จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปราชวงค์โจว

ราชวงค์โจว : ต้นแบบอารยธรรมจีน

การสถาปนา

  • สถานาขึ้นโดย "โจวอู่หวัง"
  • แบ่งออกเป็น 2 ยุคสมัย
    • โจวตะวันตก  ประมาณ 1100 ปีก่อน BC. เมืองหลวงอยู่ที่ "ฉางอัน"
    • โจวตะวันตก ประมาณ  770-256 BC. เมืองหลวงย้ายมาอยู่ที่ "ลัวหยาง"
  • ปกครองยาวนานประมาณ 800 ปี
  • สามารถเอาชนะราชวงศ์ชางได้โดกลศึกรถม้าหุ้มเกาะ
  • ริเริมประเพณีเรียนชื่อราชวงศ์ตามแหล่งอำนาจ โดยเรียกดินแดนตนว่า "จงหยวน (Zong Yuan)"
  • เน้นการบริหารราชการแผ่นดินโดยรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ขุนนางแต่งตั้งโดยตรงจากจักรพรรดิเท่านั้น

ความก้าวหน้าทางวิทยาการ
-    เกิดนวัตกรรมการถลุงแร่เหล็ก โดยใช้วิทยาการเตาเผา ความร้อนสูง
-      เตาเผาถลุงเหล็กเป็นเตาเผาแบบพ่นลม
-      เครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธผลิตจากเหล็ก
-      มีการใช้ทองสัมฤทธิ์ในการผลิตเครื่องใช้ในราชสำนัก ชนชั้นสูง และพิธีกรรม เป็นเครื่องกำหนดสถานะผู้คน
-       การเพาะปลูกได้ผลผลิตมาก จากการใช้เหล็กทำเครื่องมือ
-       การค้าขายสินค้าจากเหล็กมีแพร่หลายจำนวนมาก
-       เครื่องมือเครื่องใช้จากเหล็กกล้ายเป็นเครื่องมือผ่อนแรง การขยายพื้นที่การเกษตร การก่อสร้าง การขุดคู คลอง แม่น้ำ
-         มีการใช้รถม้าเป็นพาหนะ ทำให้การคมนาคมสะดวกขึ้น

