- ทหารเป็นหน่วยรบทหารอาชีพสืบตระกูลยังชีพด้วยตนเอง
- หน่วยทหารจะประจำการตามแนวชายแดนที่มีภัยคุกคาม นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ป้องกันจักรวรรดิมีหน้าที่รักษาความสงบ ความมั่นคงภายใน เส้นทางคลองหลวง เส้นทางคมนาคมและในเมืองหลวง
- หน่วยรบอาชีพมีกำลังประจำการหน่วยละ 5,600 คน ทหารต้องขึ้นทะเบียนเป็นทหารอาชีพซึ่งมีถึง 493 หน่วย ขึ้นตรงต่อกระทรวงยุทธนาธิการ
การทูต
- ราชวงศ์หมิงมีความนิยมสันติวิธีทางการทูตมากกว่ายุทธวิธี เนื่องจากการทำศึกต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรมหาศาล หลังจากราชวงศ์หมิงขึ้นครองราชย์ได้ส่งคณะทูตไปสู่อาณาจักรโดยรอบเพื่อแจ้งการเปลี่ยนแปลงและให้ส่งบรรณาการตามประเพณี ซึ่งถือเป็นการยอมรับอำนาจของจีน
- รัฐทั้งหลายต้องมีความสัมพันธ์กับจีนตามเงื่อนไข ปฏิบัติตามความเหมาะสมของระบอบจีนซึ่งความสัมพันธ์ตามเงื่อนไขจีนล้วนเป็นประโยชน์ต่อบรรดารัฐต่างๆ ในด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า และการปกป้องคุ้มครองภัยต่างๆ
- ในสมัยจักรพรรดิหยุงโล (หย่งเล่อ) ได้กำหนดให้เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องส่งบรรณาการด้วย โดยได้ส่งกองเรือไปตามน่านน้ำถึง 7 ครั้ง ในระหว่าง ค.ศ. 1405 – 1433 โดยมีผู้บัญชาการที่เป็นขันทียูนนามมุสลิมที่ซื่อว่า “เจิ้งเหอ” (ชำปอกงหรือชำเป่ากง) ทำหน้าที่บังคับกองเรือสำเภาขนาดใหญ่ เรียกว่า "เป่าฉวน" แปลว่า "เรือมหาสมบัติ" ไปตามน่านน้ำไกลถึงแหลมกู๊ดโฮบของทวีปแอฟริกาได้ แต่การเดินเรือของจีนก็ยุติลงด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งที่มีโอกาสก่อนชาติอื่นๆ ในการสร้างจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ และสามารถแสวงหาความมั่งคั่งทางพาณิชย์นาวี แต่จีนก็ปล่อยให้โอกาสนั้นหลุดลอยไปเมื่อสิ้นจักรพรรดิหย่งเล่อ เพราะการเดินเรือของจีนมีจุดมุ่งหมายเพียงแสดงพระบรมเดชานุภาพ การซักจูงให้เมืองต่างๆ ส่งบรรณาการ การแสวงหามิตรประเทศ และการผจญภัยหาโชคลาภ อีกทั้งจีนมองว่าการเดินเรือสิ้นเปลืองมีค่าใช้จ่ายสูง ในขณะที่จีนต้องสงวนทรัพยากรเพื่อเตรียมรับศึกจากมองโกลและการสร้างนครปักกิ่ง รวมถึงคติขงจื๊อที่ไม่ได้สนับสนุนการค้า จึงปล่อยโอกาสให้หลุดมือ ทั้งที่จีนพัฒนาก่อนหน้าชาวตะวันตกว่า 150 ปี
ภัยคุกคาม
- ในสมัยเริ่มแรกภาษีที่ดินเป็นรายได้หลักของรัฐ เจ้าของที่ดินต้องเสียภาษีตามที่ถือครอง
- พลเรือนต้องขึ้นทะเบียนเพื่อเรียกเกณฑ์และเสียภาษีตามเกณฑ์แรงงานและการถือครองที่ดิน โดยชายฉกรรจ์ที่ทีอายุ 16-60 ปี ต้องขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานเพื่อราชการบ้านเมือง
