- ปลายราชวงศ์สุย แผ่นดินอยู่ในสภาพระส่ำระสายจากกลุ่มกองกำลังต่างๆที่ลุกฮือขึ้น ปี 617 หลี่ยวนที่รักษาแดนไท่หยวน ตกอยู่ในภาวะล่อแหลม เนื่องจากไท่หยวนเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่กลุ่มกองกำลังต่างต้องการแย่งชิง ขณะเดียวกันก็ทราบว่าสุยหยางตี้ทรงระแวงว่าหลี่หยวนจะแปรพักตร์ จึงประกาศตัวเป็นอิสระจากราชสำนัก
- เวลานั้น กองกำลังหวากั่ง และเหอเป่ย เข้าปะทะกับกองทัพสุย เป็นเหตุให้กำลังป้องกันของเมืองฉางอันอ่อนโทรมลง หลี่ยวนได้โอกาสบุกเข้ายึดเมืองฉางอันไว้ได้ จากนั้นตั้งหยางโย่ว เป็นฮ่องเต้หุ่น ปีถัดมา สุยหยางตี้ถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองเจียงตู หลี่ยวนจึงปลดหยางโย่ว ประกาศตั้งตนเป็นกษัตริย์ สถาปนาราชวงศ์ถังโดยมีนครหลวงอยู่ที่เมืองฉางอัน
- หลังจากสถาปนาราชวงศ์ได้แต่งตั้งโอรสองค์โตหลี่เจี้ยนเฉิง เป็นรัชทายาท หลี่ซื่อหมิน โอรสองค์รองเป็นฉินหวังและหลี่หยวน โอรสองค์เล็กเป็นฉีหวัง
- ลี่ซื่อหมินทรงมีพระปรีชาปราบปรามเจ้าท้องถิ่นต่างๆได้สร้างผลงานไว้มาก เมื่อสิ้นสุดสงครามแล้วจึงเกิดการแย่งราชสมบัติระหว่างหลี่ซื่อหมินกับองค์ชายรัชทายาทหลี่เจี้ยนเฉิง ในค.ศ. 626 ในเหตุการณ์ประตูซวนอู่ หลี่ซื่อหมินปลงพระชนม์องค์ชายรัชทายาทพระเชษฐาและพระอนุชา จักรพรรดิเกาจู่พระบิดาจึงทรงไม่อาจทนได้ที่เห็นพระโอรสเข่นฆ่ากันเองจึงทรงสละราชสมบัติเป็นไท่ซ่างหว่าง ให้พระโอรสหลี่ซื่อหมิน เป็นจักรพรรดิถังไท่จง
- เมื่อถังไท่จงสวรรคต ถังเกาจงหลี่จื้อขึ้นครองราชย์ ภายหลัง ถังเกาจงร่างกายอ่อนแอ ล้มป่วยด้วยโรครุมเร้า ไม่อาจดูแลราชกิจได้ บูฮองเฮา(บูเช็กเทียน)จึงเข้าช่วยบริหารราชการแผ่นดิน และเริ่มกุมอำนาจในราชสำนัก สุดท้ายสามารถรวบอำนาจไว้ทั้งหมดในปี 683 รัชทายาท หลี่เสี่ยน โอรสองค์ที่สามของบูฮองเฮาขึ้นครองราชย์ต่อมา พระนามว่า ถังจงจง ปีถัดมา บูเช็กเทียนปลดถังจงจง จากนั้นตั้ง หลี่ตั้น ราชโอรสองค์ที่สี่ขึ้นครองราชย์แทน พระนามว่าถังรุ่ยจง แต่ไม่นานก็ปลดจากบัลลังก์เช่นกัน กระทั่งปี 690 บูเช็กเทียนประกาศเปลี่ยนราชวงศ์ถังเป็น ราชวงศ์โจว หรือในประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า ราชวงศ์อู่โจว มีนครหลวงที่ ลั่วหยาง ตั้งตนเป็นจักรพรรดินี ทรงอำนาจสูงสุด ด้วยวัย 67 ปี ถือเป็นจักรพรรดินีองค์แรกและองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีน
- เมื่อถึงปี 705 พระนางบูเช็กเทียนวัย 82 ปี ได้ล้มป่วยลงด้วยชราภาพ เหล่าเสนาบดีที่นำโดยจางเจี่ยนจือ ก็ร่วมมือกันก่อการ โดยบีบให้บูเช็กเทียนสละราชย์ให้กับโอรสของพระองค์ ถังจงจงหลี่เสี่ยน และรื้อฟื้นราชวงศ์ถังกลับคืนมา ภายหลังเหตุการณ์ไม่นาน บูเช็กเทียนก็สิ้นพระชนม์
ความเจริญทางด้านวิทยาการ
