราชวงค์ฉินแต่งเอง
  • การเผ่าทำลายไม่มีผลต่อองค์ความวรู้เพราะตามประเพณีการศึกษาเป็นการท่องจำเป็นหลักจึงมีการพิมพ์ขึ้นใหม่ในภายหลังที่สิ้นราชวงค์ แต่ก็มีปัญหาในเรื่ององค์ความรู้แปลกปลอม
  • ความสูญเสียในด้านภูมิปัญญา ทำให้ปัญญาชนต่างประณามและประวัติศาสตร์ราชวงค์ฉินจึงถูกเขียนให้เกินจริง


การล้มสลาย

  • การที่ราชวงค์ฉินสามารถสร้างรัฐใหม่ตามคตินิตินิยม ทำให้รัฐเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ล้วนมาจากการใช้อำนาจบีบบังคับ ราชวงค์จึงไม่สามารถดำรงอยู่ได้
  • การปกครองตามคตินิยมที่ใช้กฎหมาย อำนาจอาญาสิทธิ์ และอำนาจทหาร ทำให้การปกครองมีประสิทธิภาพ แต่ไม่ได้คำนึงถึงความพร้อมใจของประชาชน
  • ราชวงค์ฉินระดมกำลังคนในการสร้างกำแพงยักษ์ ระบบชลประทานสาธารณูปโภคขนาดใหญ่เกณฑ์ทหารและเรียกเก็บภาษีส่วยอากรอย่างหนัก ทำให้ประชากรล้วนทุกข์ยากลำเค็ญ
  • การใช้อำนาจเด็ดขาด และการเรียกเกณฑ์ราษฎร ทำให้ราชวงค์ฉินกลายเป็นที่เกลียดชัง
  • จักรวรรดิจีนกว้างใหญ่ไพศาลขึ้น แต่ขาดการสนับสนุนจากปัญญาชน ประชาชน ชนชั้นสูง หลังจากที่จิ๋นชีฮ่องเต้สวรรคตลง ขาดผู้นำที่มีความเข้มแข็ง กล้าหาญ ราชวงค์ฉินจึงล่มสลายอย่างรวดเร็ว


ขอขอบคุณเอกสารอ้างอิง/แหล่งข้อมูลอ้างอิง

ประวัติศาสตร์จักรวรรดิจีน, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ราชวงศ์ฉิน, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ราชวงค์โจว : ต้นแบบอารยธรรมจีน

ราชวงค์โจว : ต้นแบบอารยธรรมจีน



ราชวงศ์โจว หรือ ราชวงศ์จิว เป็นราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์จีน ปกครองอารยธรรมจีนประมาณ 1123 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 256 ปีก่อนคริสต์ศักราช นับว่าเป็นราชวงศ์ที่ปกครองยาวนานที่สุด ด้วยเวลาที่ยาวนานกว่า 867 ปี ทั้งนี้ยังเป็นราชวงศ์ที่มีเรื่องราวของการสู้รบระหว่างแว่นแคว้นต่างๆ เพื่อชิงความเป็นใหญ่จนทำให้บ้านเมืองแตกแยก รวมทั้งยังเป็นยุคแห่งการกำเนิดของเหล่านักปรัชญาเมธีหลายท่าน อาทิ ขงจื๊อ, เล่าจื๊อ, ซุนวู เป็นต้น

          ราชวงศ์โจวแบ่งออกเป็น 2 ยุค ได้แก่

1.  ยุคราชวงศ์โจวตะวันตก ปกครองราว 1046 – 771 ปีก่อนคริสต์ศักราช สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าโจวอู่หวังหรือ จีฟา ภายหลังโค้นล้มราชวงศ์ซางลงได้สำเร็จ โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ซีอาน มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 12 พระองค์

