จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปราชวงค์โจว

ราชวงค์โจว : ต้นแบบอารยธรรมจีน

การสถาปนา

  • สถานาขึ้นโดย "โจวอู่หวัง"
  • แบ่งออกเป็น 2 ยุคสมัย
    • โจวตะวันตก  ประมาณ 1100 ปีก่อน BC. เมืองหลวงอยู่ที่ "ฉางอัน"
    • โจวตะวันตก ประมาณ  770-256 BC. เมืองหลวงย้ายมาอยู่ที่ "ลัวหยาง"
  • ปกครองยาวนานประมาณ 800 ปี
  • สามารถเอาชนะราชวงศ์ชางได้โดกลศึกรถม้าหุ้มเกาะ
  • ริเริมประเพณีเรียนชื่อราชวงศ์ตามแหล่งอำนาจ โดยเรียกดินแดนตนว่า "จงหยวน (Zong Yuan)"
  • เน้นการบริหารราชการแผ่นดินโดยรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ขุนนางแต่งตั้งโดยตรงจากจักรพรรดิเท่านั้น

ความก้าวหน้าทางวิทยาการ
-    เกิดนวัตกรรมการถลุงแร่เหล็ก โดยใช้วิทยาการเตาเผา ความร้อนสูง
-      เตาเผาถลุงเหล็กเป็นเตาเผาแบบพ่นลม
-      เครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธผลิตจากเหล็ก
-      มีการใช้ทองสัมฤทธิ์ในการผลิตเครื่องใช้ในราชสำนัก ชนชั้นสูง และพิธีกรรม เป็นเครื่องกำหนดสถานะผู้คน
-       การเพาะปลูกได้ผลผลิตมาก จากการใช้เหล็กทำเครื่องมือ
-       การค้าขายสินค้าจากเหล็กมีแพร่หลายจำนวนมาก
-       เครื่องมือเครื่องใช้จากเหล็กกล้ายเป็นเครื่องมือผ่อนแรง การขยายพื้นที่การเกษตร การก่อสร้าง การขุดคู คลอง แม่น้ำ
-         มีการใช้รถม้าเป็นพาหนะ ทำให้การคมนาคมสะดวกขึ้น

เศรษฐกิจ
      ที่ดิน
     มีการทำสำมโนครัวเรือนและที่ดิน เพื่อประโยชน์ในการเก็บภาษี
      สมัยตอนต้นใช้ระบบศักดินา โดยขุนนางจะได้รับที่ดิน แรงงาน สัตว์เลี้ยง และเครื่องมือ
      แรงงานสามารถชื้อ-ขายได้
      ขุนนางใช้ระบบจัดสรรที่ดินให้แก่ชาวนา ดังนี้
o   ชาวนา 8 ครัวเรือน เข้าทำกินครัวเรือนละ 1 ส่วน
o   ชาวนาทั้ง 8 ส่วน ต้องทำนาให้เจ้าของที่ดิน 1 ส่วน
   ในตอนปลาย ระบบจัดสรรที่ดินเสื่อมไป เปลี่ยนเป็นระบบจับจองที่ดิน โดยให้ชาวนาเสียภาษีตามจำนวนที่จับจอง (ค่านา)
    ต่อมาเมื่อรัฐขยายขึ้นที่ดินถูกจัดสรรแก่ชาวนา สามารถมีกรรมสิทธ์ซื้อ-ขายได้ ไม่มีภาระผูกพันกับขุนนาง
    ชาวนามีหน้าที่เสียภาษีค่านาให้แก่รัฐ
 การเพาะปลูก
   การเกษตรมีความก้าวหน้า เพราะเครื่องมือทำจากเหล็ก เช่นคันไถ
•    การเพาะปลูกขยายพื้นที่ได้มากขึ้น
    มีการขุดคลองเพื่อส่งน้ำ และการขนส่งผลผลิต
     ในตอนปลายชาวนาสามารถบุกเบิกที่ดินทำกินได้อย่างเสรี
      กลุ่มพืชที่เพราะปลูกได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ถั่วเหลือง ธัญพืช
      มีวิธีการอนุรักษ์ที่ดินโดย ใช้ปุ๋ยมนุษย์ การไถหว่าน ปลูกเรียงแถว การปลูกพืชหมุนเวียน มีระบบระบายน้ำที่ดี
      มีการจัดระบบชลประทานโดยเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเป็นผู้ดูแล
การค้าขาย
    สินค้ามีจำนวนมากขึ้นเนื่องจากวิทยาการ การถลุงแร่โลหะเหล็ก
