จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ราชวงศ์ชิง หรือ ราชวงศ์แมนจู (ราชวงศ์สุดท้ายของจีน)

ราชวงศ์ชิง หรือ ราชวงศ์แมนจู
นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ

ราชวงศ์ชิงไม่ได้ก่อตั้งโดยชาวฮั่นซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน แต่เป็นชาวแมนจู
ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตแมนจูเรีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน ในสมัยนั้น ชาวแมนจูเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยเร่ร่อนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งยังไม่มีคนรู้จักมากนั้น ในช่วงที่ราชวงศ์หมิงของชาวจีนฮั่นอยู่ในสภาพอ่อนแอ เกิดจลาจลและการเมืองไร้เสถียรภาพ

ราชวงศ์ชิงนั้นได้ก่อตั้งโดยชนเผ่าหนู่เจิน โดยตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัวเป็นผู้นำ ตั้งอยู่ใน
ดินแดนแมนจูเรีย ในปลายศตวรรษที่สิบหก นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ผู้นำเผ่าหนู่เจินได้แข็งข้อไม่ยอมขึ้นกับราชวงศ์หมิงและได้เริ่มจัดตั้งกองทัพแปดกองธงขึ้น ซึ่งเป็นกองทัพที่รวมเผ่าต่าง ๆ เข้าด้วยกัน อันได้แก่ ชาวหนู่เจิน, ชาวจีนฮั่นและ ชาวมองโกล นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ได้รวมเผ่าหนู่เจินเป็น ปึกแผ่นและเปลี่ยนชื่อเป็น แมนจู นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ถือได้ว่าเป็นผู้นำชาวแมนจูคนแรกที่ได้ถือโอกาสรวบรวมกำลังพล ในปี พ.ศ. 2179 หฺวัง ไถจี๋ โอรสของนู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ได้นำกองทัพขับไล่กองทัพราชวงศ์หมิงออกจากคาบสมุทรเหลียวตง และก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ ชื่อว่า ราชวงศ์ชิง

การสถาปนาราชวงศ์ การแสดงผลแบบรายการแบบมีสัญลักษณ์กำกับ
  • ราชวงศ์ชิงปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน
  • ราชวงศ์ชิงมาจากชนเร่ร่อนชาวแมนจูซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลแมนจูเรีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน
  • ในช่วงที่ราชวงศ์หมิงสมัยพระเจ้าหมิงซือจง ได้เกิดจลาจลและการเมืองไร้เสถียรภาพขึ้น ชาวแมนจูซึ่งนำโดย หลี่จื้อเฉิงจึงถือโอกาสรวบรวมกำลังพล เข้าบุกยึดกรุงปักกิ่งซึ่งเป็นราชธานีของราชวงศ์หมิง ได้ใน พ.ศ. 2187 และสถาปนาอาณาจักรต้าชิงขึ้น จนพระเจ้าหมิงซือจงต้องผูกพระศอปลงพระชนม์ตัวเองที่ต้นไม้บนเนินเขาที่มองเห็นพระราชวังต้องห้ามได้ชัด ถือเป็นจุดอวสานของราชวงศ์หมิง
  • หลังจากสถาปนาราชวงศ์ชิงแล้ว กองทัพแมนจูยังต้องใช้เวลาอีกกว่า 17 ปีเพื่อปรามปราบกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์หมิง ผู้แสร้งทำภักดีต่อชิง และกลุ่มกบฏทั้งหลาย
  • จักรพรรดิชิงทรงออกกฎบังคับให้ชาวฮั่นทุกคนต้องไว้ผมเปียและสวมเสื้อผ้าอย่างชาวแมนจู เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและภักดีต่อราชวงศ์ชิง
  • ชายชาวฮั่นทุกคนต้องโกนผมครึ่งศีรษะและหนวดเครา และผูกผมด้านท้ายเป็นหางเปียยาว กฎนี้ขัดแย้งกับประเพณีปฏิบัติเดิมของชาวฮั่นที่ห้ามตัดผม ชาวจีนทั่วประเทศต้องปฏิบัติตามโดยไม่มีทางเลือก มิฉะนั้นจะถูกตัดหัว กว่า 258 ปีที่ราชวงศ์ชิงครองประเทศ ชาวจีนได้ก่อกบฏขึ้นหลายครั้งเนื่องจากกฎดังกล่าวนี้

การปกครองสมัยราชวงศ์ชิง

พุทธศตวรรษที่ 23 ในต้นราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นยุคที่ทางราชวงศ์ต้องผจญกับขบวนการกู้
หมิงต้านชิง ของชาวฮั่นทั้งหลายที่โกรธแค้นที่ชนต่างเชื้อสายมาเป็นใหญ่ประเทศจีน ดังนั้นในสมัยของ จักรพรรดิคังซี จักรพรรดิหย่งเจิ่ง และจักรพรรดิเฉียนหลง จึงต้องใช้ทั้งนโยบายประนีประนอมเพื่อให้อยู่กับชาวฮั่นได้อย่างเป็นสุข และนโยบายแข็งกร้าวเพื่อควบคุมชาวฮั่นไว้ไม่ให้คิดต่อต้าน ซึ่งนโยบายเหล่านี้กลายเป็นแนวปฏิบัติของจักรพรรดิองค์ต่อๆ มา เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับอำนาจรัฐ

นโยบายประนีประนอม

นโยบายประนีประนอมถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการผูกมิตรเอาอกเอาใจชาวฮั่น
ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่ราชวงศ์ชิงเข้าปกครองแผ่นดินจีนใหม่ๆ เพื่อสร้างบารมีให้กับราชวงศ์ชิง และขจัดความคิดต่อต้านแมนจู โดยนโยบายสำคัญๆ มีดังนี้

  • จัดพระราชพิธีปลงพระศพของพระเจ้าหมิงซือจง จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์หมิงและพระมเหสี และสร้างสุสานถวายให้อย่างสมพระเกียรติ
  • ยกย่องขุนนางราชวงศ์หมิงที่สละชีพเพื่อปกป้องเยี่ยงวีรบุรษ และเกลี้ยกล่อมขุนนางหมิงให้สวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ชิงและดูแลเป็นพิเศษ
  • ยังคงใช้วิธีคัดเลือกข้าราชการโดยวิธีการสอบจอหงวนตามแบบของราชวงศ์หมิง
  • จักรพรรดิคังซี ทรงจัดทำ พจนานุกรมคังซี ซึ่งรวบรวมตัวอักษรจีนได้ครบถ้วนที่สุดสมัยนั้น และในสมัย จักรพรรดิเฉียนหลง ได้มีการรวบรวมงานวิชาการครั้งยิ่งใหญ่ทั่วประเทศจีนมาเป็น ประมวลสาส์นสี่ภาค
  • มีการส่งเสริมบัณฑิตที่มีผลงานทางวิชาการให้ได้รับบำเหน็จ แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะรวบรวมผลงานทางวิชาการ หนังสือหลายเล่มถูกทำลายเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง
  • ยกเลิกหรือลดอัตราภาษีที่ขูดรีดในท้องที่ต่างๆ และล้มแนวการปกครองที่โหดร้ายของราชวงศ์หมิง

นโยบายแข็งกร้าว

ในขณะเดียวกัน ราชวงศ์ชิงก็ดำเนินนโยบายแข็งกร้าวเพื่อสยบชาวฮั่นที่คิดจะต่อต้านไว้ด้วย โดยนโยบายสำคัญมีดังนี้

  • สังหารประชาชนที่รวมตัวก่อจลาจลต่อต้านราชสำนักตามท้องที่ต่างๆ อย่างโหด
  • ห้ามการรวมกลุ่มกันจัดตั้งสมาคมอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันการรวมพลังมวลชน
  • บังคับให้ชายชาวฮั่นทั่วประเทศต้องไว้ผมแบบชาวแมนจู คือ ไว้หางเปียยาวด้านหลัง และโกนผมครึ่งศีรษะ อย่างที่ชาวไทยคุ้นเคยกันดีจากภาพยนตร์ ใครฝ่าฝืนจะต้องโทษประหารชีวิต
  • นำกฎหมายอาชญาทางภาษา (เหวินจื้ออวี้) มาใช้หลายครั้ง เพื่อควบคุมความคิดของชาวฮั่นให้อยู่ในกรอบ ในสมัยจักรพรรดิคังซี หย่งเจิ้ง และเฉียนหลง มีปรากฏว่ามีมากถึง 70-80 คดี แต่ละคดีจะมีผู้รับเคราะห์ 10 คน จนถึงหมื่นคนก็มี ตัวอย่างคดีที่สำคัญ เช่น คดีหนังสือประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิง(หมิงสื่อ) ในสมัยคังซี ที่จวนถิงหลง จัดพิมพ์ไปกล่าวกระทบประวัติศาสตร์แมนจู ราชวงศ์ชิงถึงกับขุดศพจวนถิงหลงมาแยกร่าง ผู้เขียน ตรวจอักษร ขายหนังสือ และแม้แต่ผู้มีหนังสือในครอบครองถูกประหาร 72 คน และถูกขับไล่ให้เป็นทหารแถบชายแดนอีกนับร้อยคน

เริ่มระส่ำระสาย

หลังจากเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงต้นราชวงศ์ สภาพทั่วไปในพุทธศตวรรษที่ 24
ราชวงศ์ชิงเริ่มอ่อนแอและความเจริญรุ่งเรืองลดลง เนื่องจากประเทศจีนประสบปัญหาความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงของกลุ่มคนในวงการต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเมืองที่มีขุนนางฉ้อราษฎร์บังหลวง เศรษฐกิจหยุดนิ่ง เพราะจักรพรรดิเฉียนหลง กษัตริย์เจ้าสำราญโปรดความหรูหราฟุ่มเฟือยและทำสงครามบ่อยครั้ง เงินท้องพระคลังขัดสน และจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนที่ทำกิน

เกิดกบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว

หลังจากพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่น รัฐบาลชิงต้องเสียดินแดนและชำระค่าฝิ่นกับค่าปฏิกรรม
สงครามเป็นจำนวนสูง จึงขูดรีดภาษีจากประชาชน การคลังขาดแคลน ประชาชนอดอยาก สังคมเริ่มวุ่นวาย ไร้ความสงบสุข ประชาชนเริ่มรวมตัวต่อต้านอำนาจรัฐกลายเป็นกบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว โดยมีผู้นำคือ หงซิ่วฉวน ซึ่งได้รับอิทธิพลของคริสต์ศาสนา ร่วมกับ เฝิงอวิ๋นซาน ก่อตั้งสมาคมนับถือพระเจ้าที่มณฑลก่วงซี แล้วกลายสภาพเป็นกบฏไท่ผิงเทียนกั๋วในเวลาต่อมาในปี ค.ศ. 1851 กองทัพของหงซิ่วฉวนกับเฝิงอวิ๋นซานบุกยึดเมืองนานกิงได้ในปีค.ศ. 1853 ขณะนั้นกองทัพมีกำลังพลนับล้านกว่าคน หลังจากได้ชัยชนะในหลายสมรภูมิช่วงท้ายของกบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว ผู้นำทั้งสองเกิดความขัดแย้งกันเองด้วยการแยกตัวเป็นอิสระ การลอบสังหารกันด้วยความระแวงใจ ทำให้กองทัพกบฏเริ่มอ่อนแอลง ราชสำนักชิงขอร้องกองทัพอังกฤษซึ่งมีอาวุธทันสมัยและทหารแข็งแกร่งให้ช่วยกวาดล้างกบฏแลกกับผลประโยชน์ที่เสนอให้อังกฤษ ฝ่ายกบฏเริ่มสูญเสียที่มั่นไปจนถึงปลายปีค.ศ. 1863 ทหารชิงและทหารต่างชาติล้อมเมืองเทียนจิงได้ ปีถัดมาเมืองนั้นเกิดสภาพอดอยาก หงซิ่วฉวนฆ่าตัวตาย เมืองเทียนจิงแตก จึงถือเป็นการปิดฉากกบฏไท่ผิงเทียนกั๋วลง แต่จิตวิญญาณต่อต้านราชวงศ์ชิงยังฝังแน่นในหัวใจของชาวฮั่นซึ่งส่งผลสืบเนื่องให้เกิดการปฏิวัติต่อต้านแมนจูในเวลาข้างหน้าอีก

สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง

หลังการปฏิรูปเมจิในญี่ปุ่นช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นเริ่มขยายอำนาจออกนอก
ประเทศ โดยมีเป้าหมายที่แผ่นดินจีนอันกว้างใหญ่ ด้วยการนำกองทัพบุกยึดครองเกาหลีซึ่งเป็นประเทศราชของจีนเพื่อหวังเป็นเส้นทางเข้าสู่จีน ปี พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) เกาหลีเกิดจลาจลกลุ่มภูมิปัญญาตะวันออก (ตงเสวียตั่ง) ขึ้น จึงร้องขอให้จีนช่วยเหลือ จีนส่งกองทัพไปตามคำขอ ส่วนญี่ปุ่นส่งกองทัพเรือไปยึดครองเกาหลีและโจมตีทหารจีนอันเป็นการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ กองทหารชิงพ่ายแพ้ ญี่ปุ่นยังรุกต่อเนื่องทำให้ราชสำนักชิงหวั่นเกรงความเข้มแข็งของกองทัพญี่ปุ่น จึงรีบขอเจรจาสงบศึกก่อน ในปีค.ศ. 1895 จึงทำสนธิสัญญา ชิโมโนเซกิ ระหว่างขุนนางหลี่หงจาง กับ ผู้นำญี่ปุ่นชื่อ นายอิโต อิโรบูมิ ความสูญเสียของจีนคือ ยกเกาหลี ไต้หวัน คาบสมุทรเหลียวตง ให้ญี่ปุ่น ใช้เงินค่าปฏิกรรมสงครามนับสองร้อยล้านตำลึง อนุญาตให้ตั้งโรงงานตามเมืองท่าของจีนได้

ผลจากสนธิสัญญานี้บางส่วนไปกระทบต่อความมั่นคงของรัสเซียซึ่งมีดินแดนบางส่วน
ติดกับจีนที่บริเวณคาบสมุทรเหลียวตง รัสเซียร่วมกับฝรั่งเศส เยอรมัน ทำการคัดค้านการยึดครองดินแดนผืนนั้นอย่างหนักหน่วง ญี่ปุ่นจำใจคืนคาบสมุทรเหลียวตงให้จีน โดยแลกกับเงินแท่งหลายล้านตำลึง การต้องใช้จ่ายเงินจำนวนสูงมากในหลายกรณีโดยราชสำนักชิง ทำให้ประชาชนเดือดร้อนหนักจากการรีดภาษี ความยากแค้นแผ่ขยายกว้างขึ้นเรื่อยๆ แรงคับแค้นใจถูกเก็บอัดแน่นมากขึ้นในหมู่ประชาชน