- สมัยราชวงศ์ถังเป็นการสืบต่อและพัฒนาความเจริญสืบต่อจากอดีต เช่น ธรรมชาติวิทยา ดาราศาสตร์ การแพทย์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์
- ภูมิปัญญาในสมัยถังเจริญมากเพราะมีการเผยแพร่ด้วยสื่อภาษาเป็นลายลักษณ์อักษรบนกระดาษด้วยการพิมพ์ที่พัฒนามาจากการสร้างตราขนาดใหญ่ในสมัยฮั่นที่ทำจากหินมาเป็นไม้
- วิทยาการในการพิมพ์ทำให้ความรู้ วรรณกรรมของจีนแพร่หลายไปไกลถึงเกาหลีและญี่ปุ่น
- โลกตะวันตกต้องใช้เวลาอีก 1000 กว่าปี กว่าจะเรียนรู้เทคโนโลยีนี้ไปจากจีนผ่านเอเชียกลางและตะวันออกไกล
เศรษฐกิจ
- ยกเลิกภาษีรายหัว จัดระบบใหม่โดยรวมภาษีทุกประเภทไว้เป็นภาษีเดียวคือภาษีที่ดิน เก็บปีละ 2 ครั้ง
- กำหนดมาตรฐานชั่ง วัด ตวงใหม่ เพื่อเทียบค่าสินค้ากับเงินตราที่จะใช้แลกเปลี่ยน เพื่อจัดเก็บภาษีการค้า
- สินค้าหลักคือ ข้าวเปลือกและผ้าไหม เงินตราหลัก คือ เงินสดและเหรียญกษาปณ์เงิน
- ภาษีการค้าเก็บจากสินค้าประมาณร้อยละ 10-20 มีมากกว่าภาษีที่ดิน
- นอกจากค่าภาษียังมีค่าจอดเรือและธรรมเนียมการค่า
- สินค้าผูกขาดยังเป็นพวกเกลือ เหล็ก และชา
- พัฒนาการขนส่งโดยระบบคลองเชื่อมภาคเหนือเข้ากับภาคใต้ และพัฒนาการขนส่งข้าวทางน้ำ
- ยกเลิกการเกณฑ์แรงงาน ใช้แรงงานรับจ้างแทน
- มีการค้ากับต่างประเทศทางทะเลเป็นส่วนใหญ่ เช่น อินเดีย และโลกเมดิเตอร์เรเนียม เอเชียกลางและโลกตะวันตก ตลาดการค้าสำคัญอยู่ที่โลหยางและฉางอัน ต่อมาได้กำหนดใหกวางตุ้งและหยางโจวเป็นการค้าเฉพาะแห่ง
- ในปลายสมัยศูนย์การค้าทางบกได้ยกมาทางทะเล เพราะมุสลิมผู้ครอบครองเอเชียกลางปิดเส้นทางบก
- รัฐได้ให้ชนต่างชาติทำการค้าในนามของรัฐ เช่น พ่อค้าอาหรับดำเนินการค้าให้จีนกับเอเชียใต้และเอเชียตะวันตก พ่อค้าเกาหลีดำเนินการค้าแทนจีนกับเกาหลีและญี่ปุ่น
- ในศตวรรษที่เก้า การค้ามีกำไรงดงาม ข้าราชการและรัฐจึงเข้าดำเนินการค้าแทนพ่อค้าต่างชาติ
- สินค้าหลักในการค้าระหว่างประเทศ คือ แร่ธาตุ เช่น ทองคำ เงิน ตะกั่ว ดีบุก, งานหัตถกรรม เช่น ไหม หนังสือ ภาพวาด งานศิลป์ เครื่องถ้วยเปลือกไข่
- สินค้าที่จีนต้องการ คือ ผ้าฝ้ายเนื้อดี ม้า หนังสัตว์ สินค้าฟุ่มเฟือย ไม้เนื้อดี เพชรนิลจินดา เครื่องเทศ และงา
ระบบเงินตรา
- ในตอนต้นราชวงศ์ใช้เหรียญกษาปณ์ทองแดง
- ต่อมาเมื่อเศรษฐกิจดีเหรียญกษาปณ์เริ่มขาดตลาด รัฐจึงผลิตเหรียญจากโลหะแต่ไม่ได้รับความนิยม จึงเปลี่ยนมาเป็นเหรียญที่ผลิตจากทองคำและเงินซึ่งได้รับความนิยมสะพัดในท้องตลาดแต่มีปัญหาเรื่องน้ำหนัก
- ต่อมมีการคิดใช้ตั๋วสินเชื่อ และธนบัตรหลายรูปแบบ รูปแบบที่นิยม คือ ตั๋วแลกเงิน ใช้แลกเปลี่ยนกันในวงการค้า อีกชนิดหนึ่ง คือ ใบฝากเงินของธนาคารเอกชน บริการไถ่ถอนในอัตราร้อยละ 3
ที่ดิน