      เมืองหลวงเป็นศูนย์กลางการค้าการค้ามีความซับซ้อน มีการเรียกเก็บส่วยและอากร
      ตอนต้นใช้เบี้ยหอยในการแลกเปลี่ยน
     ในตอนปลายเปลี่ยนมาเป็นใช้เหรียญกษาปณ์ทองแดง (copper)
     การใช้เงินตรานับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการตลาดอย่างแท้จริง
      สินค้าที่ทำรายได้งดงามกล้ายเป็นสินค้าต้องห้าม เช่น เหล็ก เกลือ
การเมืองการปกครอง
    ผู้นำตั้งตนเป็นราชา(wang)บนทฤษฎีคติเดิมของราชวงค์ชาง
      ยึดถือทฤษฎีอ้างถึงเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่
                         - ราชวงค์ชาง คือ พระเจ้าตี้ (TI)
                         -    ราชวงค์โจว คือ พระเทพสวรรค์หรือฟ้า (Tien)
    คติความเชื่อ คือ พระเทพสวรรค์มอบอำนาจให้ผู้ใดผู้นั้นมีอำนาจในการปกครอง และสามารถเพิกถอน
    อำนาจได้ทุกเมื่อ ราชาเป็นโอรสแห่งสวรรค์ จากความเชื่อดังกล่าวเป็นพลังหลักในการรวมบ้านเมือง
     จีนถือว่า แผ่นดินมีจักรพรรดิองค์เดียวเหมือนท้องฟ้ามีพระอาทิตย์ดวงเดียว
     จักรพรรดิทรงไว้ซึ่งอำนาจเด็ดขาดเพียงผู้เดียว
     จักรพรรดิเป็นผู้เชื่อมต่อพิภพกับสวรรค์ (เป็นผู้ติดต่อสวรรค์)
      การปกครองที่ดีคือการปกครองตามประสงค์ของสวรรค์จึงต้องมีการตั้งพิธีบวงสรวง
      จักรพรรดิและผู้ปกครองต้องปกครองโดยธรรม
       พระราชกำเนิดหรือการเป็นโอรสสวรรค์ไม่สามารถคุ้มครองจักรพรรดิผู้ประพฤติผิดธรรม สวรรค์สามารถเพิกถอนให้ผู้อื่นหรือวงศ์อื่นได้
ระเบียบบริหารของรัฐ
     แผ่นดินโจวขยายตัวจากสังคมเกษตร จึงไม่มีระเบียบบริหารที่ดี
     การปกครองใช้อำนาจส่วนกลางและวัฒนธรรมเป็นสื่อโดยถือว่า แผ่นดินใดที่มีภาษาวัฒนธรรม 
     พิธีกรรม แบบโจว ถือว่าเป็นโจว
      โจวใช้กุศโลบายกลืนชาติโดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมในวการขยายอำนาจ
      การปกครองใช้ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ โดยมีการแบ่งซอยย่อยไปตามลำดับชั้น
      การปกครองถือสายสำพันธ์เครือญาติเป็นหลัก โดยผู้ปกครองส่วนใหญ่มาจากเครือญาติพี่น้อง
      เมืองหลวงมีกำแพงล้อมรอบ เป็นชุมชนขนาดใหญ่
      เมืองนครรัฐน้อยใหญ่ก็มีการสร้างกำแพงและผังเมืองตามแบบของโจว
       เมืองนครรัฐเปรียบประดุจรัฐบริวาล ลดลั่นความสำคัญไปตามลำดับส่วนใหญ่เป็นเมืองป้อมปราการ
      คนที่อยู่ในนครรัฐส่วนใหญ่มักเป็นตระกูลเดียวกันหรือเชื้อชาติเดียวกัน
      นักรบเป็นชนชั้นผู้ปกครอง
      ผู้ปกครองตามระดับชั้นได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดิ  ยศถาบรรดาศักดิ์ และมีพิธีแต่งตั้งเข้ารับตำแหน่ง
      ผู้ปกครองจะได้รับบรรณการเป็นสิ่งของ ที่ดิน และกำลังคน   แรงงาน และมีกองทัพเป็นของตน จัดระเบียบบริหารตามเมืองหลวง ผู้ปกครองจะได้รับบรรณการเป็นสิ่งของ ที่ดิน และกำลังคน   แรงงาน และมีกองทัพเป็นของตน จัดระเบียบบริหารตามเมืองหลวง
การทหาร
    กองทัพโจว ใช้กลรถศึกหุ้มเกาะหนัก การรบบนหลังม้าและทหารราบ