การปฏิรูป / รัฐประหาร อู้ซีว์

หลังการพ่ายแพ้สงครามต่อฝรั่งเศสและญี่ปุ่น เยอรมันใช้กำลังยึดครองอ่าวเจียวโจว
คังโหย่วเหวย ถานซือถง เสนอหลักเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบใหม่เพื่อความเข้มแข็งของชาติ ซึ่งเรียกกันว่า “แผนปฏิรูป อู๋ซีว์” โดยเน้นการผลิตบัณฑิตสมัยใหม่ เปิดกว้างการวิพากษ วิเคราะห์ พัฒนากิจการใหม่ๆที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชาติ และความอิ่มท้องของชาวบ้าน ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากพระเจ้ากวางสู่ซึ่งต้องการใช้แผนปฏิรูปนี้ยึดคืนอำนาจจากพระนางซูสีไทเฮา ข้าราชสำนักส่วนใหญ่เกิดความระแวงใจว่าแผนดังกล่าวมาจากบัณฑิตชาวฮั่น จึงร่วมมือกับพระนางซูสีทำรัฐประหาร กักขังพระเจ้ากวางสู จับถานซื่อถงกับพวกนักปฏิรูป รวมทั้งลงโทษขุนนางที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สั่งยกเลิกแผนปฏิรูปทั้งหมด เรียกว่า รัฐประหาร อู้ซีว์ ส่วนคังโหย่วเหวยกับเหลียงฉี่เชาหลบหนีไปนอกประเทศได้

หลังการปฏิรูปชาติล้มเหลว ราษฎรเริ่มตระหนักใจว่าหากไม่ล้มล้างรัฐบาลชิงซึ่งไร้
ความสามารถ ราชสำนักชิงภายใต้อำนาจของพระนางซูสีเหลวแหลกและเป็นอุปสรรคในการปฏิรูปไปสู่ความเข้มแข็งของชาติ คนจำนวนมากจึงเข้าร่วมขบวนการปฏิวัติของดร.ซุนยัดเซน ในเวลาต่อไป

ขบวนการอี้เหอถวน / ศึกพันธมิตรแปดชาติ (กบฏนักมวย)

ตอนปลายราชวงศ์ชิงการรุกรานของต่างชาติทั้งด้านกองทหารและศาสนาคริสต์
สร้างความไม่พอใจแก่ราษฎรอันเกิดจากความไม่เท่าเทียมกันที่ราชสำนักกลัวเกรงต่างชาติโดยไม่คุ้มครองชาวบ้านที่ถูกรังแกเหยียดหยาม จึงสั่งสมความแค้นกลายเป็นพลังต่อต้านต่างชาติอย่างเร็ว บวกกับภัยพิบัติของแม่น้ำฮวงโหแล้งติดต่อกันหลายปี ทำให้เกิดความยากแค้นจึงมีกลุ่มความเชื่อลัทธิต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มอี้เหอถวนในมณฑลซานตุงกับเหอเป่ย ซึ่งนอกจากสอนมวยแล้ว ยังฝังความเชื่อเกี่ยวกับเวทมนตร์ให้ชาวบ้านด้วยพร้อมกับแนวคิดสนับสนุนราชวงศ์ชิง กำจัดต่างชาติ ทำให้มีผู้ร่วมกลุ่มเพิ่มทวีขึ้น นอกจากนั้นราชสำนักชิงโดยพระนางซูสีต้องการใช้กลุ่มนี้ต่อต้านต่างชาติซึ่งคัดค้านพระนางกักขังพระเจ้ากวางสู กลุ่มนี้จึงกลายเป็นเครื่องมือทำลายต่างชาติของและได้รับการสนับสนุนจากพระนางซูสีซึ่งคอยบงการอยู่เบื้องหลัง อันสร้างความไม่พอใจแก่ชาวต่างชาติอย่างมาก

ปี พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) พระนางซูสีไทเฮาสั่งกลุ่มอี้เหอถวนโจมตีเขตสถานทูตของ
ต่างชาติในปักกิ่ง ทำให้ชาติต่างๆ ซึ่งได้รับความเสียหายรวมตัวกันเป็นกองทัพพันธมิตรแปดชาติตอบโต้จีน ทหารชิงแตกพ่าย ทหารพันธมิตรบุกเข้ากรุงปักกิ่งและยึดพระราชวังต้องห้ามไว้ พระนางซูสีพาพระเจ้ากวางสูลี้ภัยหนีไปเมืองซีอาน ส่วนกองทัพพันธมิตรปล้นสะดมวังต้องห้ามและบ้านเรือนของชาวบ้าน อันสร้างความเสียหายอย่างมากทั้งสถานที่หรือสมบัติมีค่าของจีน ปีต่อมาราชสำนักชิงส่งตัวแทนเจรจาสันติภาพโดยยอมใช้ค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนสูงมาก ยอมให้ต่างชาติตั้งกองทหารในเขตที่ต้องการอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ของชาติ รวมทั้งกำหนดขอบเขตที่ห้ามคนจีนเข้าไปทั้งที่เป็นดินแดนจีน การสูญเสียอธิปไตยเพิ่มเติมจากสัญญาต่างๆที่เคยทำไว้โดยมาจากความอ่อนแอของราชสำนักชิงสร้างความคับแค้นใจแก่คนจีนซึ่งเชื่อมั่นมากขึ้นว่า ชาติจะรอดพ้นภัยพิบัติได้ด้วยการล้มล้างราชวงศ์ชิงเท่านั้น แนวคิดนี้ลุกลามไปทั่วแผ่นดิน ขบวนการปฏิวัติจึงรวมตัวและเคลื่อนไหวเข้มข้นมากขึ้น อันสั่นคลอนต่ออำนาจของพระนางซูสีไทเฮาและราชสำนักชิงในเงื้อมเงาของพระนางหนักขึ้นทุกขณะ

รัฐธรรมนูญของราชสำนักชิง

ช่วงปลายลมหายใจของพระนางซูสีไทเฮา ฝ่ายต่อต้านราชสำนักชิงมีพลังมากขึ้น
และแยกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายสนับสนุนให้มีรัฐธรรมนูญโดยยังมีฮ่องเต้ของคังโหย่วเหวย กับ ฝ่ายล้มล้างราชวงศ์ชิงของดร.ซุนยัดเซน เพื่อเป็นการลดความร้อนแรงของประชาชน ราชสำนักชิงเลือกจะร่างรัฐธรรมนูญตามที่ประชาชนต้องการ ทำให้ฝ่ายล้มล้างราชวงศ์ชิงไม่เป็นที่สนใจเพราะความหวังใหม่ในท่าทีอ่อนลงของราชสำนัก พระนางซูสีไทเฮาคัดเลือกรัชทายาทใหม่และถือเป็นคนสุดท้ายของราชวงศ์ชิงก่อนสิ้นลมหายใจ คือ จักรพรรดิผู่อี๋หรือผู่อี๋ ตอนนั้นมีพระชนมายุไม่ถึง 3 ขวบ และเปลี่ยนเป็นรัชศกเซียนถ่ง โดยมีพระบิดา คือ เจ้าชายฉุน (ไจ้เฟิง) เป็นผู้สำเร็จราชการบริหารแผ่นดินแทน พระบิดาร่างรัฐธรรมนูญต่อไปเมื่อประกาศใช้ในแผ่นดินกลับสร้างความผิดหวังแก่ประชาชนอย่างมาก เมื่อกำหนดให้กลุ่มผู้บริหารประเทศเป็นเชื้อพระวงศ์ชิงส่วนใหญ่ คนจีนตระหนักใจแล้วว่าความหวังเดียวของชาติ คือ ต้องใช้กำลังล้มล้างราชวงศ์ชิงเท่านั้น ฝ่ายที่เคยเรียกร้องรัฐธรรมนูญของคังโหย่วเหวยผันตัวเองไปสนับสนุนกลุ่มดร.ซุนยัดเซนมากขึ้น หลังจากเห็นรัฐธรรมนูญฉบับของราชสำนักชิงแล้ว ประชาชนเปลี่ยนไปเข้าร่วมแนวคิดของดร.ซุนยัดเซนเพิ่มทวีขึ้นและถือว่าทรงอิทธิพลมาก ชะตากรรมของราชสำนักชิงเข้าสู่จุดวิกฤติ

สงครามฝิ่น

สงครามฝิ่นเกิดขึ้น 2 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1834-1843 และ
ครั้งที่สองเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1856-1860

สงครามฝิ่นเป็นผลมาจากการที่จีนไม่ยอมเปิดประตูการค้าเสรีตามความต้องการของ
ชาติตะวันตก สมัยนั้นจีนทำการค้ากับชาติตะวันตกด้วยระบบการผูกขาดโดยพ่อค้าจีนที่เรียกว่า ก้งหอง หรือ กงหาง ในภาษาแมนดาริน (จีนกลาง) และจำกัดขอบเขตการค้าขายอยู่ในเมืองกวางโจว ฝ่ายอังกฤษซึ่งดำเนินการค้าโดยบริษัทอินเดียตะวันออก ขาดดุลการค้าจำนวนมหาศาลให้แก่จีน เนื่องจากนำเข้าใบชาจากจีนจำนวนมาก แต่กลับไม่สามารถขายสินค้าให้แก่จีนได้อย่างเสรี กระทั่งปี ค.ศ. 1820 บริษัทพบสินค้าใหม่ซึ่งทำกำไรให้งดงาม คือ ฝิ่น ซึ่งปลูกในอินเดีย (อาณานิคมของอังกฤษ) ส่งผลให้สถานภาพการเสียเปรียบดุลการค้าของอังกฤษดีขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากกลายเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าให้แก่อังกฤษ รัฐบาลชิงยังตระหนักถึงพิษภัยของการเสพติดฝิ่นของคนจีนในทุกชนชั้น ในปีค.ศ.1838 จึงประกาศห้ามนำเข้าฝิ่น ผู้ฝ่าฝืนมีโทษถึงประหารชีวิตทั้งผู้ค้าและผู้เสพแต่ฝิ่นยังคงหลั่งไหลเข้าแผ่นดินจีน ทำรายได้มหาศาลให้ประเทศตะวันตก จวบจนเดือนมีนาคม ค.ศ.1839 จีนยึดฝิ่นของพ่อค้าอังกฤษจากท่าเรือในกวางโจว อังกฤษขอคืน แต่ถูกปฏิเสธ ทั้งทางการจีนบังคับให้พ่อค้าอังกฤษลงนามในข้อตกลงไม่ค้าขายฝิ่น พ่อค้าอังกฤษปฏิเสธการลงนามนั้น รัฐบาลชิงทำหนังสือถึงสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ถามว่ารัฐบาลอังกฤษห้ามค้าฝิ่นในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์ และสกอตแลนด์อย่างเด็ดขาด โดยอ้างเหตุผลว่าเป็นการค้าที่ผิดศีลธรรม แต่กลับส่งฝิ่นมาขายในตะวันออกไกล และทำกำไรมหาศาล อังกฤษตอบว่า การที่รัฐบาลชิงยึดทรัพย์สินของชาวอังกฤษเป็นการกระทำที่ไม่ชอบธรรม และขอสินค้าคืน รัฐบาลจีนตอบ โต้ด้วยการทำลายฤทธิ์ฝิ่นที่ยึดได้ก่อนทิ้งลงทะเล อังกฤษจึงถือเป็นข้ออ้างในการยกกองกำลังปิดล้อมชายฝั่งมณฑลกวางตุ้ง รวมถึงฮ่องกง จีนพ่ายแพ้ ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง 29 สิงหาคม ค.ศ. 1842 รัฐบาลจีนต้องชดใช้ค่าฝิ่นที่ถูกทำลาย จ่ายค่าปฏิกรณ์สงครามให้แก่อังกฤษ และเปิดเมืองท่าชายทะเล 5 แห่ง ได้แก่ กวางโจว เซียะเหมิน ฝูโจว หนิงโป และเซี่ยงไฮ้ รวมถึงยกเกาะฮ่องกงและเกาะเล็กเกาะน้อยที่อยู่โดยรอบเป็นเขตเช่าของอังกฤษ โดยชาวอังกฤษและคนที่อยู่ใต้อาณัติสามารถอาศัยอยู่โดยได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และต่อมาในปี 1844 ฝรั่งเศสและอเมริกาได้บีบบังคับให้จีนให้สิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับอังกฤษ สนธิสัญญานานกิงเป็นสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฉบับแรกที่มหาอำนาจตะวันตกทำกับจีน สาระในสัญญามีผลทำให้ระบบการค้าผูกขาดแบบก้งหองถูกยกเลิก การเปิดเมืองท่าในชายฝั่งภาคตะวันออก 5 เมือง พร้อมด้วยท่าเรือในเมืองเหล่านี้มีสถานะเป็นท่าเรือตามสนธิสัญญา มหา อำนาจตะวันตกเป็นผู้ประกอบการบรรทุกขนถ่ายสินค้าโดยไม่ต้องจ่ายค่าภาระท่าเรือให้แก่รัฐบาลจีน อัตราภาษีนำเข้าอยู่ในอัตราคงที่และต่ำมาก ทั้งหมดนี้ทำให้จีนแทบไม่มีรายได้จากการค้ากับชาติตะวันตก ที่สำคัญ การนำเข้าสินค้าได้อย่างเสรีมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมพื้นบ้านของจีนอย่างรุนแรง