- รัฐได้รีดภาษีและแรงงานจากราษฎรด้วยวิธีสลับซับซ้อนมาก จึงต้องจัดตั้งการรวมตัวของแรงงานเรียกว่า “ระบบหลีเจีย” มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีและเรียกเกณฑ์แรงงาน ช่วยเหลือนายทะเบียนในการขึ้นทะเบียนพลเรือน (บัญชีหางว่าว)
- รัฐจัดเก็บภาษีพืชผลตามฤดูกาลเก็บเกี่ยวปีละ 2 ครั้ง คือในเดือน 8 (ภาษีฤดูร้อน) และเดือน 2 (ฤดูใบไม้ร่วง)
- ในศตวรรษที่ 16 รัฐเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บภาษีโดยยินยอมให้ชำระภาษีเป็นเงินสดได้แทนการถูกเรียกเกณฑ์แรงงาน และปรับปรุงให้สะดวกขึ้นโดยมีระบบเหมาจ่ายโดยรวมภาษีทุกประเภทเข้าด้วยกันเป็นภาษีเดียวและชำระโดยใช้เงินสดคือเหรียญกษาปณ์เงิน (Silver)
การเกษตร
- ราชวงศ์หมิงมีนโยบายเศรษฐกิจแบบยังชีพด้วยตนเองในทุกระดับของชุมชน ตระหนักในคติขงจื๊อที่ถือว่าการเกษตรเป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ของแผ่นดิน
- มีการบังคับอพยพประชากรจากภาคใต้ไปฟื้นฟูที่ดินใหม่และตั้งถิ่นฐานในลุ่มแม่น้ำฮวงโฮและแม่น้ำหวาย เนื่องจากราชวงศ์หมิงไม่มีการจัดสรรและปฏิรูปที่ดินใหม่เพราะเกรงจะกระทบต่อชนชั้นปกครองเจ้าของที่ดิน
- มีการแจกจ่ายที่ดินแก่ทหารประจำการประจำท้องถิ่นเพื่อยังชีพด้วยตนเอง
- จนกระทั่งศตวรรษที่ 15 รัฐได้ดำเนินนโยบายยึดที่ดินขนาดใหญ่จากชนชั้นเจ้าของที่ดินแล้วแจกจ่ายให้ชาวนาหรือให้เช่า
- รัฐมีการส่งเสริมให้ชาวนาปลูกพืชไร่เพื่อบำรุงรักษาดิน มีการบำรุงรักษาระบบชลประทาน ออกระเบียบสำรองข้าวเปลือกขึ้นยุ้งฉางหลวงเพื่อใช้ในยามเกิดภัย
- แนะนำการปลูกพืชพันธ์ในเขตแล้ง เช่น ข้าวฟาง และมีการนำพืชพันธ์ชนิดใหม่มาทดลองปลูก เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด มันเทศ ฝ้าย ที่นำมาจากอเมริกา
การค้าขาย
- การค้าขายมีความก้าวหน้าจนเกิดระบบทุนนิยม
- การค้าภายในเป็นการค้าระหว่างภูมิภาค สินค้าได้แก่ ข้าวเปลือก เกลือ ยารักษาโรค อาหารทะเล ไม้ เครื่องปั้นดินเผา สิ่งทอ ศิลปวัตถุ เครื่องโลหะ เครื่องถ้วยเปลือกไข่ สินค้าฟุ่มเฟือย
- การค้ากับโลกภายนอก จีนมีเส้นทางการค้าทางบกในเอเชียกลาง และเส้นทางการค้ากับทะเล ภาคใต้ของมณฑลฝูเจียนติดต่อกับโลกภายนอกโดยเฉพาะโปรตุเกส ศูนย์กลางส่วนใหญ่อยู่ที่เมืองฉวนโจว จางโจว กวงตุ้ง หุยโจว และมณฑลซานซี ส่านซี กานสู มณฑลเจ้อเจีย ในเมืองนานกิง ซูโจว หางโจว
- การค้าทางทะเลมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีการพัฒนาการต่อเรือที่ล้ำหน้ากว่าชนชาติใดในโลกที่สามารถเดินข้ามมหาสมุทรได้ไกล สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ ไหม เหรียญกษาปณ์ทองแดง เครื่องถ้วยเปลือกไข่ เครื่องเคลือบลงยา เครื่องปั้นเผา