เศรษฐกิจ
      ที่ดิน
     มีการทำสำมโนครัวเรือนและที่ดิน เพื่อประโยชน์ในการเก็บภาษี
      สมัยตอนต้นใช้ระบบศักดินา โดยขุนนางจะได้รับที่ดิน แรงงาน สัตว์เลี้ยง และเครื่องมือ
      แรงงานสามารถชื้อ-ขายได้
      ขุนนางใช้ระบบจัดสรรที่ดินให้แก่ชาวนา ดังนี้
o   ชาวนา 8 ครัวเรือน เข้าทำกินครัวเรือนละ 1 ส่วน
o   ชาวนาทั้ง 8 ส่วน ต้องทำนาให้เจ้าของที่ดิน 1 ส่วน
   ในตอนปลาย ระบบจัดสรรที่ดินเสื่อมไป เปลี่ยนเป็นระบบจับจองที่ดิน โดยให้ชาวนาเสียภาษีตามจำนวนที่จับจอง (ค่านา)
    ต่อมาเมื่อรัฐขยายขึ้นที่ดินถูกจัดสรรแก่ชาวนา สามารถมีกรรมสิทธ์ซื้อ-ขายได้ ไม่มีภาระผูกพันกับขุนนาง
    ชาวนามีหน้าที่เสียภาษีค่านาให้แก่รัฐ
 การเพาะปลูก
   การเกษตรมีความก้าวหน้า เพราะเครื่องมือทำจากเหล็ก เช่นคันไถ
•    การเพาะปลูกขยายพื้นที่ได้มากขึ้น
    มีการขุดคลองเพื่อส่งน้ำ และการขนส่งผลผลิต
     ในตอนปลายชาวนาสามารถบุกเบิกที่ดินทำกินได้อย่างเสรี
      กลุ่มพืชที่เพราะปลูกได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ถั่วเหลือง ธัญพืช
      มีวิธีการอนุรักษ์ที่ดินโดย ใช้ปุ๋ยมนุษย์ การไถหว่าน ปลูกเรียงแถว การปลูกพืชหมุนเวียน มีระบบระบายน้ำที่ดี
      มีการจัดระบบชลประทานโดยเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเป็นผู้ดูแล
การค้าขาย
    สินค้ามีจำนวนมากขึ้นเนื่องจากวิทยาการ การถลุงแร่โลหะเหล็ก
      เมืองหลวงเป็นศูนย์กลางการค้าการค้ามีความซับซ้อน มีการเรียกเก็บส่วยและอากร
      ตอนต้นใช้เบี้ยหอยในการแลกเปลี่ยน
     ในตอนปลายเปลี่ยนมาเป็นใช้เหรียญกษาปณ์ทองแดง (copper)
     การใช้เงินตรานับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการตลาดอย่างแท้จริง
      สินค้าที่ทำรายได้งดงามกล้ายเป็นสินค้าต้องห้าม เช่น เหล็ก เกลือ
การเมืองการปกครอง
    ผู้นำตั้งตนเป็นราชา(wang)บนทฤษฎีคติเดิมของราชวงค์ชาง
      ยึดถือทฤษฎีอ้างถึงเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่
                         - ราชวงค์ชาง คือ พระเจ้าตี้ (TI)
                         -    ราชวงค์โจว คือ พระเทพสวรรค์หรือฟ้า (Tien)
    คติความเชื่อ คือ พระเทพสวรรค์มอบอำนาจให้ผู้ใดผู้นั้นมีอำนาจในการปกครอง และสามารถเพิกถอน
    อำนาจได้ทุกเมื่อ ราชาเป็นโอรสแห่งสวรรค์ จากความเชื่อดังกล่าวเป็นพลังหลักในการรวมบ้านเมือง
     จีนถือว่า แผ่นดินมีจักรพรรดิองค์เดียวเหมือนท้องฟ้ามีพระอาทิตย์ดวงเดียว
     จักรพรรดิทรงไว้ซึ่งอำนาจเด็ดขาดเพียงผู้เดียว
     จักรพรรดิเป็นผู้เชื่อมต่อพิภพกับสวรรค์ (เป็นผู้ติดต่อสวรรค์)
      การปกครองที่ดีคือการปกครองตามประสงค์ของสวรรค์จึงต้องมีการตั้งพิธีบวงสรวง
      จักรพรรดิและผู้ปกครองต้องปกครองโดยธรรม
       พระราชกำเนิดหรือการเป็นโอรสสวรรค์ไม่สามารถคุ้มครองจักรพรรดิผู้ประพฤติผิดธรรม สวรรค์สามารถเพิกถอนให้ผู้อื่นหรือวงศ์อื่นได้
ระเบียบบริหารของรัฐ
     แผ่นดินโจวขยายตัวจากสังคมเกษตร จึงไม่มีระเบียบบริหารที่ดี
     การปกครองใช้อำนาจส่วนกลางและวัฒนธรรมเป็นสื่อโดยถือว่า แผ่นดินใดที่มีภาษาวัฒนธรรม 
     พิธีกรรม แบบโจว ถือว่าเป็นโจว
      โจวใช้กุศโลบายกลืนชาติโดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมในวการขยายอำนาจ
      การปกครองใช้ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ โดยมีการแบ่งซอยย่อยไปตามลำดับชั้น
      การปกครองถือสายสำพันธ์เครือญาติเป็นหลัก โดยผู้ปกครองส่วนใหญ่มาจากเครือญาติพี่น้อง
      เมืองหลวงมีกำแพงล้อมรอบ เป็นชุมชนขนาดใหญ่
      เมืองนครรัฐน้อยใหญ่ก็มีการสร้างกำแพงและผังเมืองตามแบบของโจว
       เมืองนครรัฐเปรียบประดุจรัฐบริวาล ลดลั่นความสำคัญไปตามลำดับส่วนใหญ่เป็นเมืองป้อมปราการ
      คนที่อยู่ในนครรัฐส่วนใหญ่มักเป็นตระกูลเดียวกันหรือเชื้อชาติเดียวกัน
      นักรบเป็นชนชั้นผู้ปกครอง
      ผู้ปกครองตามระดับชั้นได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดิ  ยศถาบรรดาศักดิ์ และมีพิธีแต่งตั้งเข้ารับตำแหน่ง
      ผู้ปกครองจะได้รับบรรณการเป็นสิ่งของ ที่ดิน และกำลังคน   แรงงาน และมีกองทัพเป็นของตน จัดระเบียบบริหารตามเมืองหลวง ผู้ปกครองจะได้รับบรรณการเป็นสิ่งของ ที่ดิน และกำลังคน   แรงงาน และมีกองทัพเป็นของตน จัดระเบียบบริหารตามเมืองหลวง
การทหาร
    กองทัพโจว ใช้กลรถศึกหุ้มเกาะหนัก การรบบนหลังม้าและทหารราบ
    มีการเกณฑ์ชาวนาเป็นทหารราบหรือไพร่ราบ
    อาวุธหลักเป็นธนู หน้าไม้ ดาบเหล็กปลายยาว
   ริ่มมีทหารอาชีพรับจ้าง
     กำลังหลัก คือ ทหารม้าและทหารราบ
    การรบต้องฝึกตามตำราพิชัยยุทธศิลปะ (Ping-fa) ของชุนจื๊อ
 การเสื่อมของระบบศักดินาสวามิภักดิ์ในยุคปลาย
    ในยุคหลังได้เกิดบรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตจำนวนมาก
    บรรดานักปราชญ์เห็นว่าผู้ปกครองไม่ได้ปกครองโดยชอบธรรมจึงมีแนวคิดในการปกครองแบบรวมอำนาจโดยมีผู้ปกครองที่มีคุณธรรม
     เกิดระบบราชาธิปไตย ที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