2.  ราชวงศ์โจวตะวันออก   ปกครองราว 771-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปกครองสืบต่อจากราชวงศ์โจวตะวันตกโดยพระเจ้าโจวผิงหวัง ได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ลั่วหยาง ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมืองซีอาน ในสมัยนี้เกิดการแย่งชิงอำนาจกันของเหล่าอ๋องและการแข็งเมืองของเหล่าอ๋องทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพในการปกครองเกิดขึ้นจนนำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์ โดยในราชวงศ์โจวตะวันออกมีการแบ่งออกเป็น 2 ยุค โดยยุคแรกเรียกว่า ยุคชุนชิว และยุคสุดท้ายเรียกว่า ยุคจ้านกว๋อ จนราชวงศ์โจวล่มสลาย

                  1. ยุคชุนชิว ยุคนี้เป็นยุคที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายในอาณาจักร แว้นแคว้นต่าง ๆ เกิดความไม่ไว้ใจซึ่งกันและกันจนเกิดสงครามระหว่างแคว้นต่างๆ ผู้คนเดือดร้อนทุกข์ยากจนก่อเกิดนักปราชญ์นักปรัชญาขึ้นและมีโอกาส เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านปรัชญา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม รวมทั้งการปกครอง ผู้คนในเวลานั้นต่างก็ต้องการที่พึ่ง ผู้ปกครองก็ต้องการแม่ทัพผู้ปราชญ์เปรื่องเรื่องยุทธวิธีการวางแผน วางกำลังการรบที่เหนือกว่าคู่แข่ง จึงทำให้มีผู้คนมากมายรับฟังนักปราชญ์ และเกิดนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงขึ้นมากมาก อย่างเช่น ขงจื้อ เล่าจื่อ หรือซุนวูผู้เขียนตำราพิชัยสงคราม

                  2. ยุคจ้านกว๋อ เป็นยุคแห่งการทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ของแว่นแคว้นต่างๆ อันได้แก่ แคว้นฉู่ แคว้นเจ้า แคว้นเอี้ยน แคว้นฉี แคว้นฉิน แคว้นห่าน และแคว้นวุ่ย จนในที่สุดฉินหวังเจิ้งหรือฉินสื่อหวงหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ฮ่องเต้แห่งแคว้นฉินก็เก็บกวาดแค้วนต่างๆ ทั้ง 6 แคว้นรวบรวมเป็นหนึ่งเดียวจนเป็นปึกแผ่นและสถาปนาราชวงศ์ฉินขึ้นมาในที่สุด

แผนที่ตั้งแคว้นโจว

ความก้าวหน้าทางวิทยาการ

  • เกิดนวัตกรรมการถลุงแร่เหล็ก โดยใช้วิทยาการเตาเผา ความร้อนสูง
  • เตาเผาถลุงเป็นเตาเผาแบบพ่นลม
  • เครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธผลิตจากเหล็ก
  • ทองสัมฤทธิ์มีการใช้ในการผลิตเครื่องใช้ในราชสำนัก ชนชั้นสูง และพิธีกรรม เป็นเครื่องกำหนดสถานะผู้คน
  • การเพาะปลูกได้ผลผลิตมาก จากการใช้เหล็กทำเครื่องมือ
  • การค้าขายสินค้าจากเหล็กมีแพร่หลายจำนวนมาก
  • เครื่องมือเครื่องใช้จากเหล็กกล้ายเป็นเครื่องมือผ่อนแรง การขยายพื้นที่การเกษตร การก่อสร้าง  การขุดคู คลอง แม่น้ำ
  • มีการใช้รถม้าเป็นพาหนะ ทำให้การคมนาคมสะดวกขึ้น