ราชวงศ์ชิงล่มสลาย
  • ในช่วงต้นของพุทธศตวรรษที่ 25 ประชาชนเริ่มรวมกลุ่มกันประท้วงมากขึ้นและขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ทั้งพระนางซูสีไทเฮาและจักรพรรดิกวางซวีสวรรคตใน พ.ศ. 2451 ทิ้งให้สมาชิกราชวงศ์ที่ไร้บารมีและสถานภาพทางการเมืองไม่แน่นอนยังอยู่ในพระราชวังต้องห้าม
  • ปูยี โอรสขององค์ชายชุนที่ 2 ได้รับการอภิเษกให้เป็นจักรพรรดิองค์ต่อไปตั้งแต่พระชนมายุเพียง 2 ชันษา โดยให้พระราชบิดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน
  • ต่อมา นายพลหยวนซือไข่ ถูกปลดออกจากตำแหน่งทางทหาร
  • ในกลางปี พ.ศ. 2454 องค์ชายชุนที่ 2 ทรงตั้งคณะรัฐมนตรีหลวง โดยสมาชิกเกือบทั้งหมดเป็นพระญาติสกุลอ้ายซินเจวี๋ยโหล มีหน้าที่บริหารประเทศจีนในเรื่องทั่วไป การตั้งคณะรัฐมนตรีหลวงครั้งนี้ได้สร้างความไม่พอใจอย่างยิ่งให้กับข้าราชการชั้นสูงทั้งหลาย
  • ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2454 ได้เกิดจลาจลอู่จางขึ้น และต่อมา นายพลซุน ยัตเซ็น ได้ประกาศก่อตั้งรัฐบาลของตนขึ้นใหม่ ในนามสาธารณรัฐจีน ที่เมืองนานกิง หัวเมืองหลายแห่งเริ่มตีตัวแยกจากรัฐบาลราชวงศ์ชิง เมื่อสถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจเช่นนี้ รัฐบาลราชวงศ์ชิงจึงเรียกตัวนายพลหยวนซือไข่ที่รู้สึกไม่พอใจราชวงศ์อยู่แล้วกลับเข้ามาควบคุมกองทัพเป่ยหยาง เพื่อปราบปรามกลุ่มผู้แข็งข้อทั้งหลาย
  • ที่ได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาลของตนแล้ว นายพลหยวนก็ได้เรียกร้องให้องค์ชายชุนลงจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ โดยการเรียกร้องครั้งนี้ได้รับคำแนะนำจาก หลงหยูฮองเฮา
  • หลังจากองค์ชายชุนออกจากตำแหน่งแล้ว หยวนซือไข่และนายพลจากกองทัพเป่ยหยางก็ครอบงำราชวงศ์ชิงได้สำเร็จ ประเทศจีนในครั้งนั้นก็มี รัฐบาล 2 ฝ่าย รัฐบาลหยวนซือไข่ปฏิเสธการทำสงครามกับรัฐบาลสาธารณรัฐของซุน ยัตเซ็น โดยให้เหตุผลว่าเสียค่าใช้จ่ายสูงและไม่มีเหตุผล
  • คำเรียกร้องของราชวงศ์ชิงคืออยากให้ประเทศจีนปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และซุนยัตเซ็นอยากให้ก็ประเทศปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ
  • นายพลหยวนได้เปิดการเจรจากับซุนยัตเซ็น โดยที่ซุนยัดเซ็นมีเป้าหมายว่าถ้าก่อตั้งสาธารณรัฐจีนสำเร็จแล้ว อาจจะให้นายพลหยวนขึ้นเป็นประธานาธิบดี ใน พ.ศ. 2455
  • หลังจากการเจรจา หลงหยูไทเฮาก็ได้ออกพระราชเสาวนีย์ประกาศให้จักรพรรดิปูยีผู้เป็นพระโอรสบุญธรรมสละราชบัลลังก์
  • การล่มสลายของราชวงศ์ชิงใน พ.ศ. 2454 ถือเป็นการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในจีนที่มีมายาวนานกว่า 2,000 ปี

ผู่อี๋ จักรพรรดิ์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง และราชวงศ์จีน

ราชวงศ์หมิง / ต้าหมิง

ราชวงศ์หมิง
จูหยวนจู ปฐมจักรพรรดิ์ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือ จักรวรรดิ
ต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง

การสถาปนา

ภายหลังราชวงศ์หยวนปกครองจีนได้ใช้นโยบายการปกครองที่อยู่บนพื้นฐานอำนาจ
อำนาจบาตรใหญ่ ใช้พลังอำนาจทางทหารเหนือสิ่งอื่นใด ระบอบการปกครองขาดซึ่งปัญญาชน ก่อให้เกิดระบบราชการที่อ่อนแอเป็นเหตุให้ไม่สามารถธำรงไว้ซึ่งอำนาจการปกครองได้ยาวนาน บัณฑิตจีนเกิดปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ทำให้ฐานอำนาจราชวงศ์สั่นคลอนขาดพลังทางปัญญาชนสนับสนุน บวกกับในปลายราชวงศ์เกิดวาตภัย อุทกภัย ทำให้ทรัพย์สินไร่นาชาวบ้านเสียหาย ผู้คนล่มตาย เกิดความขาดแคลน ผู้คนอดอยากแสนสาหัส และต้องเผชิญกับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่ถือโอกาสกดขี่ข่มเหงประชาชน ทำให้ชาวนาสุดจะทน บังเกิดกบฏลุกฮือทั่วไปใน ค.ศ. ที่ 1340 และใน ค.ศ. ที่ 1350 เกิดสมาคมลับของเหล่าข้าราชการจีนและปัญญาชนแต่ละท้องถิ่นสนับสนุนกบฏจีน ประจบกับการเมืองภายในเกิดแย่งชิงอำนาจกันขึ้น ผู้ปกครองขาดความสามัคคี แผ่นดินลุกเป็นไฟ ในที่ สุดจอมยุทธจูหยวนจู หรือ หวงหวู่ ได้ตั้งตนเป็นใหญ่ ล้มล้างราชวงศ์หยวนได้ในปี ค.ศ. 1368 ได้ขับไล่มองโกลไปสู่ดินแดนมองโกเลียได้สำเร็จ และได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้นในปี ค.ศ. 1368

การทหาร
  • ทหารเป็นหน่วยรบทหารอาชีพสืบตระกูลยังชีพด้วยตนเอง
  • หน่วยทหารจะประจำการตามแนวชายแดนที่มีภัยคุกคาม นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ป้องกันจักรวรรดิมีหน้าที่รักษาความสงบ ความมั่นคงภายใน เส้นทางคลองหลวง เส้นทางคมนาคมและในเมืองหลวง
  • หน่วยรบอาชีพมีกำลังประจำการหน่วยละ 5,600 คน ทหารต้องขึ้นทะเบียนเป็นทหารอาชีพซึ่งมีถึง 493 หน่วย ขึ้นตรงต่อกระทรวงยุทธนาธิการ

การทูต
  • ราชวงศ์หมิงมีความนิยมสันติวิธีทางการทูตมากกว่ายุทธวิธี เนื่องจากการทำศึกต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรมหาศาล หลังจากราชวงศ์หมิงขึ้นครองราชย์ได้ส่งคณะทูตไปสู่อาณาจักรโดยรอบเพื่อแจ้งการเปลี่ยนแปลงและให้ส่งบรรณาการตามประเพณี ซึ่งถือเป็นการยอมรับอำนาจของจีน
  • รัฐทั้งหลายต้องมีความสัมพันธ์กับจีนตามเงื่อนไข ปฏิบัติตามความเหมาะสมของระบอบจีนซึ่งความสัมพันธ์ตามเงื่อนไขจีนล้วนเป็นประโยชน์ต่อบรรดารัฐต่างๆ ในด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า และการปกป้องคุ้มครองภัยต่างๆ
  • ในสมัยจักรพรรดิหยุงโล (หย่งเล่อ) ได้กำหนดให้เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องส่งบรรณาการด้วย โดยได้ส่งกองเรือไปตามน่านน้ำถึง 7 ครั้ง ในระหว่าง ค.ศ. 1405 – 1433 โดยมีผู้บัญชาการที่เป็นขันทียูนนามมุสลิมที่ซื่อว่า “เจิ้งเหอ” (ชำปอกงหรือชำเป่ากง) ทำหน้าที่บังคับกองเรือสำเภาขนาดใหญ่ เรียกว่า "เป่าฉวน" แปลว่า "เรือมหาสมบัติ" ไปตามน่านน้ำไกลถึงแหลมกู๊ดโฮบของทวีปแอฟริกาได้ แต่การเดินเรือของจีนก็ยุติลงด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งที่มีโอกาสก่อนชาติอื่นๆ ในการสร้างจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ และสามารถแสวงหาความมั่งคั่งทางพาณิชย์นาวี แต่จีนก็ปล่อยให้โอกาสนั้นหลุดลอยไปเมื่อสิ้นจักรพรรดิหย่งเล่อ เพราะการเดินเรือของจีนมีจุดมุ่งหมายเพียงแสดงพระบรมเดชานุภาพ การซักจูงให้เมืองต่างๆ ส่งบรรณาการ การแสวงหามิตรประเทศ และการผจญภัยหาโชคลาภ อีกทั้งจีนมองว่าการเดินเรือสิ้นเปลืองมีค่าใช้จ่ายสูง ในขณะที่จีนต้องสงวนทรัพยากรเพื่อเตรียมรับศึกจากมองโกลและการสร้างนครปักกิ่ง รวมถึงคติขงจื๊อที่ไม่ได้สนับสนุนการค้า จึงปล่อยโอกาสให้หลุดมือ ทั้งที่จีนพัฒนาก่อนหน้าชาวตะวันตกว่า 150 ปี

ภัยคุกคาม
ภัยจากมองโกล

ในศตวรรษที่ 15 จีนต้องเผชิญกับการคุกคามกับการปล้นสะดมของพวกมองโกล
จนต้องมีการเสริมกำลังและบูรณะแนวกำแพงยักษ์ให้แข่งแกร่ง จีนต้องใช้นโยบายทางการทูตโดยยอมให้บรรณาการที่มีค่ากับคณะผู้แทนมองโกลที่เป็นคนหมู่มากคณะใหญ่เมื่อเข้ามาเจริญสัมพันธ์ จีนต้องเลี้ยงดู ต้อนรับ ทำให้สิ้นเปลืองมาก แต่กระนั้นมองโกลเองก็มักถือโอกาสปล้นสดมภ์และรุกรานจีนเมื่อมีโอกาส

ในสมัยจักรพรรดิทีมูร์ของมองโกล ได้สร้างจักรวรรดิมองโกลใหม่โดยครอบครอง
เปอร์เซีย เมโสโปเตเมีย รุสเชียภาคใต้ และอินเดียในภาคเหนือ และเตรียมบุกจีนแต่ทีมูร์ได้สวรรคตเสียก่อนระหว่างทางเป็นการปิดฉากความเรืองอำนาจของมองโกลนับแต่นั้นมา

ภัยจากโจรสลัด

ภัยคุกคามจากโจรสลัดปล้นสดมภ์ในน่านน้ำและชายฝั่งทะเลที่สำคัญของจีนก็คือ ญี่ปุ่น
ในศตวรรษที่ 16 มีโจรสลัดระบาดมาก จีนต้องเผชิญกับภัยคุกคามโจรสลัดญี่ปุ่นถึงกับต้องห้ามการค้าทางทะเล ห้ามต่อเรือขนาดใหญ่ และอพยพคนจีนออกจากชายฝั่ง ภัยคุกคามจากโจรสลัดได้พัฒนาเป็นการคุกคามจากญี่ปุ่น เมื่อญี่ปุ่นบุกเกาหลีได้ใน ค.ศ. 1592 จนทำให้จีนต้องตัดสินใจรบกับญี่ปุ่นเพื่อปกป้องดินแดนแมนจูเรียและจีนในภาคเหนือ การรุกของญี่ปุ่นได้สิ้นสุดลงเมื่อขุนศึกฮิเดโยชิถึงแก่อสัญกรรมทำให้ญี่ปุ่นต้องถอยทัพกลับ และสิ้นสุดอย่างแท้จริงเมื่อตระกูลโตกูงาวาได้ดำเนินนโยบายปิดประเทศใน ค.ศ. 1636 เมื่อสิ้นภัยคุกคามกับญี่ปุ่น จีนกลับต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากแมนจูต่อในศตวรรษที่ 17

เศรษฐกิจ
ภาษี
  • ในสมัยเริ่มแรกภาษีที่ดินเป็นรายได้หลักของรัฐ เจ้าของที่ดินต้องเสียภาษีตามที่ถือครอง
  • พลเรือนต้องขึ้นทะเบียนเพื่อเรียกเกณฑ์และเสียภาษีตามเกณฑ์แรงงานและการถือครองที่ดิน โดยชายฉกรรจ์ที่ทีอายุ 16-60 ปี ต้องขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานเพื่อราชการบ้านเมือง
  • รัฐได้รีดภาษีและแรงงานจากราษฎรด้วยวิธีสลับซับซ้อนมาก จึงต้องจัดตั้งการรวมตัวของแรงงานเรียกว่า “ระบบหลีเจีย” มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีและเรียกเกณฑ์แรงงาน ช่วยเหลือนายทะเบียนในการขึ้นทะเบียนพลเรือน (บัญชีหางว่าว)
  • รัฐจัดเก็บภาษีพืชผลตามฤดูกาลเก็บเกี่ยวปีละ 2 ครั้ง คือในเดือน 8 (ภาษีฤดูร้อน) และเดือน 2 (ฤดูใบไม้ร่วง)
  • ในศตวรรษที่ 16 รัฐเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บภาษีโดยยินยอมให้ชำระภาษีเป็นเงินสดได้แทนการถูกเรียกเกณฑ์แรงงาน และปรับปรุงให้สะดวกขึ้นโดยมีระบบเหมาจ่ายโดยรวมภาษีทุกประเภทเข้าด้วยกันเป็นภาษีเดียวและชำระโดยใช้เงินสดคือเหรียญกษาปณ์เงิน (Silver)

การเกษตร
  • ราชวงศ์หมิงมีนโยบายเศรษฐกิจแบบยังชีพด้วยตนเองในทุกระดับของชุมชน ตระหนักในคติขงจื๊อที่ถือว่าการเกษตรเป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ของแผ่นดิน
  • มีการบังคับอพยพประชากรจากภาคใต้ไปฟื้นฟูที่ดินใหม่และตั้งถิ่นฐานในลุ่มแม่น้ำฮวงโฮและแม่น้ำหวาย เนื่องจากราชวงศ์หมิงไม่มีการจัดสรรและปฏิรูปที่ดินใหม่เพราะเกรงจะกระทบต่อชนชั้นปกครองเจ้าของที่ดิน
  • มีการแจกจ่ายที่ดินแก่ทหารประจำการประจำท้องถิ่นเพื่อยังชีพด้วยตนเอง
  • จนกระทั่งศตวรรษที่ 15 รัฐได้ดำเนินนโยบายยึดที่ดินขนาดใหญ่จากชนชั้นเจ้าของที่ดินแล้วแจกจ่ายให้ชาวนาหรือให้เช่า
  • รัฐมีการส่งเสริมให้ชาวนาปลูกพืชไร่เพื่อบำรุงรักษาดิน มีการบำรุงรักษาระบบชลประทาน ออกระเบียบสำรองข้าวเปลือกขึ้นยุ้งฉางหลวงเพื่อใช้ในยามเกิดภัย
  • แนะนำการปลูกพืชพันธ์ในเขตแล้ง เช่น ข้าวฟาง และมีการนำพืชพันธ์ชนิดใหม่มาทดลองปลูก เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด มันเทศ ฝ้าย ที่นำมาจากอเมริกา