     มีการแต่งตั้งเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง ทบวง กรม เพื่อบริหารราชสำนัก พิธีกรรม ทรัพยากรในแผ่นดิน เก็บส่วยอากร
    เสนาบดีและผู้ใกล้ชิดเป็นสุภาพชนผู้ทรงความรู้
    การปกครองนครรัฐ ผู้ปกครองจะต้องมาจากการโปรดเกล้าแต่งตั้ง
    ระดับล่างของภูมิภาคคือ ระดับเมือง ตำบล หมู่บ้าน
     การปกครองของส่วนผู้มิภาคเป็นอิสระจากส่วนกลางภายใต้การดูแลของผู้ตรวจการแผ่นดิน
      เสนาบดีและชนชั้นผู้ดีกลายมาเป็นผู้ปกครอง
      ชนชั้นนักรบลดลง เนื่องจากการรบกันเอง เพื่อแย่งชิงอำนาจ
      การเกณฑ์ชาวนามาเป็นทหาร และทหารรับจ้าง นิยมสูงขึ้น
      ทหารแบบใหม่ที่ทำความดีย่อมได้รับยศถาบรรดาศักดิ์เลื่อนชั้นมาเป็นชนชั้นสูงแทนที่นักรบกลุ่มเดิม
       บทบาทนักรบหมดลง ไม่สามารถแข่งขันกับชนชั้นปัญญาชนได้
      ทุกรัฐต่างเสาะแสวงหาคนดีมีฝีมือ มีความรู้ มากกว่านักรบ
      ความเจริญทางเศรษฐกิจทำให้มีการเปิดถือครองที่ดินโดยเสรี ชาวนาไม่ต้องพึ่งพานักรบอีก
      ช่างที่เคยผลิตผลงานเพื่อนักรบหันมาผลิตเพื่อประชาชนมากขึ้นก่อให้เกิดรายได้จนสามารถชื้อที่ดินไว้ครอบครองจำนวนมาก
     พระราชอำนาจถูกถ่ายทอดไปอยู่ในมือชนชั้นผู้ดีมีปัญญา
      นครรัฐเริ่มมีพื้นที่ปกครองกว้างขว้างจากระบบราชการที่เอื้อต่อการขยายอำนาจของนครรัฐ
      นครรัฐเข้มแข็งขึ้นท้าทายอำนาจของราชวงค์
     ปัญหาการถือครองที่ดินเริ่มก่อปัญหาต่อรายได้ของรัฐ
o    ที่ดินของผู้ดีได้รับการยกเว้นภาษีค่านา
o   ที่ดินชนชั้นผู้ดีเพิ่มมากขึ้นจากการซื้อขาย และมอบให้ของชาวนาเพื่อเลี่ยงภาษีจากส่วนกลาง
    ชาวนาที่ครองที่ดินต้องรับภาระหนักจากภาษีที่ดินราชวงค์ต้องเผชิญการท้าทายอำนาจจากผู้ดีที่มีที่ดิน กำลังคนมากขึ้น และการลุกฮือของชาวนาที่ยากลำเค็ญเรื่อยมา
สังคม
    เมืองหลวงมีกำแพงคันดินล้อมรอบยาวประมาณ 3 กิโลเมตร
     ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
     เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น เกิดเมืองใหม่ตามที่ราบแม่น้ำมีวัดเป็นสูนย์กลางการปกครอง มีกำแพงล้อมรอบเพื่อป้องกันพวกเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์
    ในเมืองประกอบด้วยที่อยู่ของชนชั้นสูงที่มีรั่วรอบขอบชิด พื้นที่อาศัยของช่าง พื้นที่การค้า แหล่งบันเทิง ร้านอาหาร โรงแรม หอนางโลม พื้นที่ทำไร่ไถนาอยู่นอกกำแพงเมือง
   ชาวไร่ชาวนาต้องถูกเรียกเกณฑ์ขึ้นป้อม ค่าย ประตูหอ
    โคตรรวงค์ขยายเพิ่มขึ้นเป็น 100 แซ่ แต่ละแซ่ล้วนมีอำนาจปกครอง
    โคตรวงค์หรือแซ่มีกองทัพพร้อมออกศึกเพื่อองค์จักพรรดิ์
สังคมช่วงปลายสมัยโจว
  ชนชั้นสูงประกอบด้วยผู้นำรัฐ เหล่าขุนนางในราชสำนัก เสนาบดี
   ชนชั้นกลางได้แก่บริวาล ผู้ติดตามขุนนาง เช่น นักรบ ทนายหน้าหอ เสมียน อาลักษณ์ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ผู้ทำงานในทำเนียบ
   ชนชั้นต่ำ ประกอบด้วย สามัญชน ชาวไร่ ชาวนา ทาส
   ปัญญาชน ทหาร นักรบ สามารถเลื่อนระดับขึ้นเป็นชนชั้นสูงได้
    พ่อค้าที่มั่งมี มีอำนาจอิทธิพลในสังคม
     ชนชั้นสูงต่างต่อสู้กันทุกรูปแบบเพื่อแข่งขันครอบครองชนชั้นล่าง
     ชนชั้นปกครองที่ครองที่ดินมากขึ้น เป็นการเพิกถอนที่ดินที่ไม่ต้องเสียค่านา
     ชาวนายอมยกที่ดินให้ผู้ปกครองเพื่อเสียค่าเช่าแทนการเสียภาษี
     ชนชั้นสูงได้รับการยกเว้นการเสียภาษี การลงโทษประจาน มีสิทธิ์ผูกขาดในการถือครองทรัพยากรธรราชาติ และมนุษย์ มีสิทธ์ในการตั้งพิธีกรรม เมื่อการค้าขายเจริญขึ้น ชนชั้นสูงก็มั่งคั่งขึ้นตาม
     หัวใจสำคัญของจีนอยู่ที่ชนบท
    บทบาทสำคัญในการปกครองอยู่ที่ชนชั้นสูง
ภูมิปัญญา
  ปรัชญา เกิดจาก
§  ความไม่สงบสุขจากสงคราม การแบ่งฝ่าย
§  พิธีกรรมเซ่นไหว้บวงสรวงไม่ได้ทำให้จีนสงบสุขอย่างแท้จริง
§  ราชวงศ์ไม่สามารถล้มล้างได้ เพราะคตินิยมเทวาราชาธิปไตย
  เกิดแนวคิดของบรรดานักปราชญ์ที่เชื่อว่า มนุษย์คือสัตว์สังคม และสัตว์การเมือง สังคมจะดีหรือเลว ขึ้นอยู่กับมนุษย์ มิใช้ฟ้าดินลิขิต
   เกิดสำนักนักคิดนักปราชญ์นับร้อยแห่ง ที่สำคัญและขึ้อได้แก่
- ขงจื๊อ      - หยิน หยาง (ลัทธินิยมธรรมชาติ)   -เล๋าจื๊อ (เต๋า)      - ม่อจื๊อ (โม่จื๊อ)      - เม่งจื๊อ         - ชุนจื๊อ 
     - เฟยจื๊อ(ฝาเจี่ย-นิตินิยม)
อักษรศาสตร์
-    ในสมัยโจวตอนปลายเกิดวัฒนธรรมต้นแบบชั้นครู (ยุคคลาสสิค)
-   เกิดวรรณกรรมตำราจีนคลาสสิค 3 ประเภท คือ
- ตำรา 5 เล่ม (กวีนิพนธ์, ประวัติศาสตร์, โหราศาสตร์, พิธีกรรม,ประวัติศาสตร์ยุคชุนชิว)
- ตำรา 13 เล่ม (ตำรา 5 เล่ม, ประเพณีกุงหยาง, ประเพณีกูเหลี่ยง, ประเพณีของโจว, พิธีกรรมของ
   ราชวงค์โจว, บทสนทนา, ตำราเม่งจื๊อ, ความกตัญญูกตเวทิตา, ประชุมอธิฐานศัพย์วรรณกรรม )
- ตำรา 4 เล่ม เป็นตำราเรียนของขงจื๊อ (บทสนทนา 2 เล่ม, ตำรามหาวิทยาการ, ตำราว่าด้วยกรรมวิธี )
 ศิลปกรรม
-    เริ่มมีการใช้กระเบื้องมุงหลังคา
-   ใช้อิฐเผ่าไฟเป็นวัสดุก่อสร้าง
-   ใช้หินทำเป็นเสา ฐานเสา ทางระบายน้ำ
-   สร้างบ้านโดยยกพื้นดินอัดแน่น
-   เครื่องทองสัมฤทธิ์นิยมใช้ในราชสำนัก ชนชั้นสูง พิธีกรรม
-  ริเริ่มทำเครื่องเขิน
-    นิยมใช้ตะเกียบในการบริโภคอาหาร
-   รู้จักปรุงอาหาร