เศรษฐกิจ
    ที่ดิน

  • มีการทำสำมโนครัวเรือนและที่ดิน เพื่อประโยชน์ในการเก็บภาษี
  • สมัยตอนต้นใช้ระบบศักดินา โดยขุนนางจะได้รับที่ดิน แรงงาน สัตว์เลี้ยง และเครื่องมือ
  • แรงงานสามารถชื้อ-ขายได้
  • ขุนนางใช้ระบบจัดสรรที่ดินให้แก่ชาวนา ดังนี้
    • ชาวนา 8 ครัวเรือน เข้าทำกินครัวเรือนละ 1 ส่วน
    • ชาวนาทั้ง 8 ส่วน ต้องทำนาให้เจ้าของที่ดิน 1 ส่วน
  • ในตอนปลาย ระบบจัดสรรที่ดินเสื่อมไป เปลี่ยนเป็นระบบจับจองที่ดิน โดยให้ชาวนาเสียภาษีตามจำนวนที่จับจอง (ค่านา)
  • ต่อมาเมื่อรัฐขยายขึ้นที่ดินถูกจัดสรรแก่ชาวนา สามารถมีกรรมสิทธ์ซื้อ-ขายได้ ไม่มีภาระผูกพันกับขุนนาง
  • ชาวนามีหน้าที่เสียภาษีค่านาให้แก่รัฐ
การเพาะปลูก

  • การเกษตรมีความก้าวหน้า เพราะเครื่องมือทำจากเหล็ก เช่นคันไถ
  • การเพาะปลูกขยายพื้นที่ได้มากขึ้น
  • มีการขุดคลองเพื่อส่งน้ำ และการขนส่งผลผลิต
  • ในตอนปลายชาวนาสามารถบุกเบิกที่ดินทำกินได้อย่างเสรี
  • กลุ่มพืชที่เพราะปลูกได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ถั่วเหลือง ธัญพืช
  • มีวิธีการอนุรักษ์ที่ดินโดย ใช้ปุ๋ยมนุษย์ การไถหว่าน ปลูกเรียงแถว การปลูกพืชหมุนเวียน 
  •  มีระบบระบายน้ำที่ดี
  • มีการจัดระบบชลประทานโดยเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเป็นผู้ดูแล
   
การค้าขาย

  • สินค้ามีจำนวนมากขึ้นเนื่องจากวิทยาการ การถลุงแร่โลหะเหล็ก
  • เมืองหลวงเป็นศูนย์กลางการค้า
  • การค้ามีความซับซ้อน มีการเรียกเก็บส่วยและอากร
  • ตอนต้นใช้เบี้ยหอยในการแลกเปลี่ยน
  • ในตอนปลายเปลี่ยนมาเป็นใช้เหรียญกษาปณ์ทองแดง (copper)
  • การใช้เงินตรานับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการตลาดอย่างแท้จริง
  • สินค้าที่ทำรายได้งดงามกล้ายเป็นสินค้าต้องห้าม เช่น เหล็ก เกลือ

การเมืองการปกครอง

  • ผู้นำตั้งตนเป็นราชา(wang)บนทฤษฎีคติเดิมของราชวงค์ชาง
  • เกิดทฤษฎีอ้างถึงเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่
    • ราชวงค์ชาง คือ พระเจ้าตี้ (TI)
    • ราชวงค์โจว คือ พระเทพสวรรค์หรือฟ้า (Tien)
  • เทพแห่งสวรรค์จะมอบอำนาจให้ผู้ใดผู้นั้นมีอำนาจในการปกครอง และสามารถเพิกถอนอำนาจได้ทุกเมื่อ
  • ราชาเป็นโอรสแห่งสวรรค์
  • จากความเชื่อดังกล่าวเป็นพลังหลักในการรวมบ้านเมือง
  • จีนถือว่า แผ่นดินมีจักรพรรดิองค์เดียวเหมือนท้องฟ้ามีพระอาทิตย์ดวงเดียว
  • จักรพรรดิทรงไว้ซึ่งอำนาจเด็ดขาดเพียงผู้เดียว
  • จักรพรรดิเป็นผู้เชื่อมต่อพิภพกับสวรรค์ (เป็นผู้ติดต่อสวรรค์)
  • การปกครองที่ดีคือการปกครองตามประสงค์ของสวรรค์จึงต้องมีการตั้งพิธีบวงสรวง
  • จักรพรรดิและผู้ปกครองต้องปกครองโดยธรรม
  • พระราชกำเนิดหรือการเป็นโอรสสวรรค์ไม่สามารถคุ้มครองจักรพรรดิผู้ประพฤติผิดธรรม 
  • สวรรค์สามารถเพิกถอนให้ผู้อื่นหรือวงศ์อื่นได้