การค้าขาย
  • การค้าขายมีความก้าวหน้าจนเกิดระบบทุนนิยม
  • การค้าภายในเป็นการค้าระหว่างภูมิภาค สินค้าได้แก่ ข้าวเปลือก เกลือ ยารักษาโรค อาหารทะเล ไม้ เครื่องปั้นดินเผา สิ่งทอ ศิลปวัตถุ เครื่องโลหะ เครื่องถ้วยเปลือกไข่ สินค้าฟุ่มเฟือย
  • การค้ากับโลกภายนอก จีนมีเส้นทางการค้าทางบกในเอเชียกลาง และเส้นทางการค้ากับทะเล ภาคใต้ของมณฑลฝูเจียนติดต่อกับโลกภายนอกโดยเฉพาะโปรตุเกส ศูนย์กลางส่วนใหญ่อยู่ที่เมืองฉวนโจว จางโจว กวงตุ้ง หุยโจว และมณฑลซานซี ส่านซี กานสู มณฑลเจ้อเจีย ในเมืองนานกิง ซูโจว หางโจว
  • การค้าทางทะเลมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีการพัฒนาการต่อเรือที่ล้ำหน้ากว่าชนชาติใดในโลกที่สามารถเดินข้ามมหาสมุทรได้ไกล สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ ไหม เหรียญกษาปณ์ทองแดง เครื่องถ้วยเปลือกไข่ เครื่องเคลือบลงยา เครื่องปั้นเผา
  • ใน ค.ศ. 1498 จีนได้ตั้งหน่วยราชการพิเศษเพื่อควบคุมดูแลการค้าทางทะเลขึ้นถึง 3 แห่ง คือที่เมืองหนิงโปทำการค้ากับญี่ปุ่น ที่เมืองฉวนโจวทำการค้ากับหมู่เกาะริวกิวและไต้หวัน ที่เมืองกวางตุ้งทำการค้ากับเอเซียอาคเนย์
  • การค้าขายใช้ระบบเงินตรา ชำระภาษีด้วยเงินสด เป็นเหรียญเงิน (เดิมนำเข้ามาจากแถบเม็กซิโก)ควบคู่กับเหรียญทองแดง ยังไม่มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอน
  • เกิดสมาคมการค้าประจำภูมิภาค แต่ละที่ล้วนมีหอประชุมตามศูนย์การค้า โดยเฉพาะในนครปักกิ่ง

การเมืองการปกครอง
  • มีการฟื้นฟูการปกครองและการสอบคัดเลือกเป็นข้าราชการแบบราชวงศ์ถัง
  • ระบอบการปกครองมีลักษณะเป็นไตรภาคีมี 3 ส่วน เป็นหลัก คือ ระบบราชการพลเรือน ระบบราชการทหาร และระบบผู้ตรวจราชการ
  • ระบบราชการดำเนินตามพระบรมราชโองการและพระบรมราชวินิจฉัย
  • การปกครองส่วนกลางเป็นระบบราชการพลเรือนบังคับบัญชา 6 กระทรวง และหน่วยราชการพิเศษอีกมากมายที่สำคัญได้แก่ หน่วยกำกับการขนส่งภาษีข้าว สำนักข้าหลวง ข้าหลวงตรวจการแผ่นดินและสำนักผู้ว่าราชการ
  • การปกครองส่วนภูมิภาคมีการจัดแบ่งเป็นพื้นที่การปกครอง 2 ประเภท คือ ระดับมณฑล มีทั้งหมด 15 มณฑล และมหานครเป็นพื้นที่การปกครองพิเศษขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ในระดับท้องถิ่นมีการแบ่งพื้นที่เป็นอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
  • สร้างประมวลกฏหมายหมิง ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายอาญาและการบริหารราชการ
  • การสอบราชการ ผู้สอบต้องผ่านการศึกษาตามลัทธิขงจื๊อ แบ่งการสอบเป็น 4 ระดับ คือระดับอำเภอ ระดับมณฑล การสอบที่เมืองหลวง และการสอบหน้าพระที่นั่ง

วัฏจักรราชวงศ์
  • การจัดเก็บภาษีแต่ละขั้นตอนอย่างซอยถี่หยิบก่อให้เกิดช่องว่างในการทุจริต การประเมินภาษีไม่เสมอภาค ทำให้รัฐขาดรายได้และประชากรเกิดตกทุกข์ได้ยาก
  • ข้าราชการไม่สามารถปฏิบัติราชการได้เต็มความสามารถเพราะเกรงพระราชอำนาจ ราชภัย จักรพรรดิบางพระองค์ไม่ทรงพระปรีชาแต่กับทรงพระราชอำนาจไว้เด็ดขาด ไม่สนพระทัยในพระราชกิจ วงการเมืองภายในเต็มไปด้วยการต่อสู้แย่งชิงอำนาจ ขันทีทรงอำนาจอิทธิพลทั้งฝ่ายในและฝ่ายหน้า
  • แผ่นดินลุกเป็นไฟเกิดกบฏลุกฮือพร้อมกับโจรผู้ร้ายซุกชุม กบฏที่ลุกฮือมีหลีจือเฉิงเป็นผู้นำได้เข้ายึดนครปักกิ่ง กบฏอีกกลุ่มนำโดยจางเสียนจุงบุกยึดมณฑลเฉฉวน จักรพรรดิทรงปลงพระชนม์ชีพ แม่ทัพอู๋ซันกุยจึงเรียกขอทัพอานารยชนแมนจูเข้าปราบปรามโจร ใช้เวลาหลายสิบปีกว่าแผ่นดินจีนจะสงบ และแมนจูได้ปกครองแผ่นดิน

ราชวงศ์หยวน / ต้าหยวน (มองโกล)

ราชวงศ์มองโกล (ราชวงศ์หยวน)
กุบ ไลข่าน ปฐมจักพรรดิ์ราชวงศ์หยวน

ราชวงศ์หยวน คือหนึ่งในราชวงศ์ของจักรวรรดิจีน ก่อตั้งขึ้นเมื่อกุบไลข่านผู้นำเผ่า
ชาวมองโกล ได้โค่นอำนาจราชวงศ์ซ่งลง แล้วเปิดศักราชชาวมองโกลครองประเทศจีน

มองโกลคือใคร
  • มองโกลคือกลุ่มอาณารยชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนมองโกเลียใกล้แม่น้ำโอคอน
  • เป็นพวกเร่ร่นอเลี้ยงสัตว์ อาศัยอยู่ตามกระท่อมผ้าสักหลาด
  • ยังชีพด้วยเนื้อสัตว์ นม และส่านม จากแม่ม้า
  • เป็นชนกลุ่มน้อยในดินแดนมองโกเลีย ชื่อเผ่าหยวน-หยวน

ทหารมองโกล
  • ชาวมองโกลฝึกการเป็นนักรบแต่เยาว์วัย
  • กองทหารเป็นกองทหารรักษาพระองค์ ประมาณ 10,000 8o แบ่งออกเป็นหน่วยตั้งแต่หลักสิบ ร้อย พัน หมื่น
  • หน่วยรบของมองโกลเป็นหน่วยรบบนหลังม้าเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง มีความอดทนต่อทุกสภาพดิน ฟ้า อากาศ และภูมิประเทศ
  • มีความเคร่งครัดในกฎระเบียบ

กองทหารของเตมูจิน (กองทัพมัจจุราช)
  • เป็นหน่วยจู่โจมสายฟ้าแลบ มีความชำนาญในการข่าว การสืบ
  • เป็นทหารม้าขมังธนู ชำนาญการใช้คันศรหน้าม้า ธนูเจาะเกาะ สวมหมวกเหล็ก เกาะหนังสัตว์ มีอาวุธประจำกาย คือ ดาบโค้ง ทวน หอกปลายโค้ง และคธา
  • ม้าศึกจะถูกฝึกฝนให้มีความอดทนเป็นม้ารบที่ทรหด
  • ใช้กลศึกในการรบรุก สร้างกลลวง การปฏิบัติการทางจิตวิทยา
  • ใช้สัญญาณติดต่อโดย จุดไฟ สร้างควัน ยกโคมสี
  • มีการปรับใช้อาวุธของจีน คือ เครื่องกระทุ้ง ดินปืน การวางระเบิดแนวกำแพง

การตั้งตนเป็นใหญ่
  • เริ่มต้นเมื่อเตมูจินขยายอำนาจโดยอาศัยสถานการณ์สมัยซ่งแบ่งแยกเป็น 2 ส่วน
  • ในค.ศ. 1206 เตมูจินตั้งตนเป็น “เจ่งกิสข่าน” แปลว่า จักรพรรดิผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล โดยถือคติอันชอบธรรมแห่งสวรรค์ กล่าวว่าพระผู้เป็นเจ้าแห่งทุ่งหญ้าได้ประทานอำนาจให้

ความยิ่งใหญ่ของมองโกล
  • มองโกลขยายอำนาจไปไกลที่สุดทางตะวันตกถึงทะเลสาบแคสเปียน ทางเอเซียตะวันออกถึงตอนเหนือของจีน
  • มองโกลขยายอำนาจโดยเริ่มต้นบดขยี้อาณาจักรคาราคีไตของกลุ่มคีตานในตุรกีตะวันออก จากนั้นเข้าบดขยี้อาณาจักรโคเรชของกลุ่มเตอร์ก บรรดาเมืองในโอเอซีส
  • เข้าควบคุมการค้าคาราวานในเอเชียกลาง
  • ในสมัยบาตูร์ (หลานเตมูจิน) ได้รุกรุสเชียกลาง โปแลนด์ ฮังการี บัลแกเรีย วาลาเชีย และบอลดาเวีย
  • ในค.ศ. 1245-1253 ได้ทำลายดินแดนเมโชโปเตเมีย อาเชอร์ไมจาน อาร์เมเบียจอร์เจีย เปอร์เชีย แบกแดด ชีเรีย ยกเว้นอียิปต์เท่านั้นที่มองโกลพิชิตไม่ได้
  • ในจีนมองโกลใช้เวลาในการพิชิตถึง 69 ปี (ค.ศ. 1211-1280) โดยเริ่มพิชิตหยูเจิน ชีเซี่ย ยุนนาน และซ่ง ในสมัยของกุบไลข่าน
  • หลังจากหยึดจีนได้แล้ว มองโกลเริ่มขยายอำนาจมาทางเกาหลี ญี่ปุ่น และเอเชียตะวันออกฉียงใต้ ชวา มลายู และสุมาตรา
  • ในทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มองโกลไม่สามารถพิชิตด้วยกำลังได้ แต่ได้ดำเนินนโยบายทางการทูต ทำให้ ญี่ปุ่น ชวา พม่า เวียดนาม สุมาตรา มลายู ไทย ยอมส่งบรรณาการให้แก่มองโกล
  • มองโกลยิ่งใหญ่ไพศาลมากที่สุดในสมัยกุลไลข่าน โดยปกครองครอบคลุมเอเชียตะวันออก ตะวันออกกลาง และยุโรปตะวันออก

จีนภายใต้การปกครองของมองโกล
  • มองโกลปกครองจีนนาน 89 ปี (1279-1368)
  • จีนเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมองโกลภาคมห่ข่าน โดยมองโกลได้ย้ายเมืองหลวงจากคาราโครัมมาที่ปักกิ่ง และได้สถาปนาราชวงศ์จีนใหม่ขึ้น เรียกว่า “ราชวงศ์หยวน” หรือ “ต้าหยวน”
  • ทหารจีนสมัยมองโกลส่วนใหญ่มาจากชนหลายเชื้อชาติ เนื่องจากปัญญหาจีนหันหลังและเป็นปรปักษ์กับมองโกล
  • มีการพัฒนาขุดคูคลอง คลองหลวงเชื่อมสายที่สองจากเหนือเชื่อมต่อภาคกลาง ตัดทางหลวงถนนใหม่ การไปรษณีย์โดยใช้ม้า สร้างยุ้งฉางหลวงตามไหลทาง
  • สร้างพระมหาราชวังต้องห้าม

เศรษฐกิจ
  • การค้าได้รับการส่งเสริมให้มีการผลิตและจัดจำหน่ายผ่านเส้นทางคลองหลวงสายที่สอง สินค้าออกที่สำคัญคือ ไหม และเครื่องปั้นเผ่า
  • พ่อค้าคนกลางส่วนใหญ่เป็นพวกมุสลิม ต่างรวมตัวกันในรูปแบบสมาคมพ่อค้า ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรแทนรัฐ ทำให้พ่อค้าและข้าราชการต่างสมประโยชน์และฉ้อราษฏร์บังหลวง
  • ระบบการเงินใช้แบบเดียวกับของสมัยซ่ง (ธนบัตร) แต่ห้ามท้องถิ่นออกระบบเงินตราเอง
  • การเสียภาษีอนุญาตให้ชำระเป็นธนบัตรได้
  • สมัยกุบไลข่านเมืองจางโจวกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญทางเศรษฐกิจ

ราชวงศ์ซ่ง

ราชวงศ์ซ่ง
ซ่งไท่จู่

เมื่อสิ้นราชวงศ์ถัง จีนแตกออกเป็น 2 ฝ่าย ภาคเหนือ มีราชวงศ์ปกครองสืบต่อเนื่องกันตามลำดับมากมายหลายราชวงศ ภาคใต้มีราชอาณาจักรมากถึง 10 ราชอาณาจักร

ใน ค.ศ. 960 จ้าวควงหยิน สามารถรวบรวมดินแดนและสถาปนาราชวงศ์ซ่งได้และสถาปนาเมืองไคเฟิงเป็นเมืองหลวง เจ้า ควงหยิน (พระเจ้าซ่งไท่จู่) ได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาใหม่ แต่กลับตัดทอนอำนาจทางการทหาร ของแม่ทัพ เนื่องจากความระแวง กลัวจะยึดอำนาจ ทำให้การทหารอ่อนแอ ในราชวงศ์นี้ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมรุ่งเรืองมาก การศึกษาของประชาชนดีขึ้น และเปาบุ้นจิ้น ก็ได้เกิดในยุคสมัยของจักรพรรดิซ่ง เหยินจง ซึ่งเป็นยุคที่ฮ่องเต้อ่อนแอ อำนาจอยู่ในมือพวกกังฉิน

ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าต่างๆ คือ พวกเซี่ย พวกชิตัน (เมืองเหลียว) จึงมีศึกอยู่ตลอดมา แถมยังต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึก ต้องส่งบรรณาการให้ ทำให้การเงินไม่คล่องตัว จนมีนักปฏิรูปชื่อ"หวังอั้นจี่" ออกกฎหมายมาควบคุมการใช้เงิน ของบรรดาเชื้อพระวงศ์ แต่สุดท้าย ก็ต้องยกเลิก เพราะไปขัดผลประโยชน์เจ้าใหญ่นายโต ครั้นต่อมา มีชนเผ่าจินหรือกิม (บรรพบุรุษของแมนจู) เข้ามาตี และเนื่องจากมีขุนนางกังฉิน ไปเข้ากับศัตรู ดังเช่น ฉินไคว่ กังฉิน ซึ่งใส่ความแม่ทัพงักฮุย และสังหารงักฮุยกับลูกชาย ทำให้ชาวจีนเคียดแค้นชิงชังอย่างยิ่ง บวกกับการทหารที่อ่อนแออยู่แล้ว ผสมกับฮ่องเต้ที่ไร้สามารถ หูเบา เชื่อฟังกังฉิน ทำให้พวกจินสามารถบุกจนถึงเมืองไคฟง (เมืองหลวง) จึงต้องย้ายเมืองหลวง ไปอยู่ทางทิศใต้ มีชื่อเรียกว่า ซ่งใต้ ซึ่งพวกจินก็ยังตามล้างผลาญตลอด ต่อมาในที่สุด พวกจิน, เซี่ยกับชิตันก็ถูกมองโกล ซึ่งนำโดย เจงกิสข่าน (เตมูจิน) เข้าตี แล้วหันมาตีจีนต่อจนถึงปักกิ่ง หลังจากนั้น กุบไลข่าน หลานปู่ของเจงกิสข่าน ได้โจมตีราชวงศ์ซ่งใต้ โดยได้ความร่วมมือจากขุนนาง และทหารของราชวงศ์ซ่งบางคน ที่กลับลำหันมาช่วยเหลือมองโกล โจมตีพวกของตัวเอง จนสิ้นราชวงศ์ในที่สุด แล้วกุบไลข่านจึงตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นมาแทน

การรุกรานของอาณารยชน
  • ราชวงศ์ซ้องต้องเผชิญกับการรุกรานของจักรพรรดิคีตานแห่งราชวงศ์เหลียวและจากเผ่าตันกุตของธิเบต
  • ซ้องต้องดำเนินการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีโดยการทูตและการส่งบรรณาการ
  • ต่อมาคีตานและตันกุตต่างเพิ่มบรรณาการสูงขึ้น จีนต้องรักษาดุลยภาพโดยต้องจำนนทั้งสองฝ่าย
  • การส่งบรรณาการทำให้จีนต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรมหาศาล ราชวงศ์ซ่งจึงต้องดำเนินกุศโลบายทลายพลังอาณารยชนโดยยุยงคีตานให้แตกกระจายเป็นปรปักษ์ต่อกันโดยให้อาณารยชนตันกุตกลุ่มหยูเจินปลดแอกคีตาน ใน ค.ศ. 1114
  • กลุ่มคีตานต้องอพยพไปตั้งมั่นในดินแดนตุรกีสถานตะวันออก เรียกว่าอาณาจักรคารา-คีไต
  • อาณารยชนหยูเจินกลายเป็นภัยที่น่าสพรึงกลัว ในสมัยจักรพรรดิหุยจุง ราชวงศ์ซ่งต้องเผชิญภัยจากหยูเจินคุกคามอย่างหนัก ทำให้ราชวงศ์ซ้องได้ครองดินแดนเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น
  • ใน ค.ศ. 1126 หยูเจินได้บุกยึดเมืองไคเฟิง จับกุมจักรพรรดิหุยจุงไว้ได้
  • ตั้งแต่ ค.ศ. 1127 แผ่นดินจีนต้องตกอยู่ภายใต้ 2 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์จินของกลุ่มหยูเจินปกครองทางเหนือ ส่วนตอนกลางและทางใต้อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซ่ง
  • ค.ศ. 1153 ราชวงศ์จินได้สถาปนาเมืองหลวงที่ปักกิ่ง และ 8 ปีต่อมาได้สถาปนาเมืองไคเฟิงเป็นเมืองหลวง นับเป็นครั้งที่อาณารยชนรุกคืบหน้าเข้าครองแผ่นดินกึ่งหนึ่ง
  • ระหว่าง ค.ศ. 1127-1279 ราชวงศ์ซ่งได้พยายามรวมจีนโดยพยามขับไล่กลุ่ใหยู่เจิน แต่ไม่สำเร็จ ราชวงศ์ซ่งจึงต้องยอมสงบศึกและทำข้อตกลงเป็นเมืองขึ้น ส่งเครื่องบรรณาการมหาศาล สิ้นสุดพละกำลัง ทำให้อาณารยชนคีตานและหยูเจินใช้กำลังทางทหารทำลายจักรวรรดิอย่างค่อยเป็นค่อยไป สุดพละกำลังที่จะต่อต้านอาณารยชนมองโกล
  • คีตานและหยูเจินจึงเป็น 2 กลุ่มที่ทรงพลังที่ได้บุกเบิกรุยทางให้สะดวกแก่กองทพมองโกลในการพิซิตจีน

ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
  • เทคโนโลยีผลิตสินค้าและบริการ การจัดการธุรกิจการค้า ลูกคิด
  • เทคโนโลยีในการผลิตแร่และโลหะ ได้แก่ เหล็กกล้า การสร้างปืนใหญ่เบื้องต้น เครื่องยิง อาวุธซัดส่ง กลยุทธปิดล้อมป้อมค่ายประชิด การผลิตดินปืน หอกเพลิง วัตถุระเบิด ระเบิดทุ่นดินปืน
  • การต่อเรือในการค้าทางทะเลข้ามมหาสมุทร
  • การพิมพ์ การพิมพ์โดยการใช้แม่พิมพ์ที่แกะจากไม้เป็นตัวหนังสือและภาพ การผลิตกระดาษจากเยื่อไม้ การสร้างแม่พิมพ์ตัวอักษรเป็นคำๆ มากมาย วิธีพิมพ์โดยใช้แม่พิมพ์จุ่มสีหรือหมึกแล้วกดหรือประทับลงบนกระดาษเรียงเป็นข้อความ ต่อมาได้มีการพัฒนามาเป็นแม่พิมพ์โลหะหรือกระเบื้องหรือทองแดง แล้วนำมาเรียงกันเป็นตัวๆ เป็นแม่พิมพ์ตัวเรียง
  • เทคโนโลยีการปกครองโดยพัฒนาระบบการสอบคัดเลือกเป็นราชการ ตั้งผู้ว่าราชการเป็นข้าราชการพลเรือน
  • การแพทย์ การใช้กระเบาเป็นยารักษาโรคเรื้อน
  • เป็นรัฐบาลแรกในโลกที่ใช้เงินตราแบบกระดาษ

เศรษฐกิจ
  • รายได้หลักมาจากการเกษตร
  • การค้าขายภายในเป็นการค้ามีลักษณะเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างท้องถิ่นด้วยกันรัฐเป็นผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนโดยผ่านการจัดเก็บภาษี การผูกขาด และการควบคุมด้วยวิธีการต่างๆ พ่อค้าเป็นเพียง ผู้ค้าปลีก จำหน่ายสินค้าฟุ่มเฟือย
  • การค้าขายระหว่างประเทศ ทางบกเป็นการค้ากับอาณารยชนในเอเชียกลาง ราชวงศ์ภาคเหนือของซ่งเหนือ เส้นทางสายไหมตกเป็นของพวกมุสลิม ถูกปิดตาย ต้องพึงการค้าทางทะเลแทน
  • การค้าทางทะเลสามารถต่อเรือขนาดใหญ่จุคนได้นับร้อย เดินเรือโดยใช้เข็มทิศเป็นการค้าขายที่จีนเดินทางไปขายโดยตรงและพ่อค้าต่างชาติเดินทางมาค้ากับจีน
  • ศูนย์กลางการค้าทางทะเลอยู่ที่ฉวนโจว ครอบครองน่านน้ำทะเลจีนตะวันออกกับเกาหลี จีนใต้กับ เกาะสุมาตรา
  • จักรวรรดิจีนกลายเป็นมหาอำนาจเหนือน่านน้ำสากลโลกตะวันออก
  • สินค้าเข้าที่สำคัญ คือ เครื่องเทศ ม้า และแร่ธาตุ สินค้าออก คือ สินค้าฟุ่มเฟือย ทองแดง ไหม เครื่องถ้วยเปลือกไข่
  • ใช้ลูกคิดในการคำนวณได้อย่างรวดเร็ว ความต้องการเงินมีมากขึ้นจนผลิตเหรียญกษาปณ์ไม่พอต้องใช้เหรียญทำด้วยเหล็กแทน เอกชนได้รับอนุญาตให้ผลิตธนบัตรแต่ผลิตมากจนไร้ค่า รัฐจึงต้องห้ามผลิตและเป็นผู้ผลิตเพียงผู้เดียว
  • บรรดาธนาคารนิยมรับฝากเงินโดยโดยให้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีอายุการไถ่ถอน 3 ปี สามารถใช้เป็นเงินสดได้ต้องเสียธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 3
  • องค์กรของพ่อค้ามีความสำคัญขึ้น สมาคมพ่อค้ารวมตัวกันตามอาชีพและย่านการค้าหรือถนนสายหลักของการค้า
  • ในสมัยซ่งถือได้ว่าเป็นยุคแห่งการปฏิวัติการค้าจนเกิดการค้าระหว่างประเทศทางทะเลขึ้น
  • ศตวรรษที่ 19 จีนได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วมีความเจริญเป็นชุมชนเมืองสมัยใหม่ที่เรียกว่า“นาครธรรม”

การเมืองการปกครอง
  • พระราชามีอำนาจเด็ดขาด สามารถตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจการบริหารได้ จักรพรรดิทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการกำหนดวินิจฉัยราชการแผ่นดิน
  • จักพรรดิทรงสร้างองค์กรใหม่ที่ขึ้นต่อพระองค์ ได้แก่
    1. คณะเสนาบดีไม่เป็นทางการ ทำหน้าที่เป็นคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
    2. คณะองคมนตรี มีหน้าที่เป็นสำนักกิจการทหาร
    3. คณะราชบัญฑิต ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์
    4. สำนักข้าหลวงการคลัง ทำหน้าที่กำกับดูแลการคลัง การบัญชี ภาษีอากร การจดทะเบียนที่ดิน กำลังคน
    5. สำนักผู้ตรวจราชการ มีหน้าที่วิจารณ์นโยบายและรับเรื่องร้องทุกข์ ตรวจสอบการปฏิบัติราชการ
  • การปกครองส่วนภูมิภาค กำหนดพื้นที่การปกครองเป็นระดับมณฑล กำกับดูแลระดับจังหวัด ระดับจังหวัดทำหน้าที่บริหารระดับอำเภอ

สังคม
  • สังคมจีนแบ่งเป็น 4 ชนชั้น คือ นักวิชาการ ชาวนา ช่างศิลป์ และพ่อค้า
  • ศูนย์กลางชีวิตอยู่ตามมหานครทั้งหลาย มีแหล่งสถานเริงรมย์ ร้านสุรา ร้านอาหาร ร้านน้ำชา สถานหญิงบริการ โรงมหรสพ กวีตามท้องถนน
  • ชนชั้นผู้ดีพัฒนามาจากกลุ่มผู้รู้ โดยการศึกษาและสอบคัดเลือกเป็นข้าราชการ ชนชั้นผู้ดีมักมีเคหสถานภายในกำแพงเมือง
  • ชาวนามีฐานะเป็นทาสติดที่ดิน สามารถเป็นไทแก่ตนได้เองได้ถ้ามีเงินทองเพียงพอ มีสิทธิ์ซื้อที่ดินได้
  • สถานะภาพสตรีตกต่ำ เป็นเครื่องบำรุงบำเรอแก่บุรุษในครอบครัวและสังคม
  • ริเริ่มประเพณีมัดเท้าสตรีในตระกูลสูง จากรสนิยมของบุรุษทีมองว่าเท้าสตรีที่เล็กงอเข้าหาตัวเป็นรูปดอกบัวหรือพลับพลึงดูเย้ายวนน่าถนุถนอม
  • ครอบครัวผู้มีฐานะสูงส่งนิยมมีภรรยามากๆ ระบบครอบครัวขยายเป็นสถาบันมากลูกมากภรรยา
  • คนจีนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เชื่อถือและปฏิบัติตามลัทธิเต๋าและขงจื๊อไปพร้อมๆ กัน

