จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ราชวงศ์ฮั่น

ราชวงศ์ฮั่น
จักรพรรดิฮั่นเกาจู่

การสถาปนาจักรวรรดิ
  • ผู้สถาปนาราชวงศ์ คือ หลิวปัง ผู้นำกบฏชาวนากลุ่มหนึ่ง (เดิมทีเป็นขุนนางชั้นผู้น้อย)หลังจากสถาปนาราชวงศ์แล้วทรงพระนามว่า จักรพรรดิฮั่นเกาจู่
  • ราชวงศ์ฮั่นเรียกตามชื่อถิ่นเดิมของกลุ่มหลิวปังที่อยู่บริเวณหุบเขาแม่น้ำฮั่นตอนบน
  • ราชวงศ์ฮั่นตอนต้นมีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่นครฉางอันจึงได้รับการขนานนามว่าฮั่นตะวันตก
  • เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลายได้ย้ายเมืองหลวงมายังนครลั่วหยังเรียกว่าฮั่นตะวันออก
  • หลังการสถาปนาได้ประกาศยกเลิกกฎหมายที่ทารุณโหดร้ายบางส่วนของราชวงศ์ฉิน อีกทั้งดำเนินนโยบายที่เป็นมิตรต่อประชาชน เช่น ลดการเก็บภาษีอากรและการเกณฑ์แรงงาน ปลดปล่อยกำลังทหารและประชาชนสู่บ้านเกิดของตน จัดสรรที่ดินทำกินให้กับบรรดาทหารที่ร่วมรบชนะศึกสงคราม

การป้องกันรัฐอาณาจักร
  • ผู้รุกรานที่สำคัญ คือ กลุ่มมองโกล และกลุ่มเตอร์ก (ชิอุงนู)
  • ใช้ยุทธศาสตร์ป้องกันเขตหน้า โดยกำหนดให้การรบอยู่ในเขตหน้าเท่านั้น
  • ระบบป้องกันใช้ยุทธศาสตร์ป้องกันเขตแดน โดยกำหนดพื้นที่ระวังป้องกันและพื้นที่ตั้งรับ
  • ขยายกำแพงยักษ์(กำแพงเมืองจีน)ไปจนถึงแอ่งทารีม ทางภาคตะวันตก
  • สร้างหอรบเป็นระยะๆ เป็นพื้นที่ปฏิบัติการข่าวกรอง พื้นที่ระวังป้องกันหากข้าศึกประชิด จะแจ้งด้วยสัญญานเป็นควัน โบกธง จุดคบเพลิง
  • กำลังทหารประจำถิ่นต้องยังชีพด้วยการเพาะปลูกเอง และตั้งยุงฉางหลวงเป็นระยะๆ
  • เมื่อใดไม่พร้อมรบ ฮั่นจะใช้นโยบายทางการทูตเจริญสัมพันธไมตรีกับชิอุงนู รวมให้เป็นพวกเดียวกัน และใช้วัฒนธรรมกลืนชาติ
  • การแต่งตั้งนายทหารระดับสูงมีเฉพาะเวลาเมื่อมีสงครามเท่านั้นและตำแหน่งทหารจะถูกยุบเลิกเมื่อสิ้นศึก
  • ทหารเกณฑ์มาจากสามัญชนต้องปฏิบัติหน้าที่ 2 ปี
  • ทหารอาสามาจากชนชั้นสูง มักเป็นแม่ทัพนายกอง ส่วนหนึ่งมาจากนักโทษอาสาศึกเพื่อไถ่โทษ และมาจากชาวต่างชาติ
  • ยุทธวิธีกำลังทหารประจำถิ่น 1 หน่วยประกอบด้วย 4 หมวด , 1 หมวด ประกอบด้วย 40-50 ตอน, 1 ตอน ประกอบด้วยกำลังพล 4-5 คน