ระเบียบบริหารของรัฐ

  • แผ่นดินโจวขยายตัวจากสังคมเกษตร จึงไม่มีระเบียบบริหารที่ดี
  • การปกครองใช้อำนาจส่วนกลางและวัฒนธรรมเป็นสื่อโดยถือว่า แผ่นดินใดที่มีภาษาวัฒนธรรม พิธีกรรม แบบโจว ถือว่าเป็นโจว
  • โจวใช้กุศโลบายกลืนชาติโดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมในวการขยายอำนาจ
  • การปกครองใช้ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ โดยมีการแบ่งซอยย่อยไปตามลำดับชั้น
  • การปกครองถือสายสำพันธ์เครือญาติเป็นหลัก โดยผู้ปกครองส่วนใหญ่มาจากเครือญาติพี่น้อง
  • เมืองหลวงมีกำแพงล้อมรอบ เป็นชุมชนขนาดใหญ่
  • เมืองนครรัฐน้อยใหญ่ก็มีการสร้างกำแพงและผังเมืองตามแบบของโจว
  • เมืองนครรัฐเปรียบประดุจรัฐบริวาล ลดลั่นความสำคัญไปตามลำดับส่วนใหญ่เป็นเมืองป้อมปราการ
  • คนที่อยู่ในนครรัฐส่วนใหญ่มักเป็นตระกูลเดียวกันหรือเชื้อชาติเดียวกัน
  • นักรบเป็นชนชั้นผู้ปกครอง
  • ผู้ปกครองตามระดับชั้นได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดิ  ยศถาบรรดาศักดิ์ และมีพิธีแต่งตั้งเข้ารับตำแหน่ง
  • ผู้ปกครองจะได้รับบรรณการเป็นสิ่งของ ที่ดิน และกำลังคน   แรงงาน และมีกองทัพเป็นของตน โดยจัดระเบียบบริหารตามเมืองหลวง
การทหาร

  • กองทัพโจว ใช้กลรถศึกหุ้มเกาะหนัก การรบบนหลังม้าและทหารราบ
  • มีการเกณฑ์ชาวนาเป็นทหารราบหรือไพร่ราบ
  • อาวุธหลักเป็นธนู หน้าไม้ ดาบเหล็กปลายยาว
  • เริ่มมีทหารอาชีพรับจ้าง
  • กำลังหลัก คือ ทหารม้าและทหารราบ
  • การรบต้องฝึกตามตำราพิชัยยุทธศิลปะ (Ping-fa) ของชุนจื๊อ