ราชวงศ์ถัง

ราชวงศ์ถัง
ถังไท่จง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ถัง
การสถาปนา
  • ปลายราชวงศ์สุย แผ่นดินอยู่ในสภาพระส่ำระสายจากกลุ่มกองกำลังต่างๆที่ลุกฮือขึ้น ปี 617 หลี่ยวนที่รักษาแดนไท่หยวน ตกอยู่ในภาวะล่อแหลม เนื่องจากไท่หยวนเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่กลุ่มกองกำลังต่างต้องการแย่งชิง ขณะเดียวกันก็ทราบว่าสุยหยางตี้ทรงระแวงว่าหลี่หยวนจะแปรพักตร์ จึงประกาศตัวเป็นอิสระจากราชสำนัก
  • เวลานั้น กองกำลังหวากั่ง และเหอเป่ย เข้าปะทะกับกองทัพสุย เป็นเหตุให้กำลังป้องกันของเมืองฉางอันอ่อนโทรมลง หลี่ยวนได้โอกาสบุกเข้ายึดเมืองฉางอันไว้ได้ จากนั้นตั้งหยางโย่ว เป็นฮ่องเต้หุ่น ปีถัดมา สุยหยางตี้ถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองเจียงตู หลี่ยวนจึงปลดหยางโย่ว ประกาศตั้งตนเป็นกษัตริย์ สถาปนาราชวงศ์ถังโดยมีนครหลวงอยู่ที่เมืองฉางอัน
  • หลังจากสถาปนาราชวงศ์ได้แต่งตั้งโอรสองค์โตหลี่เจี้ยนเฉิง เป็นรัชทายาท หลี่ซื่อหมิน โอรสองค์รองเป็นฉินหวังและหลี่หยวน โอรสองค์เล็กเป็นฉีหวัง
  • ลี่ซื่อหมินทรงมีพระปรีชาปราบปรามเจ้าท้องถิ่นต่างๆได้สร้างผลงานไว้มาก เมื่อสิ้นสุดสงครามแล้วจึงเกิดการแย่งราชสมบัติระหว่างหลี่ซื่อหมินกับองค์ชายรัชทายาทหลี่เจี้ยนเฉิง ในค.ศ. 626 ในเหตุการณ์ประตูซวนอู่ หลี่ซื่อหมินปลงพระชนม์องค์ชายรัชทายาทพระเชษฐาและพระอนุชา จักรพรรดิเกาจู่พระบิดาจึงทรงไม่อาจทนได้ที่เห็นพระโอรสเข่นฆ่ากันเองจึงทรงสละราชสมบัติเป็นไท่ซ่างหว่าง ให้พระโอรสหลี่ซื่อหมิน เป็นจักรพรรดิถังไท่จง
  • เมื่อถังไท่จงสวรรคต ถังเกาจงหลี่จื้อขึ้นครองราชย์ ภายหลัง ถังเกาจงร่างกายอ่อนแอ ล้มป่วยด้วยโรครุมเร้า ไม่อาจดูแลราชกิจได้ บูฮองเฮา(บูเช็กเทียน)จึงเข้าช่วยบริหารราชการแผ่นดิน และเริ่มกุมอำนาจในราชสำนัก สุดท้ายสามารถรวบอำนาจไว้ทั้งหมดในปี 683 รัชทายาท หลี่เสี่ยน โอรสองค์ที่สามของบูฮองเฮาขึ้นครองราชย์ต่อมา พระนามว่า ถังจงจง ปีถัดมา บูเช็กเทียนปลดถังจงจง จากนั้นตั้ง หลี่ตั้น ราชโอรสองค์ที่สี่ขึ้นครองราชย์แทน พระนามว่าถังรุ่ยจง แต่ไม่นานก็ปลดจากบัลลังก์เช่นกัน กระทั่งปี 690 บูเช็กเทียนประกาศเปลี่ยนราชวงศ์ถังเป็น ราชวงศ์โจว หรือในประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า ราชวงศ์อู่โจว มีนครหลวงที่ ลั่วหยาง ตั้งตนเป็นจักรพรรดินี ทรงอำนาจสูงสุด ด้วยวัย 67 ปี ถือเป็นจักรพรรดินีองค์แรกและองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีน
  • เมื่อถึงปี 705 พระนางบูเช็กเทียนวัย 82 ปี ได้ล้มป่วยลงด้วยชราภาพ เหล่าเสนาบดีที่นำโดยจางเจี่ยนจือ ก็ร่วมมือกันก่อการ โดยบีบให้บูเช็กเทียนสละราชย์ให้กับโอรสของพระองค์ ถังจงจงหลี่เสี่ยน และรื้อฟื้นราชวงศ์ถังกลับคืนมา ภายหลังเหตุการณ์ไม่นาน บูเช็กเทียนก็สิ้นพระชนม์

ความเจริญทางด้านวิทยาการ
  • สมัยราชวงศ์ถังเป็นการสืบต่อและพัฒนาความเจริญสืบต่อจากอดีต เช่น ธรรมชาติวิทยา ดาราศาสตร์ การแพทย์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์
  • ภูมิปัญญาในสมัยถังเจริญมากเพราะมีการเผยแพร่ด้วยสื่อภาษาเป็นลายลักษณ์อักษรบนกระดาษด้วยการพิมพ์ที่พัฒนามาจากการสร้างตราขนาดใหญ่ในสมัยฮั่นที่ทำจากหินมาเป็นไม้
  • วิทยาการในการพิมพ์ทำให้ความรู้ วรรณกรรมของจีนแพร่หลายไปไกลถึงเกาหลีและญี่ปุ่น
  • โลกตะวันตกต้องใช้เวลาอีก 1000 กว่าปี กว่าจะเรียนรู้เทคโนโลยีนี้ไปจากจีนผ่านเอเชียกลางและตะวันออกไกล

เศรษฐกิจ
  • ยกเลิกภาษีรายหัว จัดระบบใหม่โดยรวมภาษีทุกประเภทไว้เป็นภาษีเดียวคือภาษีที่ดิน เก็บปีละ 2 ครั้ง
  • กำหนดมาตรฐานชั่ง วัด ตวงใหม่ เพื่อเทียบค่าสินค้ากับเงินตราที่จะใช้แลกเปลี่ยน เพื่อจัดเก็บภาษีการค้า
  • สินค้าหลักคือ ข้าวเปลือกและผ้าไหม เงินตราหลัก คือ เงินสดและเหรียญกษาปณ์เงิน
  • ภาษีการค้าเก็บจากสินค้าประมาณร้อยละ 10-20 มีมากกว่าภาษีที่ดิน
  • นอกจากค่าภาษียังมีค่าจอดเรือและธรรมเนียมการค่า
  • สินค้าผูกขาดยังเป็นพวกเกลือ เหล็ก และชา
  • พัฒนาการขนส่งโดยระบบคลองเชื่อมภาคเหนือเข้ากับภาคใต้ และพัฒนาการขนส่งข้าวทางน้ำ
  • ยกเลิกการเกณฑ์แรงงาน ใช้แรงงานรับจ้างแทน
  • มีการค้ากับต่างประเทศทางทะเลเป็นส่วนใหญ่ เช่น อินเดีย และโลกเมดิเตอร์เรเนียม เอเชียกลางและโลกตะวันตก ตลาดการค้าสำคัญอยู่ที่โลหยางและฉางอัน ต่อมาได้กำหนดใหกวางตุ้งและหยางโจวเป็นการค้าเฉพาะแห่ง
  • ในปลายสมัยศูนย์การค้าทางบกได้ยกมาทางทะเล เพราะมุสลิมผู้ครอบครองเอเชียกลางปิดเส้นทางบก
  • รัฐได้ให้ชนต่างชาติทำการค้าในนามของรัฐ เช่น พ่อค้าอาหรับดำเนินการค้าให้จีนกับเอเชียใต้และเอเชียตะวันตก พ่อค้าเกาหลีดำเนินการค้าแทนจีนกับเกาหลีและญี่ปุ่น
  • ในศตวรรษที่เก้า การค้ามีกำไรงดงาม ข้าราชการและรัฐจึงเข้าดำเนินการค้าแทนพ่อค้าต่างชาติ
  • สินค้าหลักในการค้าระหว่างประเทศ คือ แร่ธาตุ เช่น ทองคำ เงิน ตะกั่ว ดีบุก, งานหัตถกรรม เช่น ไหม หนังสือ ภาพวาด งานศิลป์ เครื่องถ้วยเปลือกไข่
  • สินค้าที่จีนต้องการ คือ ผ้าฝ้ายเนื้อดี ม้า หนังสัตว์ สินค้าฟุ่มเฟือย ไม้เนื้อดี เพชรนิลจินดา เครื่องเทศ และงา

ระบบเงินตรา
  • ในตอนต้นราชวงศ์ใช้เหรียญกษาปณ์ทองแดง
  • ต่อมาเมื่อเศรษฐกิจดีเหรียญกษาปณ์เริ่มขาดตลาด รัฐจึงผลิตเหรียญจากโลหะแต่ไม่ได้รับความนิยม จึงเปลี่ยนมาเป็นเหรียญที่ผลิตจากทองคำและเงินซึ่งได้รับความนิยมสะพัดในท้องตลาดแต่มีปัญหาเรื่องน้ำหนัก
  • ต่อมมีการคิดใช้ตั๋วสินเชื่อ และธนบัตรหลายรูปแบบ รูปแบบที่นิยม คือ ตั๋วแลกเงิน ใช้แลกเปลี่ยนกันในวงการค้า อีกชนิดหนึ่ง คือ ใบฝากเงินของธนาคารเอกชน บริการไถ่ถอนในอัตราร้อยละ 3

ที่ดิน
  • ฟื้นฟูระบบจัดสรรที่ดินให้แก่ชายฉกรรจ์ที่มีอายุระหว่าง 21-59 ปี อย่างเสมอในทุกปีตามทะเบียนสำมะโนครัว ไม่เกิน 13.7 เอเคิลส์
  • ที่ดินที่เป็นพื้นที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้เป็นสิทธิ์ขาดแก่ชาวนา
  • ชาวนามีหน้าที่ชำระภาษีแกรัฐเป็นข้าวเปลือกหรือสิ่งทอ
  • ให้เกณฑแรงงานรับใช้ราชการและท้องถิ่นปีละ 20 วันหรือเสียภาษีแทนการเข้าเวร
  • สั่งอพยพผู้คนลงสู่หุบเขาแยงชีเพื่อเป็นแรงงานเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
  • เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น การจัดสรรที่ดินเริ่มมีปัญหา เจ้าหน้าที่ทุจริตจัดสรรที่ดินให้ประชาชนน้อยกว่าพิกัด ประชาชนมีที่ดินลดน้อยลงตามลำดับ สร้างความทุกข์ยากอย่างใหญ่หลวงกับประชาชน

พัฒนาการทางการเมือง
  • ข้าราชการล้วนได้รับการศึกษาล้วนมีความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมตามคติขงจื๊อ และมาจากการสอบคัดเลือกตามคติขงจื๊อ
  • การปกครองส่วนภูมิภาคมีการแบ่งเป็นมลฑล มีการสื่อสารกันโดยตั้งสถานีไปรษณีย์ตามรายทาง
  • มีการตั้งพระสมัญญานามสำหรับจักรพรรดิ เช่น จักรพรรดิเกาจือเป็นปฐมบรมกษัตริย์ จักรพรรดิไทจุงเป็นพระบรมบุรพกษัตริย์ เป็นต้น

ระเบียบบริหารราชการ
  • จักรพรรดิทรงไว้ซึ่งอำนาจเด็จขาด โดยมีองค์กรระดับสูง 3 องค์กรส่วนกลางทำหน้าที่บริหารราชการ คือ 1) ราชเลขาธิการ ทำหน้าที่วินิจฉัยนโยบายราชการแผ่นดินและตราพระบรมราชโองการ 2) สำนักเอกอัครมหาเสนาบดี ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้พระราชอำนาจ มีอำนาจในการพิจารณาข้อวินิจฉัยสั่งการของราชเลขาธิการและให้ทบทวนใหม่ 3) สำนักเลขานุการใหญ่ ทำหน้าที่สนองพระราชวินิจฉัยและพระบรมราชโองการ โดยมีองค์กรในบังคับ 6 กระทรวง
  • นอกจากองค์กรระดับสูงยังมีฝ่ายตุลาการซึ่งประกอบด้วยศาล 9 ประเภท ทำหน้าที่เกี่ยวกับพระราชพิธี บูชายัญ พิธีการทูต คดีในราชสำนัก การอุธรณ์
  • องค์กรระดับล่าง เช่น ราชบัณฑิตยสถาน, สำนักงานสรรพาวุธ, สำนักงานผู้ตรวจราชการแผ่นดินเป็นต้น
  • ระบบนิติศาสตร์มีการสร้างประมวนกฎหมายขึ้น 4 หมวด คือ ประมวลกฎหมายอาญา, ประมวลกฎหมายลักษณะการปกครอง, ประมวลกฎหมายรวมลักษณะอาญาและลักษณะการปกครอง, ประมวลกฏหมายกำหนดระเบียบการบังคับใช้กฏหมาย

การปกครองส่วนภูมิภาค
  • เดิมคงรูปแบบพื้นที่จังหวัด และอำเภอ
  • ต่อมาเปลี่ยนเป็นระบบมลฑล มีทั้งหมด 15 มลฑล มีหน้าที่รวมอำนาจในการดูแลจังหวัด
  • พื้นที่การปกครองระดับล่างคือ อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ให้ปกครองกันเองโดยมีชนชั้นผู้ดีเป็นผู้นำ
  • ส่วนกลางจัดการควบคุมสส่วนภูมิภาคโดยจัดตั้งกองทัพและส่งขันทีไปร่วมกับผู้ว่าราชการในส่วนภูมิภาค
  • กำหนดให้มลฑล จังหวัด อำเภอ ปกครองแบบถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันและตรวจสอบการใช้อำนาจกันเอง

ภูมิปัญญา
  • ศาสนาต่างชาติมีโอกาสเติบโตในจักรวรรดิจีนได้เต็มที่ เช่น พุทธ คริสต์นิกายเนสโตเรียน มานิเค โชโรแอส เตรียน อิสลามและยูดาย
  • หลังจากศตวรรษที่ 9 มีเพียงศาสนาอิสลามและยูดายเท่านั้นที่อยู่ได้นอกนั้นถูกกวาดล้างหมด โดยเฉพาะศาสนาพุทธ เนื่องจากท้าทายลัทธิขงจื๊อซึ่งเป็นอุดมการณ์ของรัฐ
  • ต่อมาเมื่อรัฐไร้ซึ่งอำนาจลัทธิขงจื๊อทำให้คนจีนเห็นว่าไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมได้ตามที่คาดหวังศาสนาพุทธจึงกลังมาเป็นทางเลือกใหม่ของคนจีนที่แสวงหาที่พึ่งทางใจ จนในที่สุดราชวงศ์ถังได้ส่งเสริมการเผลแพร่ศาสนาพุทธในจักวรรดิจีน ก่อเกิดสำนักศึกษาและปฏิบัตธรรมขึ้นทั่วไป
  • สถาปัตยกรรมนิยมสร้างด้วยเสาไม้และทับหลัง อาคารนิยมมีหลายชั้น เช่น อาคารหอคอย พระสถูปเจดีย์ 12 ชั้น ทุกชั้นมีหลังคามุงกระเบื้องเคลือบ
  • อิทธิพลของศาสนาพุทธนิยมสร้างวัดวาอารามตามขุนเขา ถ่ำ เป็นห้อง คูหา วิหารและวัดทั้งหลังสร้างด้วยศิลา
  • ประติมากรรมได้รับอิทธิพลพุทธมหายาน เช่น พระพุทธปฏิมากรวัตถุมงคล ที่นิยมใช้หินเป็นวัสดุสำคัญ พระพุทธรูปคันธารราษฎร์ เทวรูปตามคติมหายาน ดินเผาและเครื่องเคลือบตกแต่ง
  • ศิลปะการเขียนตัวอักษรวิจิตรศิลป์ การวาดภาพทิวทัศน์ การใช้ศิลปะในการเขียนตัวอักษรวาดภาพ
  • การผูกลวดลายที่คันฉ่องเป็นลายพฤกษาพรรณเป็นแนวโค้งเครือเถา ลวดลายรูปสัตว์