- ฟื้นฟูระบบจัดสรรที่ดินให้แก่ชายฉกรรจ์ที่มีอายุระหว่าง 21-59 ปี อย่างเสมอในทุกปีตามทะเบียนสำมะโนครัว ไม่เกิน 13.7 เอเคิลส์
- ที่ดินที่เป็นพื้นที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้เป็นสิทธิ์ขาดแก่ชาวนา
- ชาวนามีหน้าที่ชำระภาษีแกรัฐเป็นข้าวเปลือกหรือสิ่งทอ
- ให้เกณฑแรงงานรับใช้ราชการและท้องถิ่นปีละ 20 วันหรือเสียภาษีแทนการเข้าเวร
- สั่งอพยพผู้คนลงสู่หุบเขาแยงชีเพื่อเป็นแรงงานเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
- เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น การจัดสรรที่ดินเริ่มมีปัญหา เจ้าหน้าที่ทุจริตจัดสรรที่ดินให้ประชาชนน้อยกว่าพิกัด ประชาชนมีที่ดินลดน้อยลงตามลำดับ สร้างความทุกข์ยากอย่างใหญ่หลวงกับประชาชน
พัฒนาการทางการเมือง
- ข้าราชการล้วนได้รับการศึกษาล้วนมีความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมตามคติขงจื๊อ และมาจากการสอบคัดเลือกตามคติขงจื๊อ
- การปกครองส่วนภูมิภาคมีการแบ่งเป็นมลฑล มีการสื่อสารกันโดยตั้งสถานีไปรษณีย์ตามรายทาง
- มีการตั้งพระสมัญญานามสำหรับจักรพรรดิ เช่น จักรพรรดิเกาจือเป็นปฐมบรมกษัตริย์ จักรพรรดิไทจุงเป็นพระบรมบุรพกษัตริย์ เป็นต้น
ระเบียบบริหารราชการ
- จักรพรรดิทรงไว้ซึ่งอำนาจเด็จขาด โดยมีองค์กรระดับสูง 3 องค์กรส่วนกลางทำหน้าที่บริหารราชการ คือ 1) ราชเลขาธิการ ทำหน้าที่วินิจฉัยนโยบายราชการแผ่นดินและตราพระบรมราชโองการ 2) สำนักเอกอัครมหาเสนาบดี ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้พระราชอำนาจ มีอำนาจในการพิจารณาข้อวินิจฉัยสั่งการของราชเลขาธิการและให้ทบทวนใหม่ 3) สำนักเลขานุการใหญ่ ทำหน้าที่สนองพระราชวินิจฉัยและพระบรมราชโองการ โดยมีองค์กรในบังคับ 6 กระทรวง
- นอกจากองค์กรระดับสูงยังมีฝ่ายตุลาการซึ่งประกอบด้วยศาล 9 ประเภท ทำหน้าที่เกี่ยวกับพระราชพิธี บูชายัญ พิธีการทูต คดีในราชสำนัก การอุธรณ์
- องค์กรระดับล่าง เช่น ราชบัณฑิตยสถาน, สำนักงานสรรพาวุธ, สำนักงานผู้ตรวจราชการแผ่นดินเป็นต้น
- ระบบนิติศาสตร์มีการสร้างประมวนกฎหมายขึ้น 4 หมวด คือ ประมวลกฎหมายอาญา, ประมวลกฎหมายลักษณะการปกครอง, ประมวลกฎหมายรวมลักษณะอาญาและลักษณะการปกครอง, ประมวลกฏหมายกำหนดระเบียบการบังคับใช้กฏหมาย
การปกครองส่วนภูมิภาค
- เดิมคงรูปแบบพื้นที่จังหวัด และอำเภอ
- ต่อมาเปลี่ยนเป็นระบบมลฑล มีทั้งหมด 15 มลฑล มีหน้าที่รวมอำนาจในการดูแลจังหวัด
- พื้นที่การปกครองระดับล่างคือ อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ให้ปกครองกันเองโดยมีชนชั้นผู้ดีเป็นผู้นำ
- ส่วนกลางจัดการควบคุมสส่วนภูมิภาคโดยจัดตั้งกองทัพและส่งขันทีไปร่วมกับผู้ว่าราชการในส่วนภูมิภาค
- กำหนดให้มลฑล จังหวัด อำเภอ ปกครองแบบถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันและตรวจสอบการใช้อำนาจกันเอง