ปล่องสัญญาณควันในสมัยฮั่น

การสร้างจักรวรรดิ
  • การสร้างจักรวรรดเริ่มต้นในสมัยจักรพรรดิฮั่นอู๋ตี่ (Han Wu ti)
  • เป้าหมายหลักคือ เอเชียกลางซึ่งเป็นดินแดนของพวกชิอุงนู
  • จีนมีความเชื่อว่า ฟ้าได้ลิขิตให้จีนเจริญก้าวหน้าและต้องถ่ายทอดความเจริญแก่ชนชาติอื่นๆ
  • การสร้างจักรวรรดิมีเหตุผล 2 ประการ คือ
    1) เพื่อต้องการแสดงแสนยานุภาพของจักรพรรดิ
    2) เพื่อการค้ากับภูมิภาคเอเชียตะวันตกและเอเชียใต้
  • ในเอเชียกลางจีนต้องการขายสินค้าและซื้อสินค้าจากพวกเอเชียกลาง คือ สัตว์โดยเฉพาะม้า ผลิตผลจากสัตว์ รวมไปถึงพวกตะวันตก โดยมีพวกปาร์เทียนเป็นคนกลาง
  • ในเอเชียใต้มีจุดประสงค์ในการค้าขายธัญพืช เหล็ก เกลือ และเครื่องเขิน
  • จีนได้เปิดเส้นทางหลักทางบกในการติดต่อค้าขายกับเอเชียตะวันตก เอเชียใต้ และโลกตะวันตก ผ่านทะเลทรายทากลามากาน (Taklamakan) ในแอ่งทารีม และข้ามเทือกเขาปามีร์ไปสู่เอเชียตะวันตกเรียกว่า “เส้นทางสายไหม (Silk Road)”
  • เส้นทางสายไหมเป็นเส้นทางที่ทำให้จีนสามารถติดต่อค้าขายกัยโรมันและภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียม อินเดียและเปอร์เชียได้
  • สินค้าจีนเป็นที่ต้องการสำหรับโลกภายนอกมากกว่าจีนต้องการสินค้าอื่น
  • สินค้าจีนที่ขึ้นชื้อและภายนอกต้องการ คือ “ผ้าไหม”
  • การติดต่อกับตะวันตกทำให้จีนได้รับวัฒนธรรมเข้ามาพัฒนา เช่น เครื่องดีดคล้ายน้ำเต้าที่เรียกว่า “ผี ปา (Pi-pa lute)” ศิลปภาพเงาทึบพื้นขาว ศิลปะการแสดงรูปร่างมนุษย์
  • นอกจากนั้นจีนยังได้ติดต่อค้าขายทางตะวันออกเฉียงใต้กับเกาหลี และญี่ปุ่น
  • ในสมัยฮั่น นอกจากจะพิชิตเอเชียกลางได้แล้ว ฮั่นยังพิชิตเกาหลีและแมนจูเรียใต้ อันนัม เวียดนาม และ ยูนนาน ได้อีก
  • พื้นที่ของจีนสมัยฮั่นเกือบจะเท่าจีนในปัจจุบัน เทียบกับจักรวรรดิโรมันในสมัยร่วม

เส้นทางสายไหม


เส้นทางการค้าขายในสมัยราชวงศ์ฮั่น

ความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการ
  • เทคโนโลยีการหล่อเหล็ก เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน การเพาะปลูก อาวุธ
  • การประดิษฐ์ปลอกคอม้า เพื่อส่งเสริมการขี่ม้าให้มีประสิทธิภาพ
  • การผลิตสิ่งทอ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การทอไหม
  • การผลิตกระดาษใช้ในการเขียนแทนไม้ไผ่ และผ้าไหม โดยค้นพบวิธีการผลิตประมาณ ค.ศ.100-105
  • การผลิตเครื่องปั่นดินเผา โดยวิธีการเคลือบ เครื่องถ้วยเปลือกไข่
  • โรงงานหัตถกรรมประเภทต่างๆ และรู้จักการใช้พลังน้ำในการผลิต

เครื่องเคลือบในสมัยราชวงศ์ฮั่น


การทำกระดาษในสมัยราชวงศ์ฮั่น

การจัดสรรที่ดินและแรงงาน
  • พระราชวงค์ ข้าราชการและบริวารจะได้รับบำเหน็จที่ดินตามความดีความชอบและได้รับการยกเว้นค่าภาษี
  • ชาวนาต้องเสียภาษีให้แก่ชนชั้นสูงเจ้าของที่
  • ชาวนานอกจากจะมีหน้าที่ต่อรัฐแล้วยังต้องมีหน้าที่ต่อตระกูลชั้นสูงก่อให้เกิดการเสียประโยชน์ของรัฐ
  • ค.ศ.9 จักรพรรดิหวังหมางได้พยายามลดอำนาจของชนชั้นสูงโดยออกพระราชกฤษฎีกาโอนที่ดินเป็นของรัฐและโปรดให้ประทานที่ดินแก่ชาวนา แต่ไม่ได้ผลเท่าที่ควร

