จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ราชวงศ์สุ่ย

ราชวงศ์สุ่ย
แผนที่ราชวงศ์สุย

เป็นราชวงศ์ที่ทรงอำนาจทางการทหารแต่มีระยะเวลาการปกครองที่ค่อนข้างสั้น สถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 581 ภายหลังจากยุคสามก๊ก โดยจักรพรรดิสุยเหวินตี้(หยางเจียน) อดีตแม่ทัพแห่งราชวงศ์โจวเหนือ โดยในรัชกาลของพระองค์ทรงสามารถรวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง แต่ราชวงศ์สุยมีอันต้องล่มสลายลงในปี ค.ศ. 617 ในรัชกาลจักรพรรดิสุยหยางตี้(หยางกว่าง)

การสถาปนาและสร้างจักรวรรดิ
  • เมื่อสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น จีนได้แตกแยกยาวนานกว่า 400 ปี
  • ภาคเหนือและภาคใต้มีราชวงศ์หลายราชวงศ์ปกครอง
  • ตระกูลชั้นสูงทรงอำนาจมาก
  • ในปี ค.ศ. 589 ราชวงศ์สุยสามารถรวบรวมจักรวรรดิจีนได้ โดยมีฉางอันเป็นเหมืองหลวง
  • สมัยสุยเตอร์กแตกออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่
    o เตอร์กตะวัน ครอบคลุม ภาคเหนือ แมนจูเลียถึงมณฑลกานสู
    o เตอร์กตะวันตก ครอบคลุมแอ่งทามรีม ถึงเอเชียกลาง
  • มีการจัดตั้งนิคมทหารประจำถิ่นตามจุดยุทธศาสตร์
  • ทหารเป็นสามัญชนชาวนา และต้องยังชีพตนเองด้วยการทำนา
  • มีการจัดเวรปฏิบัติหน้าที่ประจำปี
  • การจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพสามารถบำรุงการทหารให้เข็มแข็งได้
  • จัดระบบปกครองตามคติขงจื้อ
  • แผ่ขยายครอบคลุมเอเชียกลาง อาณาจักรของพวกเตอร์ก เวียดนามเหนือ จามใต้
  • ส่งคณะทูตไปปาเล็มบัง

เศรษฐกิจ
  • ปัญหา-สืบเนื่องจากราชวงศ์ฮั่น
    o ปัญหาที่ดิน แรงงาน ภาษี
    o ชาวนาตกเป็นทาสติดที่ดินของตระกูลชั้นสูง
    o ชาวนาอยู่ในความครอบครองของตระกูลยิ่งใหญ่
    o การบุกเบิกที่ดินทำกินเพิ่มเติมในหุบเขาแยงชี

การจัดการทรัพยากรในแผ่นดิน
  • จัดสรรทรัพยากรที่ดินให้เท่าเทียมกัน
  • จัดทำสำมโนครัวใหม่
  • สำรวจประชากรและที่ดิน
  • เรียกเกณฑ์แรงงานและแรงงานทหาร

หลักการจัดสรรที่ดิน
  • ชายฉกรรจ์ที่จะต้องเสียภาษีแก่รัฐจะได้รับที่ดินจนอายุ 60 ปี
  • ที่ดินที่ปลูกม่อน ปลูกพืชเพื่อการค้า อนุญาตให้ถือถึงลูกหลานได้
  • พระบรมวงศ์ศานุวงศ์ ข้าราชวการ หน่วยงานราชการ พุทธจักร ครอบครองที่ดินได้
  • ประเภทของที่ดิน
    o ที่ดินที่ให้ข้าราชการหรือราษฎรเป็นผู้ทำประโยชน์แก่รัฐ ถือเป็น “นาหลวง”
    o ที่ดินที่ให้ตระกูลชั้นสูงตามตำแหน่งยศถาบรรดาศักดิ์ ไม่ให้ถือครองเกิน 1,370 โหมว
    o ที่ดินที่ให้ราชการไม่เรียกคืน
    o มีการจัดทำทะเบียนที่ดินและสำรวจสำมะโนอย่างสม่ำเสมอ

การคมนาคม

ในปี ค.ศ. 611 มีการขุดครองหลวง เป็นระบบครองที่มีเครือข่ายเพื่อเชื่อมต่อกันทั้งจักรวรรดิจากภาคใต้ถึงภาคเหนือ เมืองโลหยางถึงเมืองฉางอัน ตามเส้นทางที่มีการตั้งยุ้งฉางหลวงเพื่อเก็บและจำหน่ายจ่ายแจก

การค้าขาย
  • มีการผลิตสินค้าและบริการตามความชำนาญ
  • การประกอบการ การผลิต การค้าขายของเอกชนเติบโต
  • เกิดตลาดการเงิน ใช้เงินตราเป็นเครื่องแลกเปลี่ยน
  • ตลาดการค้ามีลูกค้าจำกัดอยู่เฉพาะตระกูลชั้นสูง ข้าราชการ ราชสำนัก พระราชวงศ์
  • สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย
  • สินค้าและบริการราคาสูงเกินวิสัยที่ชาวนาจะซื้อได้
  • ราชวงศ์และรัฐต่างรังเกียจอาชีพค้าขาย จึงไม่สนับสนุนให้การค้าเจริญ
  • พ่อค้าที่มั่งคั่งไม่ค่อยพอใจในอาชีพของตน แต่พอใจที่จะใช้เงินตราไปซื้อที่ดินเพื่อการลงทุนเพื่อสร้างตนเองเป็นชนชั้นเจ้าของที่ดิน