ภูมิปัญญา
- ศาสนาต่างชาติมีโอกาสเติบโตในจักรวรรดิจีนได้เต็มที่ เช่น พุทธ คริสต์นิกายเนสโตเรียน มานิเค โชโรแอส เตรียน อิสลามและยูดาย
- หลังจากศตวรรษที่ 9 มีเพียงศาสนาอิสลามและยูดายเท่านั้นที่อยู่ได้นอกนั้นถูกกวาดล้างหมด โดยเฉพาะศาสนาพุทธ เนื่องจากท้าทายลัทธิขงจื๊อซึ่งเป็นอุดมการณ์ของรัฐ
- ต่อมาเมื่อรัฐไร้ซึ่งอำนาจลัทธิขงจื๊อทำให้คนจีนเห็นว่าไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมได้ตามที่คาดหวังศาสนาพุทธจึงกลังมาเป็นทางเลือกใหม่ของคนจีนที่แสวงหาที่พึ่งทางใจ จนในที่สุดราชวงศ์ถังได้ส่งเสริมการเผลแพร่ศาสนาพุทธในจักวรรดิจีน ก่อเกิดสำนักศึกษาและปฏิบัตธรรมขึ้นทั่วไป
- สถาปัตยกรรมนิยมสร้างด้วยเสาไม้และทับหลัง อาคารนิยมมีหลายชั้น เช่น อาคารหอคอย พระสถูปเจดีย์ 12 ชั้น ทุกชั้นมีหลังคามุงกระเบื้องเคลือบ
- อิทธิพลของศาสนาพุทธนิยมสร้างวัดวาอารามตามขุนเขา ถ่ำ เป็นห้อง คูหา วิหารและวัดทั้งหลังสร้างด้วยศิลา
- ประติมากรรมได้รับอิทธิพลพุทธมหายาน เช่น พระพุทธปฏิมากรวัตถุมงคล ที่นิยมใช้หินเป็นวัสดุสำคัญ พระพุทธรูปคันธารราษฎร์ เทวรูปตามคติมหายาน ดินเผาและเครื่องเคลือบตกแต่ง
- ศิลปะการเขียนตัวอักษรวิจิตรศิลป์ การวาดภาพทิวทัศน์ การใช้ศิลปะในการเขียนตัวอักษรวาดภาพ
- การผูกลวดลายที่คันฉ่องเป็นลายพฤกษาพรรณเป็นแนวโค้งเครือเถา ลวดลายรูปสัตว์
การเสื่อมอำนาจ
- ราชวงศ์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและมนุษย์อย่างสิ้นเปลือง ในการสร้างโครงสร้างทางการเมือง การปกครอง การป้องกัน การสถาปนาราชวงศ์
- ราชวงศ์มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ เพราะจัดเก็บภาษีได้ผลไม่เต็มที่ การคลังไม่มีระเบียบ
- การบริหารราชการมีความแตกแยกร้าวลึก ระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค
- การป้องกันจักรวรรดิตกอยู่ในมือของแม่ทัพนายกองที่ล้วนเป็นชาวต่างด้าว
- จักรพรรดิซวนจุงลุ่มหลงพระสนมหยางกุ้ยเฟยจนละพระราชกรณียกิจให้แม่ทัพต่างชาติ “อันลูชัน” เรืองอำนาจคุมกำลังถึง 200,000 คน บัญการหทารถึง 3 แห่ง
- อันลูซันชิงอำนาจกับน้องชายพระสนมหยางกุ้ยเฟย ถึงขั้นแตกหักและชิงราชย์ ทำให้ซวนจุงต้องหนีไปมณฑลเสฉวน พร้อมสละราชย์และสั่งประหารหยางกุ้ยเฟยและน้องชาย
- อันลูซันถูกบุตรชายของตนลอบฆ่าในค.ศ. 757 ก่อให้เกิดความแตกแยก ทำให้ราชวงศ์ถังถือโอกาสตั้งตัวติด พลิกสถานการณ์ขึ้นจากการช่วยเหลือของอานารยชนกลุ่มอุยกูร์ ในการสถาปนาจักรพรรดิองค์ใหม่ จากนั้นราชวงศ์ถังจึงเริ่มเสื่อมอำนาจลงตามลำดับขาดประสิทธิภาพในการบริหาร
- ประชาชนลุกฮือเพราะยากไร้ไม่มีจะกิน ก่อกบฏชาวนาหลายครั้ง แม่ทัพในภูมิภาคต่างๆ ฉวยโอกาสสร้างอำนาจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น