    มีการเกณฑ์ชาวนาเป็นทหารราบหรือไพร่ราบ
    อาวุธหลักเป็นธนู หน้าไม้ ดาบเหล็กปลายยาว
   ริ่มมีทหารอาชีพรับจ้าง
     กำลังหลัก คือ ทหารม้าและทหารราบ
    การรบต้องฝึกตามตำราพิชัยยุทธศิลปะ (Ping-fa) ของชุนจื๊อ
 การเสื่อมของระบบศักดินาสวามิภักดิ์ในยุคปลาย
    ในยุคหลังได้เกิดบรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตจำนวนมาก
    บรรดานักปราชญ์เห็นว่าผู้ปกครองไม่ได้ปกครองโดยชอบธรรมจึงมีแนวคิดในการปกครองแบบรวมอำนาจโดยมีผู้ปกครองที่มีคุณธรรม
     เกิดระบบราชาธิปไตย ที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
     มีการแต่งตั้งเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง ทบวง กรม เพื่อบริหารราชสำนัก พิธีกรรม ทรัพยากรในแผ่นดิน เก็บส่วยอากร
    เสนาบดีและผู้ใกล้ชิดเป็นสุภาพชนผู้ทรงความรู้
    การปกครองนครรัฐ ผู้ปกครองจะต้องมาจากการโปรดเกล้าแต่งตั้ง
    ระดับล่างของภูมิภาคคือ ระดับเมือง ตำบล หมู่บ้าน
     การปกครองของส่วนผู้มิภาคเป็นอิสระจากส่วนกลางภายใต้การดูแลของผู้ตรวจการแผ่นดิน
      เสนาบดีและชนชั้นผู้ดีกลายมาเป็นผู้ปกครอง
      ชนชั้นนักรบลดลง เนื่องจากการรบกันเอง เพื่อแย่งชิงอำนาจ
      การเกณฑ์ชาวนามาเป็นทหาร และทหารรับจ้าง นิยมสูงขึ้น
      ทหารแบบใหม่ที่ทำความดีย่อมได้รับยศถาบรรดาศักดิ์เลื่อนชั้นมาเป็นชนชั้นสูงแทนที่นักรบกลุ่มเดิม
       บทบาทนักรบหมดลง ไม่สามารถแข่งขันกับชนชั้นปัญญาชนได้
      ทุกรัฐต่างเสาะแสวงหาคนดีมีฝีมือ มีความรู้ มากกว่านักรบ
      ความเจริญทางเศรษฐกิจทำให้มีการเปิดถือครองที่ดินโดยเสรี ชาวนาไม่ต้องพึ่งพานักรบอีก
      ช่างที่เคยผลิตผลงานเพื่อนักรบหันมาผลิตเพื่อประชาชนมากขึ้นก่อให้เกิดรายได้จนสามารถชื้อที่ดินไว้ครอบครองจำนวนมาก
     พระราชอำนาจถูกถ่ายทอดไปอยู่ในมือชนชั้นผู้ดีมีปัญญา
      นครรัฐเริ่มมีพื้นที่ปกครองกว้างขว้างจากระบบราชการที่เอื้อต่อการขยายอำนาจของนครรัฐ
      นครรัฐเข้มแข็งขึ้นท้าทายอำนาจของราชวงค์
     ปัญหาการถือครองที่ดินเริ่มก่อปัญหาต่อรายได้ของรัฐ
o    ที่ดินของผู้ดีได้รับการยกเว้นภาษีค่านา
o   ที่ดินชนชั้นผู้ดีเพิ่มมากขึ้นจากการซื้อขาย และมอบให้ของชาวนาเพื่อเลี่ยงภาษีจากส่วนกลาง
    ชาวนาที่ครองที่ดินต้องรับภาระหนักจากภาษีที่ดินราชวงค์ต้องเผชิญการท้าทายอำนาจจากผู้ดีที่มีที่ดิน กำลังคนมากขึ้น และการลุกฮือของชาวนาที่ยากลำเค็ญเรื่อยมา
สังคม
    เมืองหลวงมีกำแพงคันดินล้อมรอบยาวประมาณ 3 กิโลเมตร
     ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
     เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น เกิดเมืองใหม่ตามที่ราบแม่น้ำมีวัดเป็นสูนย์กลางการปกครอง มีกำแพงล้อมรอบเพื่อป้องกันพวกเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์