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อารยธรรมจีนยุคประวัติศาสตร์: ราชวงศ์ซาง

สมัยประวัติศาสตร์ของจีน

สมัยประวัติศาสตร์ของจีนแบ่งได้ 4 ยุค คือ

  1. ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชาง สิ้นสุดสมัยราชวงศ์โจว
  2. ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น จนถึงปลายราชวงศ์ชิงหรือเช็ง
  3. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มปลายราชวงศ์เช็งจนถึงการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม
  4. ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์จนถึงปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ : ราชวงศ์ชาง

 ราชวงศ์ซาง( Shang dynasty) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์เซี่ย ปกครองดินแดนแถบแม่น้ำเหลืองเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาล บางครั้งเรียกว่า "ราชวงศ์ยิน (Yin dynasty) ราชวงศ์นี้เป็นยุคแห่งไสยศาสตร์โดยแท้ นิยมการเสี่ยงทายด้วยกระดองเต่ากันมาก จากหลักฐานที่ขุดได้ พบเป็นแผ่นจารึกตัวอักษรโบราณ และเศษกระดองเต่า มีรอยแตกอยู่ทั่วไป แสดงถึงความเชื่อในอำนาจแห่งสวรรค์ ถือว่าทุกสิ่ง สวรรค์เป็นผู้กำหนด ราชวงศ์ซางมีกษัตริย์ 30 องค์