การค้าขาย
  • มีลักษณะเป็นการค้าภายใต้อำนาจรัฐ
  • สินค้าต้องห้ามได้แก่ เหล็กและอาวุธ รัฐจะเป็นผู้ดำเนินการค้า
  • พ่อค้าไม่มีสิทธิในการค้าขายกันเองโดยตรงต้องผ่านคนกลาง คือ เจ้าหน้าที่รัฐ
  • รัฐเป็นผู้ทำการค้ากับต่างประเทศเอง
  • พ่อค้าบางประเภทไม่ได้จดทะเบียนกับรัฐบาลส่วนมากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง โดยส่วนใหญ่จะเก็งกำไรจากสินค้าออกประเภทผ้าไหมและทองคำ ส่งออกผ่านเส้นทางสายไหม

ผ้าไหมในสมัยราชวงศ์ฮั่น

ระบบความเชื่อ
  • สังคมฮั่นยังยึดติดกับความเชื่อถือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และบรรพบุรุษ การบูชายัญ
  • มีการตั้งพระราชพิธีบูชาสวรรค์ที่เขาไทชาน (T’aishan) ในมณฑลชานตุง และบูชาพิภพ (Earth) ที่เชิงเขาไทชัน
  • ใน ค.ศ. 58 มีพระบรมราชโองการให้สำนักศึกษาทุกแห่งตั้งพิธีบูชาขงจื๊อ
  • ผู้ที่นับถือลัทธิเต๋าหันมาแสวงหาชีวิตที่เป็นอมตะ เล่นแร่แปรธาตุ งดเว้นอาหารบางประเภท การฝึกสมาธิกำหนดลมหายใจ

พัฒนาการทางการเมือง
  • สังคมอั่นยังคงยึดหลักการปกครองโดยตระกูลนักรบ ส่งเสริมคติของขงจื๊อ ที่ยึดหลักองค์จักรพรรดิต้องเป็นประมุขทั้งทางโลกและทางธรรม ในฐานะโอรสแห่งสวรรค์
  • จักรพรรดสถิตเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งและทรงประพฤติปฏิบัติในเชิงโต้ตอบธรรมชาติ
  • ราชสำนักมีหน้าที่ตรวจตราสอดส่งเหตุการณ์บนสรวงสวรรค์ การปกครองที่ไม่ถูกต้องย่อมก่อให้เกิดภัยพิบัติ
  • จักรพรรดิ ยึดถือคติสิทธิชอบธรรมในการตั้งพิธีกรรมติดต่อกับสวรรค์ได้แต่เพียงผู้เดียว
  • จัดตั้งสำนักราชบัณฑิตยสถาน “ฮั่นหลิน” เพื่อบันทึกพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจของจักรพรรดิ

การบริหารราชการ
  • เป็นการบริหารแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
  • โครงสร้างราชการแบ่งเป็น
    oฝ่ายหน้า ประกอบด้วย อัครมหาเสนาบดี มหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง ผู้รับผิดชอบในกระทรวง 9 กระทรวง
    oฝ่ายใน เป็นหน่วยราชการพิเศษเฉพาะกิจมีหน้าที่รับผิดชอบพระราชทรัพย์ ผู้บังคับบัญชา คือราชเลขาธิการส่วนใหญ่เป็นขันที ร่วมถึงคณะที่ปรึกษาส่วนพระองค์
  • การปกครองส่วนภูมิภาคใช้ระบบศักดินาสวามิภักดิ์โดยส่งราชวงศ์และขุนนางไปครองพื้นที่ ต่อมาเมื่อราชวงศ์มีอำนาจมั่งคงแล้วจึงใช้ระบบแบ่งเป็นพื้นที่บัญชาการ มีฐานะตั้งแต่มณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน
  • พื้นที่บัญชาการทหารมีหน้าที่หลักในการสำมโนครัวเพื่อจัดเก็บภาษีและเกณฑ์แรงงาน จัดทำทะเบียนที่ดินและผลผลิตประจำปี หน้าที่รองคือ ตัดสินคดีความ
  • พื้นที่ระดับตำบลหมู่บ้านมีหน้าที่จัดเก็บภาษีข้างเปลือก สิ่งทอ เงินสด รักษายุ้งฉางหลวง รักษาความสงบไม่ให้มีโจรผู้ร้าย บำรุงเส้นทางขนส่งคมนาคม รักษาสถานีหลวงให้มีม้าพร้อมพร้อมใช้งาน
  • ข้าราชการต้องใต้เต้าขึ้นมาจากเสมียนฝึกงาน โดยผู้บังคับบัญชาจะคัดเลือกเข้าสอบในเมืองหลวงตามโอกาส ผู้ที่สอบไล่ได้จะได้บรรจุเป็นข้าราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนพระองค์ ตามความรู้ความสามารถ