การปกครอง
  • ใช้การปกครองแบบรวมอำนาจทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
  • ยึดถือลัทธิขงจื๊อเป็นหลักการปกครอง
  • จัดตั้งกระทรวงขึ้น 6 กระทรวง ได้แก่
    1. กระทรวงบริหารบุคลากร   2. กระทรวงการคลัง   3. กระทรวงยุทธนาธิการ
    4. กระทรวงพระราชพิธี   5. กระทรวงยุติธรรม  6. กระทรวงโยธาธิการ
  • นอกจากกระทรวงยังมีการจัดตั้งหน่วยงานประเภทคณะอีก ได้แก่
    1. คณะกรรมการบริหาร
    2. คณะกรรมการศาล
    3. คณะอำนวยการ
    4. คณะที่ปรึกษาส่วนพระองค์
    5. หน่วยตรวจราชการและข้าราชการ
  • ใช้กฎหมายที่มีบทบัญญัติ 500 มาตรา
  • ในส่วนภูมิภาคยุบเลิกระบบแบ่งพื้นที่การปกครองเป็นพื้นที่บัญชาการทหาร
  • จัดแบ่งจักรวรรดิเป็นจังหวัด อำเภอ
  • ข้าราชการส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด-อำเภอมิให้มาจากชนชั้นสูงในท้องถิ่น ส่วนกลางเป็นผู้แต่งตั้ง
  • ข้าราชการใช้ระบบสอบไล่คัดเลือก

ภูมิปัญญา

ในสมัยสุยปัญญาชนหันมาศึกษานิการต่างๆ ดังนี้

  • 1) เต๋า- แสวหาความวิเวก, เชื่อในภพหน้า, กฎแห่งกรรม, ผสมผสานระหว่างเทพยดา-ฟ้าดิน-ไสยศาสตร์, สนใจการเล่นแร่แปรธาตุ, สรีรศาสตร์
  • 2) ศาสนาพุทธ
      - ขยายมาจากดินแดนโอเอชิสในเอเชียกลาง
      - ลัทธิที่เข้ามาเป็นนิกายมหายาน ผ่านช่องแคบทารีมมาตามเส้นทางสายไหม เอเชียกลาง ทิเบต และมองโกเลีย อีกเส้นทางมาทางทะเลจีนใต้โดยพวกพ่อค้าและคณะสงฆ์
      - ศูนย์กลางพระพุทธศาสนา คือเมืองโลหยาง
      - การนับถือพระพุทธศาสนาของจีนยึดติดกับการบูชาพระพุทธรูป การผลิตยาอายุวัฒน
      - การฝึกให้อายุยืนยาว การเหาะเหินเดินอากาศ การแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
      - ศาสนาพุทธมีลักษณะท้าทายอารยธรรมจีนจากคติไตรลักษณ์ อริยสัจ 4 การนิพพาน
      - ในศตวรรษที่ 1 -2 เกิดการแบ่งแยกนิกายเป็น 2 นิกาย คือ
        1) นิกายเถรวาทหรือหีนยาน ความหลุดพ้นมีทางเดียว คือหนทางแห่งการไปสู่นิพพาน
        2) นิกายอาจาริยวาทหรือมหายาน
          o นับถือพระโพธิสัตว์จะคอยช่วยเหลือมนุษย์ให้หลุดพ้นบรรลุมรรคผล
          o พระโพธิสัตว์ คือผู้เสด็จมาโปรดสัตว์
          o อ้างพระพุทธวัจนะ (เราจะเป็นผู้ช่วยเหลือสัตว์ทั้งปวง)
          o ชาวพุทธที่ดีคือผู้ที่จะเป็นพระโพธิสัตว์
          o พระโพธิสัตว์ที่ทรงมีบทบาทมากได้แก่ พระอมิตภะ พระโคดม พระอวโลกิเตศวร พระอวโลกิเตศวร
          o นิกายมหายานเชื่อว่า เมื่อสิ้นศาสนาพระโคดมแล้ว ในคราวที่มนุษย์มีอายุยืน 80,0000 ปีข้างหน้า ย่อมมีพระพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้น ทรงมีพระนามว่า “พระศรีอริยเมตไตรย”

วาระสุดท้ายราชวงศ์สุย
  • สังคมจีนถือหลักการสืบต่อทรัพย์มรดกแบบแบ่งเท่ากัน ผู้ถือครองจะมีที่ดินถือครองเล็กลง
  • ความยากจนบีบบังคับให้คนยากจนต้องสละที่ดิน
  • ตระกูลชั้นสูงกลับมีที่ดินมากขึ้น ชำระภาษีน้อย
  • การจัดเก็บภาษีมีความสลับชับซ้อนมากเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ทุจริตง่าย
  • การแบ่งที่ดินไม่ทั่วถึงทั้งแผ่นดิน เกิดความล้มเหลวในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน
  • ถูกท้าทายจากอำนาจชนชั้นสูงและพุทธจักร
  • ราชวงศ์เรียกเกณฑ์แรงงานมาก เกิดความไม่พอใจในกลุ่มแรงงานจนทวีความรุนแรงขึ้น จนชาวนาลุกฮือขึ้น ก่อกบฏ ชนชั้นสูงจึงถือโอกาสแข็งเมืองตั้งตนเป็นอิสระ เตอร์กก็เข้าบุก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น