 

สมัยราชวงศ์ชาง เป็นราชวงศ์โบราณที่สุดของจีนที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ วงการประวัติศาสตร์ของจีนมักจะเห็นว่าราชวงศ์เซี่ยเป็นราชวงศ์ที่โบราณที่สุดของจีนแต่ข้อมูลเกี่ยวกับราชวงศ์เซี่ยส่วนใหญ่เป็นบันทึกในหนังสือยุคหลังทั้งสิ้นจนถึงปัจจุบันก็ยังค้นไม่พบพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือทางโบราณคดี ส่วนราชวงศ์แรกที่มีพยานหลักฐานที่เชื่อถือได้ และได้จากการค้นพบทางโบราณคดีของจีน คือ ราชวงศ์ชาง

 ราชวงศ์ชาง สถาปนาขึ้นประมาณศตวรรษที่ 16 ก่อนคริสต์ศักราช สิ้นสุดลงเมื่อศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสต์ศักราช กินเวลาประมาณ 600 ปี ช่วงแรกราชวงศ์ชางเคยย้ายเมืองหลวงหลายครั้ง ในที่สุดได้ตั้งเมืองหลวงขึ้นที่กรุงยิน (บริเวณเมืองอันหยางของมณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) พยานหลักฐานทางโบราณคดีพิสูจน์ได้ว่า ในช่วงราชวงศ์ชาง อารยธรรมจีนได้พัฒนาไปถึงระดับสูงพอสมควร สัญลักษณ์ที่สำคัญ คือ ตัวอักษรโบราณที่สลักไว้บนกระดองเต่าหรือกระดูกสัตว์ และวัฒนธรรมทองสัมฤทธิ์

อักษรจารึกบนกระดองเต่า


 การขุดค้นทางโบราณคดีและการวิจัยทางศึกษาวิชาการพิสูจน์ว่า ในสมัยราชวงศ์ซาง มีชุมชนเกิดขึ้นแล้ว ระบอบกรรมสิทธิ์ก็ได้กำหนดขึ้น ตั้งแต่สมัยนี้เป็นต้นมา จีนก็ได้พัฒนาเข้าสู่สมัยอารยธรรม

 ราชวงศ์ชางปกครองชนเผ่าต่างๆ ในเขตสองฝั่งลุ่มแม่น้ำหวงเหอ แต่อำนาจมีอยู่อย่างแท้จริงเฉพาะบริเวณรอบๆ เมื่องหลวงเท่านั้น กษัตริย์ราชวงศ์ชางยังต้องทำสงครามกับชนเผ่าต่างๆ อยู่ จึงต้องสะสมกำลังทหารให้เข้มแข็ง และสร้างระบบความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนามาสนับสนุนความชอบธรรมในการใช้อำนาจปกครอง

 สังคมในสมัยราชวงศ์ชางมีการแบ่งชนชั้นโดยใช้ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนด ชาวชางนับถือเทพเจ้าในธรรมชาติ บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ และเทพเจ้าแห่งสงคราม ปลายสมัยราชวงศ์ชาง ชนเผ่าที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของมณฑลฉ่านซี มีอำนาจมากขึ้น และยกทัพเข้ามาโค่นล้มอำนาจของราชวงศ์ชางพร้อมกับสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น

อารยธรรมในสมัยราชวงศ์ซาง

  1. มีการปกครองแบบนครรัฐ
  2. มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นครั้งแรก พบจารึกบนกระดองเต่า และกระดูกวัว เรื่องที่จารึกส่วนใหญ่เป็นการทำนายโชคชะตาจึงเรียกว่า “กระดูกเสี่ยงทาย”
  3. มีความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ

อักษรบนกระดูกสัตว์



สิ่งของเครื่องใช้ในสมัยราชวงศ์ซางที่ขุดค้นพบ

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ราชวงศ์เซี่ย


ราชวงศ์เซี่ย เป็นราชวงศ์แรกของจีน ปกครองประเทศจีนในช่วง 2100-1600 ปีก่อนคริสตกาล มีอายุอยู่ได้ราว 500 ปี ในอดีตนักวิชาการและบุคคลโดยทั่วไปเชื่อว่าเรื่องราวของราชวงศ์เซี่ยเป็นเพียงเรื่องแต่งหรือปรัมปราที่เล่าสืบต่อกันมา แต่ปัจจุบันมีการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เชื่อถือได้ ในปี ค.ศ. 1959 ได้เริ่มมีการค้นหาแหล่งที่มาของวัฒนธรรมเซี่ย โดยช่วงเวลาที่ผ่านมาได้เริ่มดำเนินการขุดค้นและตรวจสอบทางโบราณคดีรูปแบบต่างๆ ในพื้นที่แถบตะวันตกของเหอหนานและทิศใต้ของมณฑลซานซี เพื่อลดขอบเขตพื้นที่เป้าหมายในการค้นหาให้แคบเข้า ปัจจุบัน มีนักวิชาการจำนวนมากเห็นว่า วัฒนธรรมเอ้อหลี่โถว จากหลุมขุดค้นเหยี่ยนซือเอ้อหลี่โถวและวัฒนธรรมหลงซานในเขตตะวันตกของมณฑลเหอหนานนั้น น่าจะเป็นวัฒนธรรมในสมัยเซี่ย แต่เนื่องจากยังขาดหลักฐานทางตรงและหลักฐานที่เป็นตัวอักษร ดังนั้นปัจจุบันนี้ จึงยังคงไม่อาจระบุชัดว่าสิ่งที่ขุดค้นได้มาเป็นส่วนหนึ่งของ วัฒนธรรมเซี่ย หรือไม่ อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่พบในวัฒนธรรมหลงซานและวัฒนธรรมเอ้อหลี่โถว ก็ทำให้มีข้อมูลมากพอที่จะช่วยเสริมความรู้ที่ขาดหายไปในช่วงเวลานี้เป็นอย่างดี


จากบันทึกของซือหม่าเซียน ทำให้นักประวัติศาสตร์จีนมักเริ่มนับราชวงศ์เซี่ยโดยเริ่มจากเซี่ยหวี่หรือพระเจ้ายู้ ถึงลวี่กุ่ยหรือเซี่ยเจี๋ยในระยะเวลา 400 กว่าปี มีกษัตริย์ครองบัลลังก์ 17 พระองค์ มีการสืบทอดอำนาจถึง 14 ชั่วคน

การก่อตั้งราชวงศ์เซี่ยซึ่งมีรากฐานของอำนาจจากการยึดครองทรัพย์สินเป็นของส่วนตัวเป็นสัญญาณว่าสังคมยุคดึกดำบรรพ์ที่ทรัพย์สินเป็นของสาธารณะอันยาวนาน กำลังถูกแทนที่ด้วยสังคมแบบยึดครองทรัพย์สินส่วนตัว และนี่ก็เป็นวิวัฒนาการในประวัติศาสตร์ช่วงเวลาหนึ่ง ทว่า โดยปกติการก่อเกิดของระบบใหม่ มักต้องเผชิญกับแรงต้านจากฝ่ายอนุรักษ์ เมื่อเซี่ยฉี่ บุตรของเซี่ยหวี่เข้ารับสืบทอดตำแหน่งของบิดา ก็ได้เชิญบรรดาหัวหน้าชนเผ่าจากดินแดนต่างๆ มาร่วมในงานเลี้ยง เพื่อรับรองการขึ้นสู่ตำแหน่งใหม่ของตน

กลุ่มฮู่ซื่อ ไม่พอใจเซี่ยฉี่ ที่ยกเลิกระบบการคัดสรรผู้มีความสามารถเพื่อดำรงตำแหน่งผู้นำที่มีอยู่เดิม จึงไม่ได้เข้าร่วมในงานเลี้ยงนั้น เซี่ยฉี่จึงยกกองทัพออกไปปราบฮู่ซื่อ โดยทำศึกกันที่กาน ฮู่ซื่อพ่ายแพ้ถูกลบชื่อออกไป ชัยชนะจากการรบครั้งนี้ ทำให้ก้าวแรกของระบบอำนาจใหม่นี้แข็งแรงขึ้น

ระบบการปกครองแบบใหม่นี้ค่อยๆ พัฒนาขึ้น ขณะที่ผู้ปกครองคนใหม่ ต้องเผชิญปัญหาการขาประสบการณ์ในการปกครอง รากฐานของอำนาจที่มาจากการยึดครองทรัพย์สินเป็นของส่วนตัว ในช่วงระยะของการฟูมฟักของการก้าวขึ้นสู่อำนาจที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ สภาพการขูดรีด แย่งชิง และความกระหายในการเสพสุขของผู้ปกครองก็ยังเป็นไปอย่างรุนแรง และย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงจากการแย่งชิงผลประโยชน์และอำนาจในกลุ่มผู้ปกครองด้วยกันเองได้

ดังนั้น เมื่อเซี่ยฉี่ตายลง บุตรชายของเขาทั้งห้าคนก็แย่งชิงอำนาจกัน ผลคือเมื่อไท่คัง ได้ขึ้นครองบัลลังก์ต่อจากฉี่ (ครองราชย์ 29 ปี) ก็ไม่สนใจดูแลกิจการงานเมือง เฝ้าหมกมุ่นอยู่กับสุรานารี ต่อมาจึงถูกอี้ ซึ่งเป็นผู้นำของรัฐฉง สบโอกาสเข้าแย่งชิงอำนาจ ภายหลังเมื่ออี้ถูกขุนนางของเขาที่ชื่อหานจั๋ว สังหารแล้ว เส้าคัง (ครองราชย์ 21 ปี) บุตรชายของไท่คังซึ่งหลบหนีไปรัฐโหย่วหวี ได้รับความช่วยเหลือจากโหย่วหวี รวบรวมขุมกำลังเก่าของเซี่ยขึ้นใหม่ แล้วอาศัยช่วงเวลาที่ภายในของกลุ่มหานจั๋วเกิดความวุ่นวาย เข้าช่วงชิงอำนาจเพื่อกอบกู้ราชวงศ์เซี่ยกลับคืนมา นี่คือเหตุการณ์ที่เป็นหลักหมายทางประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์เซี่ย ที่เรียกขานกันต่อมาว่า "ไท่คังเสียเมือง " "อี้ยึดครองเซี่ย" และ "เส้าคังฟื้นฟูเซี่ย"