การเสื่อมของระบบศักดินาสวามิภักดิ์ในยุคปลาย

  • ในยุคหลังได้เกิดบรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตจำนวนมาก
  • บรรดานักปราชญ์เห็นว่าผู้ปกครองไม่ได้ปกครองโดยชอบธรรมจึงมีแนวคิดในการปกครองแบบรวมอำนาจโดยมีผู้ปกครองที่มีคุณธรรม
  • เกิดระบบราชาธิปไตย ที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
  • มีการแต่งตั้งเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง ทบวง กรม เพื่อบริหารราชสำนัก พิธีกรรม ทรัพยากรในแผ่นดิน เก็บส่วยอากร
  • เสนาบดีและผู้ใกล้ชิดเป็นสุภาพชนผู้ทรงความรู้
  • การปกครองนครรัฐ ผู้ปกครองจะต้องมาจากการโปรดเกล้าแต่งตั้ง
  • ระดับล่างของภูมิภาคคือ ระดับเมือง ตำบล หมู่บ้าน
  • การปกครองของส่วนผู้มิภาคเป็นอิสระจากส่วนกลางภายใต้การดูแลของผู้ตรวจการแผ่นดิน
  • เสนาบดีและชนชั้นผู้ดีกลายมาเป็นผู้ปกครอง
  • ชนชั้นนักรบลดลง เนื่องจากการรบกันเอง เพื่อแย่งชิงอำนาจ
  • การเกณฑ์ชาวนามาเป็นทหาร และทหารรับจ้าง นิยมสูงขึ้น
  • ทหารแบบใหม่ที่ทำความดีย่อมได้รับยศถาบรรดาศักดิ์เลื่อนชั้นมาเป็นชนชั้นสูงแทนที่นักรบกลุ่มเดิม
  • บทบาทนักรบหมดลง ไม่สามารถแข่งขันกับชนชั้นปัญญาชนได้
  • ทุกรัฐต่างเสาะแสวงหาคนดีมีฝีมือ มีความรู้ มากกว่านักรบ
  • ความเจริญทางเศรษฐกิจทำให้มีการเปิดถือครองที่ดินโดยเสรี ชาวนาไม่ต้องพึ่งพานักรบอีก
  • ช่างที่เคยผลิตผลงานเพื่อนักรบหันมาผลิตเพื่อประชาชนมากขึ้นก่อให้เกิดรายได้จนสามารถชื้อที่ดินไว้ครอบครองจำนวนมาก
  • พระราชอำนาจถูกถ่ายทอดไปอยู่ในมือชนชั้นผู้ดีมีปัญญา
  • นครรัฐเริ่มมีพื้นที่ปกครองกว้างขว้างจากระบบราชการที่เอื้อต่อการขยายอำนาจของนครรัฐ
  • นครรัฐเข้มแข็งขึ้นท้าทายอำนาจของราชวงค์
  • ปัญหาการถือครองที่ดินเริ่มก่อปัญหาต่อรายได้ของรัฐ
  • ที่ดินของผู้ดีได้รับการยกเว้นภาษีค่านา
  • ที่ดินชนชั้นผู้ดีเพิ่มมากขึ้นจากการซื้อขาย และมอบให้ของชาวนาเพื่อเลี่ยงภาษีจากส่วนกลาง
  • ชาวนาที่ครองที่ดินต้องรับภาระหนักจากภาษีที่ดิน
  • ราชวงค์ต้องเผชิญการท้าทายอำนาจจากผู้ดีที่มีที่ดิน กำลังคนมากขึ้น และการลุกฮือของชาวนาที่ยากลำเค็ญเรื่อยมา

สังคม

  • เมืองหลวงมีกำแพงคันดินล้อมรอบยาวประมาณ 3 กิโลเมตร
  • ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
  • เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น เกิดเมืองใหม่ตามที่ราบแม่น้ำมีวัดเป็นสูนย์กลางการปกครอง มีกำแพงล้อมรอบเพื่อป้องกันพวกเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์
  • ในเมืองประกอบด้วยที่อยู่ของชนชั้นสูงที่มีรั่วรอบขอบชิด พื้นที่อาศัยของช่าง พื้นที่การค้า แหล่งบันเทิง ร้านอาหาร โรงแรม หอนางโลม พื้นที่ทำไร่ไถนาอยู่นอกกำแพงเมือง
  • ชาวไร่ชาวนาต้องถูกเรียกเกณฑ์ขึ้นป้อม ค่าย ประตูหอ
  • โคตรรวงค์ขยายเพิ่มขึ้นเป็น 100 แซ่ แต่ละแซ่ล้วนมีอำนาจปกครอง
  • โคตรวงค์หรือแซ่มีกองทัพพร้อมออกศึกเพื่อองค์จักพรรดิ์