- ใน ค.ศ. 1498 จีนได้ตั้งหน่วยราชการพิเศษเพื่อควบคุมดูแลการค้าทางทะเลขึ้นถึง 3 แห่ง คือที่เมืองหนิงโปทำการค้ากับญี่ปุ่น ที่เมืองฉวนโจวทำการค้ากับหมู่เกาะริวกิวและไต้หวัน ที่เมืองกวางตุ้งทำการค้ากับเอเซียอาคเนย์
- การค้าขายใช้ระบบเงินตรา ชำระภาษีด้วยเงินสด เป็นเหรียญเงิน (เดิมนำเข้ามาจากแถบเม็กซิโก)ควบคู่กับเหรียญทองแดง ยังไม่มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอน
- เกิดสมาคมการค้าประจำภูมิภาค แต่ละที่ล้วนมีหอประชุมตามศูนย์การค้า โดยเฉพาะในนครปักกิ่ง
การเมืองการปกครอง
- มีการฟื้นฟูการปกครองและการสอบคัดเลือกเป็นข้าราชการแบบราชวงศ์ถัง
- ระบอบการปกครองมีลักษณะเป็นไตรภาคีมี 3 ส่วน เป็นหลัก คือ ระบบราชการพลเรือน ระบบราชการทหาร และระบบผู้ตรวจราชการ
- ระบบราชการดำเนินตามพระบรมราชโองการและพระบรมราชวินิจฉัย
- การปกครองส่วนกลางเป็นระบบราชการพลเรือนบังคับบัญชา 6 กระทรวง และหน่วยราชการพิเศษอีกมากมายที่สำคัญได้แก่ หน่วยกำกับการขนส่งภาษีข้าว สำนักข้าหลวง ข้าหลวงตรวจการแผ่นดินและสำนักผู้ว่าราชการ
- การปกครองส่วนภูมิภาคมีการจัดแบ่งเป็นพื้นที่การปกครอง 2 ประเภท คือ ระดับมณฑล มีทั้งหมด 15 มณฑล และมหานครเป็นพื้นที่การปกครองพิเศษขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ในระดับท้องถิ่นมีการแบ่งพื้นที่เป็นอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
- สร้างประมวลกฏหมายหมิง ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายอาญาและการบริหารราชการ
- การสอบราชการ ผู้สอบต้องผ่านการศึกษาตามลัทธิขงจื๊อ แบ่งการสอบเป็น 4 ระดับ คือระดับอำเภอ ระดับมณฑล การสอบที่เมืองหลวง และการสอบหน้าพระที่นั่ง
วัฏจักรราชวงศ์
- การจัดเก็บภาษีแต่ละขั้นตอนอย่างซอยถี่หยิบก่อให้เกิดช่องว่างในการทุจริต การประเมินภาษีไม่เสมอภาค ทำให้รัฐขาดรายได้และประชากรเกิดตกทุกข์ได้ยาก
- ข้าราชการไม่สามารถปฏิบัติราชการได้เต็มความสามารถเพราะเกรงพระราชอำนาจ ราชภัย จักรพรรดิบางพระองค์ไม่ทรงพระปรีชาแต่กับทรงพระราชอำนาจไว้เด็ดขาด ไม่สนพระทัยในพระราชกิจ วงการเมืองภายในเต็มไปด้วยการต่อสู้แย่งชิงอำนาจ ขันทีทรงอำนาจอิทธิพลทั้งฝ่ายในและฝ่ายหน้า
- แผ่นดินลุกเป็นไฟเกิดกบฏลุกฮือพร้อมกับโจรผู้ร้ายซุกชุม กบฏที่ลุกฮือมีหลีจือเฉิงเป็นผู้นำได้เข้ายึดนครปักกิ่ง กบฏอีกกลุ่มนำโดยจางเสียนจุงบุกยึดมณฑลเฉฉวน จักรพรรดิทรงปลงพระชนม์ชีพ แม่ทัพอู๋ซันกุยจึงเรียกขอทัพอานารยชนแมนจูเข้าปราบปรามโจร ใช้เวลาหลายสิบปีกว่าแผ่นดินจีนจะสงบ และแมนจูได้ปกครองแผ่นดิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น