    ในเมืองประกอบด้วยที่อยู่ของชนชั้นสูงที่มีรั่วรอบขอบชิด พื้นที่อาศัยของช่าง พื้นที่การค้า แหล่งบันเทิง ร้านอาหาร โรงแรม หอนางโลม พื้นที่ทำไร่ไถนาอยู่นอกกำแพงเมือง
   ชาวไร่ชาวนาต้องถูกเรียกเกณฑ์ขึ้นป้อม ค่าย ประตูหอ
    โคตรรวงค์ขยายเพิ่มขึ้นเป็น 100 แซ่ แต่ละแซ่ล้วนมีอำนาจปกครอง
    โคตรวงค์หรือแซ่มีกองทัพพร้อมออกศึกเพื่อองค์จักพรรดิ์
สังคมช่วงปลายสมัยโจว
  ชนชั้นสูงประกอบด้วยผู้นำรัฐ เหล่าขุนนางในราชสำนัก เสนาบดี
   ชนชั้นกลางได้แก่บริวาล ผู้ติดตามขุนนาง เช่น นักรบ ทนายหน้าหอ เสมียน อาลักษณ์ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ผู้ทำงานในทำเนียบ
   ชนชั้นต่ำ ประกอบด้วย สามัญชน ชาวไร่ ชาวนา ทาส
   ปัญญาชน ทหาร นักรบ สามารถเลื่อนระดับขึ้นเป็นชนชั้นสูงได้
    พ่อค้าที่มั่งมี มีอำนาจอิทธิพลในสังคม
     ชนชั้นสูงต่างต่อสู้กันทุกรูปแบบเพื่อแข่งขันครอบครองชนชั้นล่าง
     ชนชั้นปกครองที่ครองที่ดินมากขึ้น เป็นการเพิกถอนที่ดินที่ไม่ต้องเสียค่านา
     ชาวนายอมยกที่ดินให้ผู้ปกครองเพื่อเสียค่าเช่าแทนการเสียภาษี
     ชนชั้นสูงได้รับการยกเว้นการเสียภาษี การลงโทษประจาน มีสิทธิ์ผูกขาดในการถือครองทรัพยากรธรราชาติ และมนุษย์ มีสิทธ์ในการตั้งพิธีกรรม เมื่อการค้าขายเจริญขึ้น ชนชั้นสูงก็มั่งคั่งขึ้นตาม
     หัวใจสำคัญของจีนอยู่ที่ชนบท
    บทบาทสำคัญในการปกครองอยู่ที่ชนชั้นสูง
ภูมิปัญญา
  ปรัชญา เกิดจาก
§  ความไม่สงบสุขจากสงคราม การแบ่งฝ่าย
§  พิธีกรรมเซ่นไหว้บวงสรวงไม่ได้ทำให้จีนสงบสุขอย่างแท้จริง
§  ราชวงศ์ไม่สามารถล้มล้างได้ เพราะคตินิยมเทวาราชาธิปไตย
  เกิดแนวคิดของบรรดานักปราชญ์ที่เชื่อว่า มนุษย์คือสัตว์สังคม และสัตว์การเมือง สังคมจะดีหรือเลว ขึ้นอยู่กับมนุษย์ มิใช้ฟ้าดินลิขิต
   เกิดสำนักนักคิดนักปราชญ์นับร้อยแห่ง ที่สำคัญและขึ้อได้แก่
- ขงจื๊อ      - หยิน หยาง (ลัทธินิยมธรรมชาติ)   -เล๋าจื๊อ (เต๋า)      - ม่อจื๊อ (โม่จื๊อ)      - เม่งจื๊อ         - ชุนจื๊อ 
     - เฟยจื๊อ(ฝาเจี่ย-นิตินิยม)
อักษรศาสตร์
-    ในสมัยโจวตอนปลายเกิดวัฒนธรรมต้นแบบชั้นครู (ยุคคลาสสิค)
-   เกิดวรรณกรรมตำราจีนคลาสสิค 3 ประเภท คือ
- ตำรา 5 เล่ม (กวีนิพนธ์, ประวัติศาสตร์, โหราศาสตร์, พิธีกรรม,ประวัติศาสตร์ยุคชุนชิว)
- ตำรา 13 เล่ม (ตำรา 5 เล่ม, ประเพณีกุงหยาง, ประเพณีกูเหลี่ยง, ประเพณีของโจว, พิธีกรรมของ
   ราชวงค์โจว, บทสนทนา, ตำราเม่งจื๊อ, ความกตัญญูกตเวทิตา, ประชุมอธิฐานศัพย์วรรณกรรม )
- ตำรา 4 เล่ม เป็นตำราเรียนของขงจื๊อ (บทสนทนา 2 เล่ม, ตำรามหาวิทยาการ, ตำราว่าด้วยกรรมวิธี )
 ศิลปกรรม
-    เริ่มมีการใช้กระเบื้องมุงหลังคา
-   ใช้อิฐเผ่าไฟเป็นวัสดุก่อสร้าง
-   ใช้หินทำเป็นเสา ฐานเสา ทางระบายน้ำ
-   สร้างบ้านโดยยกพื้นดินอัดแน่น
-   เครื่องทองสัมฤทธิ์นิยมใช้ในราชสำนัก ชนชั้นสูง พิธีกรรม
-  ริเริ่มทำเครื่องเขิน
-    นิยมใช้ตะเกียบในการบริโภคอาหาร
-   รู้จักปรุงอาหาร