เมื่อถึงปลายราชวงศ์ ศูนย์อำนาจภายในเกิดความวุ่นวายทั้งภายในและภายนอกไม่หยุดยั้ง ข้อขัดแย้งทางชนชั้นทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อเซี่ยเจี๋ย ได้ขึ้นครองบัลลังก์ (ช่วงก่อนคริสต์ศักราช 1,763 ปี ครองราชย์ 52 ปี) ก็ไม่คิดจะปฏิรูปแก้ไขสิ่งใด ยังคงเห่อเหิมฟุ้งเฟ้อในอำนาจ โดยสั่งให้ก่อสร้างตำหนักพระราชวัง ใช้จ่ายเงินทองฟุ่มเฟือยมากมาย มัวเมาอยู่กับสุรานารี โดยไม่สนใจใยดีต่อความทุกข์ยากของเหล่าประชาราษฎร์พากันก่นด่าประณาม เหล่าขุนนางที่จงรักภักดี กลับถูกสั่งคุมขังหรือประหารชีวิต บรรดาเจ้านายชั้นสูงต่างก็พากันเอาใจออกห่าง เซี่ยเจี๋ยจึงตกอยู่ในฐานะโดดเดี่ยว ซางทัง ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ต่อมาคือราชวงศ์ซาง เห็นเป็นโอกาสเหมาะ จึงใช้ข้ออ้างว่า "ฟ้ากำหนด" กล่าวหาว่าเซี่ยทำผิดต่อฟ้า จึงต้องถูกลงทัณฑ์ โดยขอให้ทุกคนรวมพลังกันเข้าโจมตี เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์แห่งฟ้า การศึกระหว่างซางทังและเซี่ยเจี๋ยที่หมิงเถียว ซางทังชนะ เจี๋ยหลบหนีไป และเสียชีวิตที่หนานเฉา ราชวงศ์เซี่ยจึงถึงกาลอวสาน

ในปี 1959 ได้เริ่มทำการค้นหาแหล่งที่มาของวัฒนธรรมเซี่ย โดย 40 กว่าปีที่ผ่านมาได้เริ่มดำเนินการขุดค้นและตรวจสอบทางโบราณคดีรูปแบบต่าง ๆในพื้นที่แถบตะวันตกของเหอหนันและทิศใต้ของซานซี เพื่อลดขอบเขตพื้นที่เป้าหมายในการค้นหาให้แคบเข้า ปัจจุบัน มีนักวิชาการจำนวนมากเห็นว่า วัฒนธรรมเอ้อหลี่โถว หลุมขุดค้นเหยี่ยนซือเอ้อหลี่โถวและวัฒนธรรมหลงซานในเขตตะวันตกของเหอหนันนั้น น่าจะเป็นวัฒนธรรมในสมัยเซี่ย แต่เนื่องจากยังขาดหลักฐานทางตรงและหลักฐานที่เป็นตัวอักษร ดังนั้นปัจจุบันนี้ จึงยังคงไม่อาจระบุชัดว่าสิ่งที่ขุดค้นได้มาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเซี่ยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่พบในวัฒนธรรมหลงซานและวัฒนธรรมเอ้อหลี่โถว ก็ทำให้มีข้อมูลมากพอที่จะช่วยเสริมความรู้ที่ขาดหายไปในช่วงเวลานี้เป็นอย่างดี