สังคมช่วงปลายสมัยโจว

  • ชนชั้นสูงประกอบด้วยผู้นำรัฐ เหล่าขุนนางในราชสำนัก เสนาบดี
  • ชนชั้นกลางได้แก่บริวาล ผู้ติดตามขุนนาง เช่น นักรบ ทนายหน้าหอ เสมียน อาลักษณ์ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ผู้ทำงานในทำเนียบ
  • ชนชั้นต่ำ ประกอบด้วย สามัญชน ชาวไร่ ชาวนา ทาส
  • ปัญญาชน ทหาร นักรบ สามารถเลื่อนระดับขึ้นเป็นชนชั้นสูงได้
  • พ่อค้าที่มั่งมี มีอำนาจอิทธิพลในสังคม
  • ชนชั้นสูงต่างต่อสู้กันทุกรูปแบบเพื่อแข่งขันครอบครองชนชั้นล่าง
  • ชาวนายอมยกที่ดินให้ผู้ปกครองเพื่อเสียค่าเช่าแทนการเสียภาษี
  • ชนชั้นสูงได้รับการยกเว้นการเสียภาษี การลงโทษประจาน มีสิทธิ์ผูกขาดในการถือครองทรัพยากร
  • หัวใจสำคัญของจีนอยู่ที่ชนบท
  • บทบาทสำคัญในการปกครองอยู่ที่ชนชั้นสูง


ภูมิปัญญา
ปรัชญาถือกำเนิดขึ้นจาก

  • ความไม่สงบสุขจากสงคราม การแบ่งฝ่าย
  • พิธีกรรมเซ่นไหว้บวงสรวงไม่ได้ทำให้จีนสงบสุขอย่างแท้จริง
  • ราชวงศ์ไม่สามารถล้มล้างได้ เพราะคตินิยมเทวาราชาธิปไตย
  • เกิดแนวคิดของบรรดานักปราชญ์ที่เชื่อว่า มนุษย์คือสัตว์สังคม และสัตว์การเมือง สังคมจะดีหรือเลว 
  • เกิดสำนักนักคิดนักปราชญ์นับร้อยแห่ง ที่สำคัญและขึ้อได้แก่ ขงจื๊อ   หยิน หยาง (ลัทธินิยมธรรมชาติ)  เล๋าจื๊อ (เต๋า)    ม่อจื๊อ (โม่จื๊อ)  เม่งจื๊อ  ชุนจื๊อ  เฟยจื๊อ(ฝาเจี่ย-นิตินิยม)

อักษรศาสตร์

  • ในสมัยโจวตอนปลายเกิดวัฒนธรรมต้นแบบชั้นครู (ยุคคลาสสิค)
  • เกิดวรรณกรรมตำราจีนคลาสสิค 3 ประเภท คือ
    • ตำรา 5 เล่ม (กวีนิพนธ์, ประวัติศาสตร์, โหราศาสตร์, พิธีกรรม, ประวัติศาสตร์ยุคชุนชิว)
    • ตำรา 13 เล่ม (ตำรา 5 เล่ม, ประเพณีกุงหยาง, ประเพณีกูเหลี่ยง,ประเพณีของโจวพิธีกรรมของราชวงค์โจว, บทสนทนา, ตำราเม่งจื๊อ, ความกตัญญูกตเวทิตา, ประชุมอธิฐานศัพย์  วรรณกรรม )
    • ตำรา 4 เล่ม เป็นตำราเรียนของขงจื๊อ (บทสนทนา 2 เล่ม, ตำรามหาวิทยาการ, ตำราว่าด้วยกรรมวิธี )

ศิลปกรรม

  • เริ่มมีการใช้กระเบื้องมุงหลังคา
  • ใช้อิฐเผ่าไฟเป็นวัสดุก่อสร้าง
  • ใช้หินทำเป็นเสา ฐานเสา ทางระบายน้ำ
  • สร้างบ้านโดยยกพื้นดินอัดแน่น
  • เครื่องทองสัมฤทธิ์นิยมใช้ในราชสำนัก ชนชั้นสูง พิธีกรรม
  • ริเริ่มทำเครื่องเขิน
  • นิยมใช้ตะเกียบในการบริโภคอาหาร
  • รู้จักปรุงอาหาร