การเสื่อมอำนาจ
  • ราชวงศ์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและมนุษย์อย่างสิ้นเปลือง ในการสร้างโครงสร้างทางการเมือง การปกครอง การป้องกัน การสถาปนาราชวงศ์
  • ราชวงศ์มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ เพราะจัดเก็บภาษีได้ผลไม่เต็มที่ การคลังไม่มีระเบียบ
  • การบริหารราชการมีความแตกแยกร้าวลึก ระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค
  • การป้องกันจักรวรรดิตกอยู่ในมือของแม่ทัพนายกองที่ล้วนเป็นชาวต่างด้าว
  • จักรพรรดิซวนจุงลุ่มหลงพระสนมหยางกุ้ยเฟยจนละพระราชกรณียกิจให้แม่ทัพต่างชาติ “อันลูชัน” เรืองอำนาจคุมกำลังถึง 200,000 คน บัญการหทารถึง 3 แห่ง
  • อันลูซันชิงอำนาจกับน้องชายพระสนมหยางกุ้ยเฟย ถึงขั้นแตกหักและชิงราชย์ ทำให้ซวนจุงต้องหนีไปมณฑลเสฉวน พร้อมสละราชย์และสั่งประหารหยางกุ้ยเฟยและน้องชาย
  • อันลูซันถูกบุตรชายของตนลอบฆ่าในค.ศ. 757 ก่อให้เกิดความแตกแยก ทำให้ราชวงศ์ถังถือโอกาสตั้งตัวติด พลิกสถานการณ์ขึ้นจากการช่วยเหลือของอานารยชนกลุ่มอุยกูร์ ในการสถาปนาจักรพรรดิองค์ใหม่ จากนั้นราชวงศ์ถังจึงเริ่มเสื่อมอำนาจลงตามลำดับขาดประสิทธิภาพในการบริหาร
  • ประชาชนลุกฮือเพราะยากไร้ไม่มีจะกิน ก่อกบฏชาวนาหลายครั้ง แม่ทัพในภูมิภาคต่างๆ ฉวยโอกาสสร้างอำนาจ

ราชวงศ์สุ่ย

ราชวงศ์สุ่ย
แผนที่ราชวงศ์สุย

เป็นราชวงศ์ที่ทรงอำนาจทางการทหารแต่มีระยะเวลาการปกครองที่ค่อนข้างสั้น สถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 581 ภายหลังจากยุคสามก๊ก โดยจักรพรรดิสุยเหวินตี้(หยางเจียน) อดีตแม่ทัพแห่งราชวงศ์โจวเหนือ โดยในรัชกาลของพระองค์ทรงสามารถรวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง แต่ราชวงศ์สุยมีอันต้องล่มสลายลงในปี ค.ศ. 617 ในรัชกาลจักรพรรดิสุยหยางตี้(หยางกว่าง)

การสถาปนาและสร้างจักรวรรดิ
  • เมื่อสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น จีนได้แตกแยกยาวนานกว่า 400 ปี
  • ภาคเหนือและภาคใต้มีราชวงศ์หลายราชวงศ์ปกครอง
  • ตระกูลชั้นสูงทรงอำนาจมาก
  • ในปี ค.ศ. 589 ราชวงศ์สุยสามารถรวบรวมจักรวรรดิจีนได้ โดยมีฉางอันเป็นเหมืองหลวง
  • สมัยสุยเตอร์กแตกออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่
    o เตอร์กตะวัน ครอบคลุม ภาคเหนือ แมนจูเลียถึงมณฑลกานสู
    o เตอร์กตะวันตก ครอบคลุมแอ่งทามรีม ถึงเอเชียกลาง
  • มีการจัดตั้งนิคมทหารประจำถิ่นตามจุดยุทธศาสตร์
  • ทหารเป็นสามัญชนชาวนา และต้องยังชีพตนเองด้วยการทำนา
  • มีการจัดเวรปฏิบัติหน้าที่ประจำปี
  • การจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพสามารถบำรุงการทหารให้เข็มแข็งได้
  • จัดระบบปกครองตามคติขงจื้อ
  • แผ่ขยายครอบคลุมเอเชียกลาง อาณาจักรของพวกเตอร์ก เวียดนามเหนือ จามใต้
  • ส่งคณะทูตไปปาเล็มบัง

เศรษฐกิจ
  • ปัญหา-สืบเนื่องจากราชวงศ์ฮั่น
    o ปัญหาที่ดิน แรงงาน ภาษี
    o ชาวนาตกเป็นทาสติดที่ดินของตระกูลชั้นสูง
    o ชาวนาอยู่ในความครอบครองของตระกูลยิ่งใหญ่
    o การบุกเบิกที่ดินทำกินเพิ่มเติมในหุบเขาแยงชี

การจัดการทรัพยากรในแผ่นดิน
  • จัดสรรทรัพยากรที่ดินให้เท่าเทียมกัน
  • จัดทำสำมโนครัวใหม่
  • สำรวจประชากรและที่ดิน
  • เรียกเกณฑ์แรงงานและแรงงานทหาร

หลักการจัดสรรที่ดิน
  • ชายฉกรรจ์ที่จะต้องเสียภาษีแก่รัฐจะได้รับที่ดินจนอายุ 60 ปี
  • ที่ดินที่ปลูกม่อน ปลูกพืชเพื่อการค้า อนุญาตให้ถือถึงลูกหลานได้
  • พระบรมวงศ์ศานุวงศ์ ข้าราชวการ หน่วยงานราชการ พุทธจักร ครอบครองที่ดินได้
  • ประเภทของที่ดิน
    o ที่ดินที่ให้ข้าราชการหรือราษฎรเป็นผู้ทำประโยชน์แก่รัฐ ถือเป็น “นาหลวง”
    o ที่ดินที่ให้ตระกูลชั้นสูงตามตำแหน่งยศถาบรรดาศักดิ์ ไม่ให้ถือครองเกิน 1,370 โหมว
    o ที่ดินที่ให้ราชการไม่เรียกคืน
    o มีการจัดทำทะเบียนที่ดินและสำรวจสำมะโนอย่างสม่ำเสมอ

การคมนาคม

ในปี ค.ศ. 611 มีการขุดครองหลวง เป็นระบบครองที่มีเครือข่ายเพื่อเชื่อมต่อกันทั้งจักรวรรดิจากภาคใต้ถึงภาคเหนือ เมืองโลหยางถึงเมืองฉางอัน ตามเส้นทางที่มีการตั้งยุ้งฉางหลวงเพื่อเก็บและจำหน่ายจ่ายแจก

การค้าขาย
  • มีการผลิตสินค้าและบริการตามความชำนาญ
  • การประกอบการ การผลิต การค้าขายของเอกชนเติบโต
  • เกิดตลาดการเงิน ใช้เงินตราเป็นเครื่องแลกเปลี่ยน
  • ตลาดการค้ามีลูกค้าจำกัดอยู่เฉพาะตระกูลชั้นสูง ข้าราชการ ราชสำนัก พระราชวงศ์
  • สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย
  • สินค้าและบริการราคาสูงเกินวิสัยที่ชาวนาจะซื้อได้
  • ราชวงศ์และรัฐต่างรังเกียจอาชีพค้าขาย จึงไม่สนับสนุนให้การค้าเจริญ
  • พ่อค้าที่มั่งคั่งไม่ค่อยพอใจในอาชีพของตน แต่พอใจที่จะใช้เงินตราไปซื้อที่ดินเพื่อการลงทุนเพื่อสร้างตนเองเป็นชนชั้นเจ้าของที่ดิน

การปกครอง
  • ใช้การปกครองแบบรวมอำนาจทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
  • ยึดถือลัทธิขงจื๊อเป็นหลักการปกครอง
  • จัดตั้งกระทรวงขึ้น 6 กระทรวง ได้แก่
    1. กระทรวงบริหารบุคลากร   2. กระทรวงการคลัง   3. กระทรวงยุทธนาธิการ
    4. กระทรวงพระราชพิธี   5. กระทรวงยุติธรรม  6. กระทรวงโยธาธิการ
  • นอกจากกระทรวงยังมีการจัดตั้งหน่วยงานประเภทคณะอีก ได้แก่
    1. คณะกรรมการบริหาร
    2. คณะกรรมการศาล
    3. คณะอำนวยการ
    4. คณะที่ปรึกษาส่วนพระองค์
    5. หน่วยตรวจราชการและข้าราชการ
  • ใช้กฎหมายที่มีบทบัญญัติ 500 มาตรา
  • ในส่วนภูมิภาคยุบเลิกระบบแบ่งพื้นที่การปกครองเป็นพื้นที่บัญชาการทหาร
  • จัดแบ่งจักรวรรดิเป็นจังหวัด อำเภอ
  • ข้าราชการส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด-อำเภอมิให้มาจากชนชั้นสูงในท้องถิ่น ส่วนกลางเป็นผู้แต่งตั้ง
  • ข้าราชการใช้ระบบสอบไล่คัดเลือก

ภูมิปัญญา

ในสมัยสุยปัญญาชนหันมาศึกษานิการต่างๆ ดังนี้

  • 1) เต๋า- แสวหาความวิเวก, เชื่อในภพหน้า, กฎแห่งกรรม, ผสมผสานระหว่างเทพยดา-ฟ้าดิน-ไสยศาสตร์, สนใจการเล่นแร่แปรธาตุ, สรีรศาสตร์
  • 2) ศาสนาพุทธ
      - ขยายมาจากดินแดนโอเอชิสในเอเชียกลาง
      - ลัทธิที่เข้ามาเป็นนิกายมหายาน ผ่านช่องแคบทารีมมาตามเส้นทางสายไหม เอเชียกลาง ทิเบต และมองโกเลีย อีกเส้นทางมาทางทะเลจีนใต้โดยพวกพ่อค้าและคณะสงฆ์
      - ศูนย์กลางพระพุทธศาสนา คือเมืองโลหยาง
      - การนับถือพระพุทธศาสนาของจีนยึดติดกับการบูชาพระพุทธรูป การผลิตยาอายุวัฒน
      - การฝึกให้อายุยืนยาว การเหาะเหินเดินอากาศ การแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
      - ศาสนาพุทธมีลักษณะท้าทายอารยธรรมจีนจากคติไตรลักษณ์ อริยสัจ 4 การนิพพาน
      - ในศตวรรษที่ 1 -2 เกิดการแบ่งแยกนิกายเป็น 2 นิกาย คือ
        1) นิกายเถรวาทหรือหีนยาน ความหลุดพ้นมีทางเดียว คือหนทางแห่งการไปสู่นิพพาน
        2) นิกายอาจาริยวาทหรือมหายาน
          o นับถือพระโพธิสัตว์จะคอยช่วยเหลือมนุษย์ให้หลุดพ้นบรรลุมรรคผล
          o พระโพธิสัตว์ คือผู้เสด็จมาโปรดสัตว์
          o อ้างพระพุทธวัจนะ (เราจะเป็นผู้ช่วยเหลือสัตว์ทั้งปวง)
          o ชาวพุทธที่ดีคือผู้ที่จะเป็นพระโพธิสัตว์
          o พระโพธิสัตว์ที่ทรงมีบทบาทมากได้แก่ พระอมิตภะ พระโคดม พระอวโลกิเตศวร พระอวโลกิเตศวร
          o นิกายมหายานเชื่อว่า เมื่อสิ้นศาสนาพระโคดมแล้ว ในคราวที่มนุษย์มีอายุยืน 80,0000 ปีข้างหน้า ย่อมมีพระพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้น ทรงมีพระนามว่า “พระศรีอริยเมตไตรย”

วาระสุดท้ายราชวงศ์สุย
  • สังคมจีนถือหลักการสืบต่อทรัพย์มรดกแบบแบ่งเท่ากัน ผู้ถือครองจะมีที่ดินถือครองเล็กลง
  • ความยากจนบีบบังคับให้คนยากจนต้องสละที่ดิน
  • ตระกูลชั้นสูงกลับมีที่ดินมากขึ้น ชำระภาษีน้อย
  • การจัดเก็บภาษีมีความสลับชับซ้อนมากเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ทุจริตง่าย
  • การแบ่งที่ดินไม่ทั่วถึงทั้งแผ่นดิน เกิดความล้มเหลวในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน
  • ถูกท้าทายจากอำนาจชนชั้นสูงและพุทธจักร
  • ราชวงศ์เรียกเกณฑ์แรงงานมาก เกิดความไม่พอใจในกลุ่มแรงงานจนทวีความรุนแรงขึ้น จนชาวนาลุกฮือขึ้น ก่อกบฏ ชนชั้นสูงจึงถือโอกาสแข็งเมืองตั้งตนเป็นอิสระ เตอร์กก็เข้าบุก

ราชวงศ์ฮั่น

ราชวงศ์ฮั่น
จักรพรรดิฮั่นเกาจู่

การสถาปนาจักรวรรดิ
  • ผู้สถาปนาราชวงศ์ คือ หลิวปัง ผู้นำกบฏชาวนากลุ่มหนึ่ง (เดิมทีเป็นขุนนางชั้นผู้น้อย)หลังจากสถาปนาราชวงศ์แล้วทรงพระนามว่า จักรพรรดิฮั่นเกาจู่
  • ราชวงศ์ฮั่นเรียกตามชื่อถิ่นเดิมของกลุ่มหลิวปังที่อยู่บริเวณหุบเขาแม่น้ำฮั่นตอนบน
  • ราชวงศ์ฮั่นตอนต้นมีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่นครฉางอันจึงได้รับการขนานนามว่าฮั่นตะวันตก
  • เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลายได้ย้ายเมืองหลวงมายังนครลั่วหยังเรียกว่าฮั่นตะวันออก
  • หลังการสถาปนาได้ประกาศยกเลิกกฎหมายที่ทารุณโหดร้ายบางส่วนของราชวงศ์ฉิน อีกทั้งดำเนินนโยบายที่เป็นมิตรต่อประชาชน เช่น ลดการเก็บภาษีอากรและการเกณฑ์แรงงาน ปลดปล่อยกำลังทหารและประชาชนสู่บ้านเกิดของตน จัดสรรที่ดินทำกินให้กับบรรดาทหารที่ร่วมรบชนะศึกสงคราม