สังคมฮั่น
  • การแบ่งชนชั้น
    o สังคมชนชั้นสูง ประกอบด้วย เจ้านายและข้าราชการ ส่วนใหญ่ผูกขาดตำแหน่งราชการโดยครอบครัวรวมถึงทรัพยากรที่ดินและแรงงาน มีการศึกษาและถกอบรมดี มีฐานนะมั่นคง มั่งคั่ง ไม่ต้องถูกเรียกเกณฑ์
    oสังคมชั้นล่าง คือสามัญชนที่ไร้อภิสิทธิ์ ต้องปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีอย่างเคร่งครัด ดีที่สุดคือพวกพ่อค้าที่มีความมั่งคั่งแต่ไร้เกียรติ ราษฏรทั่วไปถูกดูหมิ่นห้ามใช่ชีวิตแบบชนชั้นสูง เช่น ห้ามใช้ผ้าไหม ห้ามขี่ม้า ทำอาชีพส่วนใหญ่ด้านการเพาะปลูกเป็นหลัก
  • ประชาชนมีค่าในความหมายของรัฐ คือแรงงานเพื่อการต่างๆ เป็นชนชั้นที่ต้องเสียภาษี
  • ประชาชนที่มีมากมหาศาลคือพลังอันตรายสำหรับรัฐทสามารถก่อการดีหรือร้ายได้ ยากต่อการควบคุม ทำให้เกิดการก่อกบฏหลายครั้งโดบเฉพาะกบฏชาวนา เช่น กบฏชาวนาคิ้วแดง กบฏค่าต๋งแก่เจ้าพิธี เป็นต้น

การเสื่อมอำนาจ

ราชวงค์จีนได้ครองแผ่นดินจีนยาวนาน 400 ปี การเมืองมีความมั่นคงชั่นขณะ ส่วนใหญ่การเมืองไม่มั่นคง เต็มไปด้วยเหล่กลอุบาย การฉ้อราษฎร์บังหลวง อำนาจอิทธิพลฉ้อฉล การต่อสู้เกิดขึ้นบ่อย วิกฤตการณ์มักเกิดขึ้นด้วยเหตุปัญหาการสืบราชสมบัติ ระบบวการบริหารแตกแยงเป็นแบ่งฝ่ายต่อสู่แย่งชิงอำนาจ พื้นที่บัญชาการทหารหรือมณฑลจึงฉวยโอกาสส้องสุมกำลังคนและแข็งเมืองขึ้น ตั้งแต่ ค.ศ. 187 2 ปีต่อมา เกิดกบฏโพกผ้าเหลือง ตระกูลชนชั้นสูงผู้มีอิทธิพลต่างตั้งตนป็นใหญ่ แผ่นดินลุกเป็นไฟ ราชวงศ์ไม่สามารถดำรงอำนาจไว้ซึ่งส่วนกลางได้ จักวรรดิจีนถูกแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ

  • ภาคเหนือ เป็นของโจโฉ
  • ภาคตะวันตกเป็นของเล่าปี่
  • ภาคตะวันออกเป็นของซุนกวน
ในสมัยสามก๊กราชวงศ์ฮั่นก็ได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ.280
แผนที่ยุคสามก๊ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น