หลักฐานทางอารยธรรมของราชวงศ์เซี่ย


วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อารยธรรมจีนสมัยเริ่มแรก

กำเนิดอารยธรรมจีน


ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง


ความเชื่อเกี่ยวกับการกำเนิดของจีน มีความเชื่อกันอยู่ 3 ทฤษฎี คือ


  1. ทฤษฎีตำนาน กล่าวว่าจีนมีกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อโลกแตกออกมาจากสวรรค์และได้มีพระเจ้าหลายองค์ได้มาช่วยกันสร้างสิ่งต่างให้เกิดขึ้น เช่น สร้างไฟ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย เครื่องมือ มนุษย์ สัตว์ต่างๆ จากนั้นสิ่งต่างๆ ก็มีมากขึ้นจนมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นชุมชนและขยายขึ้นเรื่อยๆ และในที่สุดเมื่อประมาณ 2,205 ปีก่อนคริสตกาล ก็มีผู้นำชุมชนคนหนึ่งนามว่า “หวงตี้” สามารถตั้งตนเป็นใหญ่ได้ และก่อตั้งราชวงศ์ขึ้นปกครองจีนได้สำเร็จ
  2. ทฤษฎีมนุษย์ปักกิ่ง เป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นตามข้อมูลทางวิชาการจากการขุดค้นพบทางโบราณคดีทางตอนใต้ของปักกิ่งในปี ค.ศ. 1927 ซึ่งต่อมารู้จักกันในนาม “มนุษย์ปักกิ่ง” ดังนั้นจึงมีแนวคิดเชื่อกันว่าจีนถือกำเนิดมาแล้วตั้งแต่เมื่อประมาณ 350,000 – 400,000 ปี ความเจริญที่พบในสมัยนี้ได้แก่ การรู้จักนำเอาหินมาดัดแปลงเป็นเครื่องมือสำหรับการล่าสัตว์และป้องกันตัว รู้จักใช้ไฟเพื่อการดำเนินชีวิต
  3. ทฤษฎีสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา โดยอาศัยเหตุผลทางด้านสังคมวิทยาและมนุษยวิทยาตั้งทฤษฎีขึ้นมาว่า จีนมีกำเนิดในยุคหินใหม่ หรือเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีศูนย์กลางอยู่ตามลุ่มแม่น้ำเหลือง ซางความเชื่อดังกล่าวสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดี คือ เครื่องปั้นดินเผาและหลักฐานอื่นๆ อีกหลากหลายชนิด โดยมีการแบ่งเป็นยุคต่างๆ ดังนี้

  1. ยุควัฒนธรรมลีและวัฒนธรรมเสียน เป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผารุ่นแรกที่พบบนแผ่นดินจีน แหล่งที่พบอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ มีอายุประมาณ 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล ลักษณะเด่น เป็นเครื่องปั้นดินเผารูปทรงภาชนะหุงต้มมี 3 ขา ส่วนวัฒนธรรมเสียนมีความแตกต่างคือ จะมีอุปกรณ์คล้ายกระชอนเพิ่มเติมเข้ามา จึงสันนิษฐานว่า วัฒนธรรมลีเป็นสังคมวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาสำหรับหุงต้ม ส่วนวัฒนธรรมเสียนเป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาในการนึ่ง
  2. ยุควัฒนธรรมเหยา ชุน และหยู่ อายุประมาณ 3,000 – 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ศูนย์กลางอยู่ในมณฑลสั่นซี ส่วนใหญ่มีความเจริญในเรื่องการปกครอง โดยเฉพาะความเป็นประชาธิปไตยของผู้ปกครอง ความกตัญญูกตเวที ความเสียสละ และคุณธรรม นอกจากนี้ยังมีความเจริญในด้านดาราศาสตร์ การประดิษฐ์ปฏิทิน และความเชื่อเกี่ยวกับสวรรค์
  3. ยุควัฒนธรรมหยางเชาและวัฒนธรรมหลงชาน เป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาทาสี และไม่ทาสี อายุประมาณ 2,000 – 1,000 ปี ก่อนคริสตกาล วัฒนธรรมยังเซาพบในมณฑลเหอหนัน ลักษณะเด่นเป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาแต้มสี โดยมีทั้ง สีแดง สีขาว สีดำ และสีน้ำตาล และยังพบการวาดรูปสัตว์ สิ่งต่างๆที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน เช่นการล่าสัตว์ เป็นต้น ส่วนวัฒนธรรมหลุงชานพบที่มณฑลซันตุง เป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาที่ไม่มีการทาสี ไม่มีการวาดรูปใดๆ ลักษณะมีความบอบบางแตกหักง่าย ไม่ทนทาน

วัฒนธรรมหยางเชา ( Yang Shao Culture ) เป็นวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโห พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาเป็นลายเขียนสี มักเป็นลายเรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และพบใบหน้ามนุษย์ สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์ลายหรือขูดสลักลายเป็นรูปลายจักสาน ลายเชือกทาบ


วัฒนธรรมหลงซาน ( Lung Shan Culture ) เป็นวัฒนธรรมลุ่มน้ำแยงซี ( Yangtze ) บริเวณมณฑลชานตุง พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผามีเนื้อละเอียดสีดำขัดมันเงา คุณภาพดีเนื้อบางและแกร่ง เป็นภาชนะ 3 ขา


นอกจากนี้ยังพบว่า ในช่วงเวลาประมาณ 2,000- 1,000 ปี จีนเป็นสังคมที่พัฒนาแล้ว เป็นสังคมเกษตรกรรม มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู หมา แกะ วัว ควาย ม้า ลิง รู้จักการขุดบ่อ ขุกสระน้ำ เก็บกักน้ำไว้ใช้ในยามขาดแคลน มีลักษณะของชุมชนที่มีระบบรักษาความปลอดภัย มีการสร้างกำแพงล้อมรอบ โดยใช้ดินสร้างเป็นกำแพงผสมเศษหญ้า และเชื่อในเรื่องโชคชะตา


หลักฐานความเจริญในสมัยเริ่มแรก