การป้องกันรัฐอาณาจักร
  • ผู้รุกรานที่สำคัญ คือ กลุ่มมองโกล และกลุ่มเตอร์ก (ชิอุงนู)
  • ใช้ยุทธศาสตร์ป้องกันเขตหน้า โดยกำหนดให้การรบอยู่ในเขตหน้าเท่านั้น
  • ระบบป้องกันใช้ยุทธศาสตร์ป้องกันเขตแดน โดยกำหนดพื้นที่ระวังป้องกันและพื้นที่ตั้งรับ
  • ขยายกำแพงยักษ์(กำแพงเมืองจีน)ไปจนถึงแอ่งทารีม ทางภาคตะวันตก
  • สร้างหอรบเป็นระยะๆ เป็นพื้นที่ปฏิบัติการข่าวกรอง พื้นที่ระวังป้องกันหากข้าศึกประชิด จะแจ้งด้วยสัญญานเป็นควัน โบกธง จุดคบเพลิง
  • กำลังทหารประจำถิ่นต้องยังชีพด้วยการเพาะปลูกเอง และตั้งยุงฉางหลวงเป็นระยะๆ
  • เมื่อใดไม่พร้อมรบ ฮั่นจะใช้นโยบายทางการทูตเจริญสัมพันธไมตรีกับชิอุงนู รวมให้เป็นพวกเดียวกัน และใช้วัฒนธรรมกลืนชาติ
  • การแต่งตั้งนายทหารระดับสูงมีเฉพาะเวลาเมื่อมีสงครามเท่านั้นและตำแหน่งทหารจะถูกยุบเลิกเมื่อสิ้นศึก
  • ทหารเกณฑ์มาจากสามัญชนต้องปฏิบัติหน้าที่ 2 ปี
  • ทหารอาสามาจากชนชั้นสูง มักเป็นแม่ทัพนายกอง ส่วนหนึ่งมาจากนักโทษอาสาศึกเพื่อไถ่โทษ และมาจากชาวต่างชาติ
  • ยุทธวิธีกำลังทหารประจำถิ่น 1 หน่วยประกอบด้วย 4 หมวด , 1 หมวด ประกอบด้วย 40-50 ตอน, 1 ตอน ประกอบด้วยกำลังพล 4-5 คน

ปล่องสัญญาณควันในสมัยฮั่น

การสร้างจักรวรรดิ
  • การสร้างจักรวรรดเริ่มต้นในสมัยจักรพรรดิฮั่นอู๋ตี่ (Han Wu ti)
  • เป้าหมายหลักคือ เอเชียกลางซึ่งเป็นดินแดนของพวกชิอุงนู
  • จีนมีความเชื่อว่า ฟ้าได้ลิขิตให้จีนเจริญก้าวหน้าและต้องถ่ายทอดความเจริญแก่ชนชาติอื่นๆ
  • การสร้างจักรวรรดิมีเหตุผล 2 ประการ คือ
    1) เพื่อต้องการแสดงแสนยานุภาพของจักรพรรดิ
    2) เพื่อการค้ากับภูมิภาคเอเชียตะวันตกและเอเชียใต้
  • ในเอเชียกลางจีนต้องการขายสินค้าและซื้อสินค้าจากพวกเอเชียกลาง คือ สัตว์โดยเฉพาะม้า ผลิตผลจากสัตว์ รวมไปถึงพวกตะวันตก โดยมีพวกปาร์เทียนเป็นคนกลาง
  • ในเอเชียใต้มีจุดประสงค์ในการค้าขายธัญพืช เหล็ก เกลือ และเครื่องเขิน
  • จีนได้เปิดเส้นทางหลักทางบกในการติดต่อค้าขายกับเอเชียตะวันตก เอเชียใต้ และโลกตะวันตก ผ่านทะเลทรายทากลามากาน (Taklamakan) ในแอ่งทารีม และข้ามเทือกเขาปามีร์ไปสู่เอเชียตะวันตกเรียกว่า “เส้นทางสายไหม (Silk Road)”
  • เส้นทางสายไหมเป็นเส้นทางที่ทำให้จีนสามารถติดต่อค้าขายกัยโรมันและภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียม อินเดียและเปอร์เชียได้
  • สินค้าจีนเป็นที่ต้องการสำหรับโลกภายนอกมากกว่าจีนต้องการสินค้าอื่น
  • สินค้าจีนที่ขึ้นชื้อและภายนอกต้องการ คือ “ผ้าไหม”
  • การติดต่อกับตะวันตกทำให้จีนได้รับวัฒนธรรมเข้ามาพัฒนา เช่น เครื่องดีดคล้ายน้ำเต้าที่เรียกว่า “ผี ปา (Pi-pa lute)” ศิลปภาพเงาทึบพื้นขาว ศิลปะการแสดงรูปร่างมนุษย์
  • นอกจากนั้นจีนยังได้ติดต่อค้าขายทางตะวันออกเฉียงใต้กับเกาหลี และญี่ปุ่น
  • ในสมัยฮั่น นอกจากจะพิชิตเอเชียกลางได้แล้ว ฮั่นยังพิชิตเกาหลีและแมนจูเรียใต้ อันนัม เวียดนาม และ ยูนนาน ได้อีก
  • พื้นที่ของจีนสมัยฮั่นเกือบจะเท่าจีนในปัจจุบัน เทียบกับจักรวรรดิโรมันในสมัยร่วม

เส้นทางสายไหม


เส้นทางการค้าขายในสมัยราชวงศ์ฮั่น

ความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการ
  • เทคโนโลยีการหล่อเหล็ก เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน การเพาะปลูก อาวุธ
  • การประดิษฐ์ปลอกคอม้า เพื่อส่งเสริมการขี่ม้าให้มีประสิทธิภาพ
  • การผลิตสิ่งทอ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การทอไหม
  • การผลิตกระดาษใช้ในการเขียนแทนไม้ไผ่ และผ้าไหม โดยค้นพบวิธีการผลิตประมาณ ค.ศ.100-105
  • การผลิตเครื่องปั่นดินเผา โดยวิธีการเคลือบ เครื่องถ้วยเปลือกไข่
  • โรงงานหัตถกรรมประเภทต่างๆ และรู้จักการใช้พลังน้ำในการผลิต

เครื่องเคลือบในสมัยราชวงศ์ฮั่น


การทำกระดาษในสมัยราชวงศ์ฮั่น

การจัดสรรที่ดินและแรงงาน
  • พระราชวงค์ ข้าราชการและบริวารจะได้รับบำเหน็จที่ดินตามความดีความชอบและได้รับการยกเว้นค่าภาษี
  • ชาวนาต้องเสียภาษีให้แก่ชนชั้นสูงเจ้าของที่
  • ชาวนานอกจากจะมีหน้าที่ต่อรัฐแล้วยังต้องมีหน้าที่ต่อตระกูลชั้นสูงก่อให้เกิดการเสียประโยชน์ของรัฐ
  • ค.ศ.9 จักรพรรดิหวังหมางได้พยายามลดอำนาจของชนชั้นสูงโดยออกพระราชกฤษฎีกาโอนที่ดินเป็นของรัฐและโปรดให้ประทานที่ดินแก่ชาวนา แต่ไม่ได้ผลเท่าที่ควร

การค้าขาย
  • มีลักษณะเป็นการค้าภายใต้อำนาจรัฐ
  • สินค้าต้องห้ามได้แก่ เหล็กและอาวุธ รัฐจะเป็นผู้ดำเนินการค้า
  • พ่อค้าไม่มีสิทธิในการค้าขายกันเองโดยตรงต้องผ่านคนกลาง คือ เจ้าหน้าที่รัฐ
  • รัฐเป็นผู้ทำการค้ากับต่างประเทศเอง
  • พ่อค้าบางประเภทไม่ได้จดทะเบียนกับรัฐบาลส่วนมากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง โดยส่วนใหญ่จะเก็งกำไรจากสินค้าออกประเภทผ้าไหมและทองคำ ส่งออกผ่านเส้นทางสายไหม

ผ้าไหมในสมัยราชวงศ์ฮั่น

ระบบความเชื่อ
  • สังคมฮั่นยังยึดติดกับความเชื่อถือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และบรรพบุรุษ การบูชายัญ
  • มีการตั้งพระราชพิธีบูชาสวรรค์ที่เขาไทชาน (T’aishan) ในมณฑลชานตุง และบูชาพิภพ (Earth) ที่เชิงเขาไทชัน
  • ใน ค.ศ. 58 มีพระบรมราชโองการให้สำนักศึกษาทุกแห่งตั้งพิธีบูชาขงจื๊อ
  • ผู้ที่นับถือลัทธิเต๋าหันมาแสวงหาชีวิตที่เป็นอมตะ เล่นแร่แปรธาตุ งดเว้นอาหารบางประเภท การฝึกสมาธิกำหนดลมหายใจ

พัฒนาการทางการเมือง
  • สังคมอั่นยังคงยึดหลักการปกครองโดยตระกูลนักรบ ส่งเสริมคติของขงจื๊อ ที่ยึดหลักองค์จักรพรรดิต้องเป็นประมุขทั้งทางโลกและทางธรรม ในฐานะโอรสแห่งสวรรค์
  • จักรพรรดสถิตเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งและทรงประพฤติปฏิบัติในเชิงโต้ตอบธรรมชาติ
  • ราชสำนักมีหน้าที่ตรวจตราสอดส่งเหตุการณ์บนสรวงสวรรค์ การปกครองที่ไม่ถูกต้องย่อมก่อให้เกิดภัยพิบัติ
  • จักรพรรดิ ยึดถือคติสิทธิชอบธรรมในการตั้งพิธีกรรมติดต่อกับสวรรค์ได้แต่เพียงผู้เดียว
  • จัดตั้งสำนักราชบัณฑิตยสถาน “ฮั่นหลิน” เพื่อบันทึกพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจของจักรพรรดิ

การบริหารราชการ
  • เป็นการบริหารแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
  • โครงสร้างราชการแบ่งเป็น
    oฝ่ายหน้า ประกอบด้วย อัครมหาเสนาบดี มหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง ผู้รับผิดชอบในกระทรวง 9 กระทรวง
    oฝ่ายใน เป็นหน่วยราชการพิเศษเฉพาะกิจมีหน้าที่รับผิดชอบพระราชทรัพย์ ผู้บังคับบัญชา คือราชเลขาธิการส่วนใหญ่เป็นขันที ร่วมถึงคณะที่ปรึกษาส่วนพระองค์
  • การปกครองส่วนภูมิภาคใช้ระบบศักดินาสวามิภักดิ์โดยส่งราชวงศ์และขุนนางไปครองพื้นที่ ต่อมาเมื่อราชวงศ์มีอำนาจมั่งคงแล้วจึงใช้ระบบแบ่งเป็นพื้นที่บัญชาการ มีฐานะตั้งแต่มณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน
  • พื้นที่บัญชาการทหารมีหน้าที่หลักในการสำมโนครัวเพื่อจัดเก็บภาษีและเกณฑ์แรงงาน จัดทำทะเบียนที่ดินและผลผลิตประจำปี หน้าที่รองคือ ตัดสินคดีความ
  • พื้นที่ระดับตำบลหมู่บ้านมีหน้าที่จัดเก็บภาษีข้างเปลือก สิ่งทอ เงินสด รักษายุ้งฉางหลวง รักษาความสงบไม่ให้มีโจรผู้ร้าย บำรุงเส้นทางขนส่งคมนาคม รักษาสถานีหลวงให้มีม้าพร้อมพร้อมใช้งาน
  • ข้าราชการต้องใต้เต้าขึ้นมาจากเสมียนฝึกงาน โดยผู้บังคับบัญชาจะคัดเลือกเข้าสอบในเมืองหลวงตามโอกาส ผู้ที่สอบไล่ได้จะได้บรรจุเป็นข้าราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนพระองค์ ตามความรู้ความสามารถ

สังคมฮั่น
  • การแบ่งชนชั้น
    o สังคมชนชั้นสูง ประกอบด้วย เจ้านายและข้าราชการ ส่วนใหญ่ผูกขาดตำแหน่งราชการโดยครอบครัวรวมถึงทรัพยากรที่ดินและแรงงาน มีการศึกษาและถกอบรมดี มีฐานนะมั่นคง มั่งคั่ง ไม่ต้องถูกเรียกเกณฑ์
    oสังคมชั้นล่าง คือสามัญชนที่ไร้อภิสิทธิ์ ต้องปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีอย่างเคร่งครัด ดีที่สุดคือพวกพ่อค้าที่มีความมั่งคั่งแต่ไร้เกียรติ ราษฏรทั่วไปถูกดูหมิ่นห้ามใช่ชีวิตแบบชนชั้นสูง เช่น ห้ามใช้ผ้าไหม ห้ามขี่ม้า ทำอาชีพส่วนใหญ่ด้านการเพาะปลูกเป็นหลัก
  • ประชาชนมีค่าในความหมายของรัฐ คือแรงงานเพื่อการต่างๆ เป็นชนชั้นที่ต้องเสียภาษี
  • ประชาชนที่มีมากมหาศาลคือพลังอันตรายสำหรับรัฐทสามารถก่อการดีหรือร้ายได้ ยากต่อการควบคุม ทำให้เกิดการก่อกบฏหลายครั้งโดบเฉพาะกบฏชาวนา เช่น กบฏชาวนาคิ้วแดง กบฏค่าต๋งแก่เจ้าพิธี เป็นต้น

การเสื่อมอำนาจ

ราชวงค์จีนได้ครองแผ่นดินจีนยาวนาน 400 ปี การเมืองมีความมั่นคงชั่นขณะ ส่วนใหญ่การเมืองไม่มั่นคง เต็มไปด้วยเหล่กลอุบาย การฉ้อราษฎร์บังหลวง อำนาจอิทธิพลฉ้อฉล การต่อสู้เกิดขึ้นบ่อย วิกฤตการณ์มักเกิดขึ้นด้วยเหตุปัญหาการสืบราชสมบัติ ระบบวการบริหารแตกแยงเป็นแบ่งฝ่ายต่อสู่แย่งชิงอำนาจ พื้นที่บัญชาการทหารหรือมณฑลจึงฉวยโอกาสส้องสุมกำลังคนและแข็งเมืองขึ้น ตั้งแต่ ค.ศ. 187 2 ปีต่อมา เกิดกบฏโพกผ้าเหลือง ตระกูลชนชั้นสูงผู้มีอิทธิพลต่างตั้งตนป็นใหญ่ แผ่นดินลุกเป็นไฟ ราชวงศ์ไม่สามารถดำรงอำนาจไว้ซึ่งส่วนกลางได้ จักวรรดิจีนถูกแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ

  • ภาคเหนือ เป็นของโจโฉ
  • ภาคตะวันตกเป็นของเล่าปี่
  • ภาคตะวันออกเป็นของซุนกวน
ในสมัยสามก๊กราชวงศ์ฮั่นก็ได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ.280
แผนที่ยุคสามก๊ก